จากการศึกษาพบว่า คนสูงวัยที่ฟันหลอนับเป็นสัญญาณความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้น เนื่องจากฟันทุกซี่ของคนเราย่อมมีค่าเช่นเดียวกับเด็กทารก เพราะผู้ใหญ่ฟันสามารถหลุดได้ แต่ต่างจากเด็กทารกตรงที่กระบวนการของผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่แย่ลง โดยเฉพาะในสมองของผู้ใหญ่บางคน ล่าสุดได้มีงานวิจัยใหม่ที่ออกมาระบุว่า มีหลักฐานที่ชี้ชัดได้ว่าการที่ผู้สูงอายุฟันหักหรือฟันหลอก่อนวัยอันควร อาจทำให้พวกเขามีความบกพร่องทางสติปัญญาได้
ล่าสุดผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านการช่วยเหลือชีวิต และการวิจัยเพื่อการดูแลสุขภาพในระยะยาวอย่าง The Journal of Post-Acute and Long-Term Care Medicine ได้เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จากการวิเคราะห์ผู้ใหญ่หรือวัยกลางคนประมาณ 34,000 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมงานวิจัยดังกล่าวมากกว่า 4,600 คน พบว่า มีการทำงานของความรู้ความเข้าใจที่ลดลง โดยเฉพาะวัยกลางคนที่ฟันหลอมากกว่าคนวัยเดียวกันจะมีความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางสติปัญญาสูงขึ้น 48% และความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้น 28%
ทั้งนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่า ฟันที่หายไปแต่ละซี่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความบกพร่องทางสติปัญญา 1.4% และความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1.1% แต่ความเชื่อมโยงนั้นไม่มีผลสำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมเพื่อให้สามารถขบเคี้ยวอาหารได้แต่อย่างใด เนื่องจากคุณได้เสียฟันไปแล้ว ดังนั้นการรักษาสุขภาพช่องปากตั้งแต่เนิ่นๆ อาจป้องกันการลดลงของความรู้ความเข้าใจได้ ประกอบกับจำนวนผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากตลอดเวลากระทั่งสิ้นอายุขัยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีกับภาวะสมองเสื่อม
ด้าน “ศ.ดร.ไป่ วู” คณบดีด้านสุขภาพระดับโลกจากวิทยาลัยพยาบาลในนครนิวยอร์กอย่าง NYU Rory Meyers กล่าวว่า แม้จะไม่ชัดเจนว่าเหตุใดการสูญเสียฟันจึงนำไปสู่การลดความรู้ความเข้าใจ แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่าฟันที่หายไปในขณะที่คุณยังต้องใช้ชีวิตต่อไปนั้น พบว่า ในผู้ที่มีสถานะทางการศึกษาต่ำและมีระดับความเครียดสูง ทำให้ผู้คนไม่ตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก หรือไม่มีเวลาดูแลฟัน ประกอบกับเมื่อเวลาผ่านไปอาจนำไปสู่ฟันผุ คราบพลักสะสม และทำให้เป็นโรคเหงือก กระทั่งทำให้คุณต้องถอนฟันและฟันหลอ เมื่อไม่มีฟันก็ทำให้การเคี้ยวอาหารทำได้ยาก ซึ่งมีส่วนทำให้ขาดสารอาหารที่นำไปสู่การเลี้ยงสมอง ทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือทำให้สมองไม่พัฒนา เนื่องจากการขาดสารอาหารจำเป็นไปหล่อเลี้ยง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่คนสูงวัยฟันหลอไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้นั่นเอง
สำหรับโรคเหงือกอักเสบเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ และในผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาฟันหลอ คิดเป็นร้อยละ 50 ที่มีอาการเหงือกอักเสบ และนั่นยังทำให้คนวัยเลข 4 อัป คิดเป็นร้อยละ 30% มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการอักเสบเรื้อรังตามมาอีกเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับการรักษาโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์นั้น มีผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพเมื่อปีที่แล้วว่า สาเหตุของเหงือกอักเสบเกิดจากแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่ในช่องปาก หลังจากที่ทำลายฟันของคุณไปแล้ว
ที่น่าสนใจนักวิจัยได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การที่แบคทีเรียและโมเลกุลที่ทำให้เกิดการอักเสบในช่องปากนั้นจะเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังสมอง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรู้ความเข้าใจในหัวของคุณลดลง นั่นจึงมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมได้ในที่สุด นอกจากนี้เมื่อคุณป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้วก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการดูแลช่องปากของตัวเองได้น้อยลง และยังไปพบทันตแพทย์ได้น้อยลงเช่นกัน ทำให้สภาพช่องปากของคุณแย่ลง เช่นเดียวกับพัฒนาการด้านสมองและความรู้ความเข้าใจที่ลดลงด้วยเช่นกัน”
ข้อมูลจากการวิจัยของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ยังบอกอีกว่า คนอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 1 ใน 4 คนนั้น มีฟันเหลือเพียง 8 ซี่ หรืออาจจะน้อยลงกว่านั้น และคนสูงอายุในวัยเดียวกันนั้นคิดเป็น 1 ใน 6 รายที่ได้สูญเสียฟันไปจนหมดปากแล้ว ดังนั้นเราจำเป็นต้องหันมาดูแลสุขภาพช่องปากกันแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเมื่อคุณอายุมากขึ้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |