หมอกควันพิษ หรือฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะประชาชนในภาคเหนือ โดยเฉพาะจ.เชียงใหม่ต้องใช้ชีวิตจมฝุ่นพิษเกินค่ามาตรฐานทุกปี วิกฤตหนักถึงขั้นติดอันดับ 1 เมืองที่มีค่ามลพิษในอากาศ ของโลก โดยวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศได้สูงถึง 255 USAQI( ข้อมูลจากเว็บไซด์ https://www.iqair.com) สาเหตุหลักมาจาก ไฟป่า การเผากลางแจ้ง การเผาขยะมูลฝอย ไม่รวมควันพิษจากรถยนต์
ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ ศิลปินระดับแนวหน้า ปัจจุบันอาศัยและทำงานอยู่ที่เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในผู้ประสบกับภัยทางอากาศภาคเหนือร่วมกับวารินแล็บ คอนเท็มโพรารี (Warin Lab Contemporary) จัดนิทรรศการ "One Generation Plants the Trees, Another Gets the Shade” ศิลปะร่วมสมัยแบบสื่อผสม นำเสนอประเด็นสภาพอากาศจากปัญหาฝุ่นควันพิษทางภาคเหนือ ประกอบไปด้วยจิตรกรรม ประติมากรรม และศิลปะจัดวาง เปิดเข้าชม ณ ห้องนิทรรศการ วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี
ไทวิจิต เล่าถึงแรงบันดาลใจว่า ปัญหาหมอกควันภาคเหนือที่มีค่าฝุ่นPM2.5 สูงมาก แนวโน้มจะหนักขึ้น แม้ว่าเราจะหนีไปอยู่ในพื้นที่อื่น แต่สุดท้ายไม่สามารถหนีได้อีกต่อไป ต้องอยู่และหาทางแก้ไขร่วมกัน นำมาสื่อสารผ่านผลงาน 5 ชุด เริ่มจากประติมากรรมชุด”หนีเสือปะจระเข้” เคยจัดแสดงในนิทรรศการ Art For Air จ.เชียงใหม่ ประกอบร่างขึ้นจากเหล็กเส้นไม่ใช้แล้วให้เป็นคน 2 คน ที่มีหัวเป็นเสือและจระเข้ โดยหัวจะถูกมืออีกข้างหนึ่งกดไว้ที่พื้น ภายในใส่ใบไม้แห้งลงไป เป็นอุปมาอุปมัยว่า หนีจากปัญหาหนึ่งไปเจอปัญหาหนึ่ง อีกนัยสื่อการเอาชนะปัญหาได้ แต่ในหลายครั้งเราลืมว่าตัวเองมีส่วนสร้างปัญหา
ส่วนผลงานชุด “ปรับจริง” (Real Fine) มี 4 ชิ้น ศิลปินบอกล้อเลียนโปสเตอร์รณรงค์งดเผาในที่โล่งแจ้งช่วงฤดูหมอกควันเข้มข้น มีข้อความ “ถ้าคุณเผา ปรับจริง จับจริง” แต่ก็ยังพบการลักลอบเผา ตนวาดภาพคนกำลังหายใจเข้าปอดลงบนกล่องกระดาษที่ใช้บรรจุเครื่องปรับอากาศ โดยตรงปอดมีกล่องสีดำ คือ เครื่องปรับอากาศ จากนั้นภาพจะถูกครอบด้วยหน้าต่างเหล็กดัด ห่อทับด้วยพลาสติกใสอีกครั้งหนึ่งเสมือนถูกจองจำไว้ในบ้าน เพราะไม่ต้องการออกไปด้านนอกและไม่ให้มลพิษเข้ามาในบ้าน ซึ่งบ้านตนก็รีโนเวท ให้อากาศเข้าได้น้อยที่สุดช่วงหน้าร้อน และติดแอร์ให้อากาศเย็นสบายขึ้น
ผลงานชุด “Blowin In The Wind “ ศิลปิน เล่ามาจากชื่นชอบเพลง Blowin In The Wind แต่งโดย Bob Dylan เพลงเกี่ยวกับการต่อต้านสงคราม เนื้อเพลงสื่อสารอย่างมีนัยยะ จึงวาดภาพคนกวาดขยะหรือใบไม้ ที่แสดงอารมณ์ระหว่างชาวบ้านกับการห้ามปรามของรัฐ ปัญหาซ่อนไว้ใต้พรม เมื่อเปิดภาพนี้ขึ้นด้านหลังจะเป็นเนื้อเพลงบางส่วนที่เขียนไว้บนพรม
นิทรรศการยังประกอบด้วยผลงานจัดวางชุด ต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life ) ศิลปินนำท่อนไม้มาจัดวาง ชวนคนดูตีความหมายถึงต้นไม้ที่ถูกลักลอบตัดและทำลายจำนวนมหาศาลจากความโลภ เท่ากับการกำจัดแหล่งอากาศบริสุทธิ์ แหล่งน้ำ ให้หมดไป ถูกแทนที่ด้วยภัยแล้ง น้ำท่วมดินถล่ม
ชุดสุดท้ายเป็นงานจิตรกรรมความยาว 26 เมตร จำนวน 25 ชิ้น เขาวาดภาพทิวทัศน์ธรรมชาติที่เห็นตอนเด็ก และยังไม่เคยเผชิญปัญหามลพิษฝุ่นลงบนกล่องกระดาษเครื่องปรับอากาศ สะท้อนมุมมองของมนุษย์สร้างมลภาวะ เบือนหน้าหนีไม่แยแสต่อธรรมชาติ
“ ผลงานนี้เตือนว่า เราได้ทำลายสิ่งที่สวยงามไปแล้ว ในความจริงปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยงานศิลปะหรือใครคนใดคนหนึ่ง ทำได้เพียงเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ตอกย้ำถึงปัญหาผ่านมุมมองของศิลปินในฐานะผู้ประสบภัย” ไทวิจิต ทิ้งท้าย และชวนทุกคนลดฝุ่นพิษ
ผู้ที่สนใจชมนิทรรศการ "One Generation Plants the Trees, Another Gets the Shade” สามารถเข้าชมฟรี ได้ถึง 15 กันยายนนี้ ณ ห้องนิทรรศการ วารินแล็บ คอนเท็มโพรารี ภายในโครงการ O.P. Garden ซอยเจริญกรุง 36 เปิดทุกวัน ตั้งเเต่เวลา 10.30 – 19.30 น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |