กกพ.แย้มตรึงค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. 61 เตรียมใช้เงินสะสมในกองทุนจากค่าปรับของโรงไฟฟ้าเอกชน มูลค่า 6 พันล้านบาท มาอุดหนุน แจงราคาน้ำมันที่สูงจะสะท้อนค่าไฟในช่วงต้นปี 62 นำร่องโครงการดีมานด์เรสปอนส์ ลดพีก 100 เมกฯเดือนส.ค. ร่วม 3 การไฟฟ้าเกณฑ์เอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วม ตั้งเป้าลดจริง 500 เมกฯภายในปี 67
11 มิ.ย. 61- นายวีระพล จิรประดิษฐกุล โฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เปิดเผยว่าสำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าในงวดต่อไปคือ เดือน ก.ย.-ธ.ค.2561 มีโอกาสที่ กกพ.จะตรึงราคาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ให้อยู่ที่ 3.5966 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่าเดิม บนพื้นฐานราคาน้ำมันดิบที่ 60-70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจาก กกพ.มีเงินสะสมในกองทุนจากค่าปรับของโรงไฟฟ้าเอกชนที่ไม่ดำเนินตามแผนอยู่ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยสามารถนำมาตรึงราคาค่าไฟฟ้าได้ ขณะเดียวกันค่าเอฟทีจะสะท้อนราคาก๊าซและราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 6-12 เดือน ดังนั้นอาจจะยังไม่ส่งผลต่อค่าไฟฟ้างวดปลายปีนี้ แต่อาจจะมีผลในงวดต้นปี 2562
“ค่าเอฟทีงวดที่แล้วคำนวณบนพื้นฐานราคาน้ำมันดิบประมาณ 50 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น 20 เหรียญต่อบาร์เรล ดังนั้นเอฟทีงวดสุดท้ายของปีนี้ต้องมาคำนวณอีกครั้งว่าจะบริหารอย่างไร โดยต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราการแลกเปลี่ยน” นายวีระพล กล่าว
ขณะเดียวกัน กกพ.ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เพื่อจัดทำโครงการนำร่องมาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า(ดีมานด์ เรสปอนส์) ในช่วงคริติคอล พีก ไพร์สซิ่ง หรือช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าขั้นวิกฤต โดยจะเป็นการลดค่าไฟแทนการจ่ายเงินชดเชย เพื่อจูงใจให้ผู้ใชไฟฟ้าขนาดใหญ่ประเภท 4 หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าช่วง 13.30 - 15.30 น. ซึ่งจะนำร่องทดลองในเดือนส.ค.นี้ ก่อนที่จะประมวลผลและออกมาเป็นมาตรการกำหนดใช้จริงเพื่อลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีก)ในปี 2562 และต่อไป โดยตั้งเป้าหมายจะลดการใช้ไฟฟ้าลง 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2567
ทั้งนี้จะเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการโดยนำร่องจากลูกค้าของทั้ง 3 การไฟฟ้าในช่วงวันที่ 15-30 มิ.ย.นี้ และจะแจ้งผลการรับสมัครภายในเดือนก.ค. โดยตั้งเป้าหมายจะลดการใช้ไฟฟ้าช่วงคริติคอล พีก ลงไม่น้อยกว่า 100 เมกะวัตต์ ภายในเดือนส.ค.นี้ โดยเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและพัฒนาเป็นมาตรการถาว เพื่อเป็นส่วนในการลดภาระลงทุนขยายโรงไฟฟ้าโดยรวม(พีกกิ้งแพลนท์)ของ กฟผ. ได้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตามหากเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้สำเร็จจะเป็นผลดีต่อองค์กรโดยจะได้รับการลดค่าไฟฟ้า จากอัตราปกติในช่วงคริติคอลพีก ของไฟฟ้าแรงดันสูงอยู่ที่ 9.16 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.12 บาทต่อหน่วย ไฟฟ้าแรงดันกลางอยู่ที่ 9.34 บาทต่อหน่วย เหลือ 5.20 บาทต่อหน่วย และแรงดันต่ำจากเดิมอยู่ที่ 9.66 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.35 บาทต่อหน่วย
นายธวัชชัย จักรไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงาน กฟผ.กล่าวว่า ในส่วนของ กฟผ. มีผู้ประกอบการที่เข้าหลักเกณฑ์โครงการ 5 ราย กำลังความสามารถในการลดใช้ไฟฟ้ารวม 190 เมกะวัตต์ โดย กฟผ.จะส่งหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการให้สมัครเข้าร่วมโครงการ 15-30 มิ.ย.61
นายพูลสิริ ธรรมสโรช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟภ.กล่าวว่า โครงการคริติคอลพีกมีประโยชน์ส่วนรวมกับประเทศในการลดใช้ไฟฟ้า โดย กฟภ.มีผู้ประกอบการเข้าหลักเกณฑ์ทั้งสิ้น 5,400 ราย กำลังความสามารถในการลดใช้ไฟฟ้ารวม 10,000 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าผู้เข้าร่วมโครงการ 500 ราย กำลังความสามารถในการลดใช้ไฟฟ้ารวม 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถแจ้งยกเลิกไม่เข้าร่วมโครงการได้ภายในวันที่ 12 ก.ค.61
นายพรศักดิ์ อุดมทรัพยากุล ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า กฟน.กล่าวว่า มีผู้ประกอบการที่เข้าหลักเกณฑ์ 680 ราย กำลังความสามารถในการลดใช้ไฟฟ้ารวม 1,000 เมกะวัตต์ ส่วนจำนวนที่จะเข้าร่วมโครงการขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ประกอบการ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |