จากตัวเลขการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในประเทศไทยที่ปัจจุบันขึ้นสูงระดับหมื่นรายต่อวันตลอดหลายวันที่ผ่านมา จนทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นอีกครั้งในสังคม หลายคนทวงถามว่าความเชื่อมั่นของประเทศไทยยังสามารถแก้ไขให้กลับมาได้ดังเดิมอยู่หรือไม่ และหลายคนก็ยังรอความช่วยเหลืออยู่ในทุกภาคส่วน
ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ดูเหมือนจะแย่ลง ในเมื่อการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ผนวกกับความจำกัดของด้านสาธารณสุขประเทศที่ปัจจุบันไม่เพียงพอ ทั้งสถานที่ เครื่องมือ และบุคลากร ทำให้เกิดความยากลำบากในการเยียวยาสถานการณ์ให้ดีขึ้นโดยเร็วได้ แม้คนที่ทำงานด่านหน้าจะทุ่มเทกำลังแรงกายไปอย่างสุดความสามารถ
ทั้งนี้ ด้วยความวิตกกังวลของคนในสังคมเอง ก็เป็นสิ่งที่จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างได้ แต่ในช่วงนี้ก็จะเห็นหลายภาคส่วนที่มีกำลังเพียงพอเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือในหลายๆ อย่าง ทำให้เห็นถึงความมีน้ำใจของทั้งหน่วยงานและคนไทยด้วยกันเอง ซึ่งโครงการที่ออกมาช่วยเหลือและเยียวยาสถานการณ์เหล่านี้มักจะเป็นเรื่องเร่งด่วน
เช่นเดียวกับสิ่งที่ภาคเอกชนอย่าง บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี) ที่ถือว่าเป็นเอกชนที่เข้ามาทำตลาดและมีนวัตกรรมด้านก๊าซอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยได้เร่งจัดส่งออกซิเจนทางการแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ลดแรงดันให้จุดกักตัวชั่วคราว เพื่อรอการประสานก่อนนำผู้ป่วยส่งไปยังโรงพยาบาลสนามตามที่รัฐกำหนด
ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปถึงวิกฤติที่เกิดขึ้น ความต้องการของเครื่องมือเยียวยาโดยเฉพาะออกซิเจน ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรงของการติดเชื้อ เนื่องจากโดนทำลายระบบการหายใจ ปอด และระบบอื่นๆ ของร่างกาย ส่งผลให้การฟอกออกซิเจนอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ
รวมถึงความวิตกกังวลของคนในสังคมเองก็เริ่มทำให้เกิดการกักตุน ไม่ว่าจะเป็นข้าวสารอาหารแห้ง หรือวัตถุดิบต่างๆ ยารักษาโรครวมไปถึงออกซิเจนด้วย โดยมีการจัดหาและกักเก็บท่อออกซิเจนไว้ที่บ้าน ด้วยความเกรงกลัวว่าออกซิเจนที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการแพทย์จะไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต
แต่จากข้อมูลของบริษัท บีจีไอ ระบุว่า ความต้องการออกซิเจนในไทยช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 300 ตัน/วัน ซึ่งหลังจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การใช้ในช่วง เม.ย. ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ 350-400 ตัน/วัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 20% อย่างไรก็ตาม บีไอจีมีศักยภาพการผลิตสูงสุดได้ถึง 1,000 ตันต่อวัน และยังมีการบรรจุไว้ในถังเพื่อสำรองเก็บอีก 7,000 ตัน ที่สามารถใช้ได้อีก 20 วัน
ซึ่งความมั่นใจนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ ก็ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ประสานไปยังกลุ่มก๊าซอุตสาหกรรมจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), สมาคมก๊าซอุตสาหกรรมสยาม, โรงงานผู้บรรจุก๊าซ และผู้ผลิตภาชนะบรรจุก๊าซ เพื่อสอบถามถึงความพร้อมในเรื่องของกำลังการผลิต ซึ่งได้รับการยืนยันว่าภาพรวมศักยภาพการผลิตของโรงงานยังมีเพียงพอที่จะรองรับความต้องการของพี่น้องประชาชนเช่นกัน
โดยจากการประสานกับทางกลุ่มก๊าซอุตสาหกรรม ได้รับการยืนยันถึงศักยภาพการผลิตของโรงงาน โดยภาพรวมทั้งประเทศกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 1,860 ตัน/วัน จากจำนวนโรงงาน 15 โรงงาน ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี ชลบุรี ระยอง สงขลา ลำพูน และเชียงใหม่ โดยในปลายเดือน ส.ค.นี้ จะมีเพิ่มอีก 1 แห่งที่จังหวัดระยอง โดยจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 150 ตันต่อวัน ซึ่งหากมีกรณีฉุกเฉินสามารถเพิ่มกำลังการผลิตออกซิเจนได้ถึง 2,200 ตันต่อวัน
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ก๊าซออกซิเจนทั้งทางการแพทย์และอุตสาหกรรมปัจจุบันประมาณ 1,260 ตันต่อวัน แบ่งเป็น ปริมาณความต้องการออกซิเจนทางการแพทย์ ประมาณ 400-600 ตัน/วัน และความต้องการก๊าซออกซิเจนในภาคอุตสาหกรรม ประมาณ 660 ตัน/วัน
และทาง กรอ.ยังออกเตือนถึงกรณีการจัดหาและเก็บท่อก๊าซออกซิเจนไว้ที่บ้าน ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากท่อก๊าซออกซิเจนเป็นท่อที่มีความดันสูง หากจัดเก็บหรือใช้งานอย่างผิดวิธีอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
จึงอยากให้เชื่อมั่นว่าความเพียงพอของออกซิเจนในประเทศนั้น หากเทียบความต้องการใช้และการผลิตแล้ว ไทยจะไม่เกิดวิกฤติการขาดแคลนออกซิเจนอย่างแน่นอน
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |