ผู้ประท้วงมากกว่า 160,000 คนเดินขบวนในฝรั่งเศส, อิตาลี, กรีซ และออสเตรเลีย เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อต่อต้านมาตรการควบคุมไวรัสโคโรนาและข้อกำหนดของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน ผู้ชุมนุมปะทะกับตำรวจ และบางส่วนโดนจับกุม
ตำรวจปราบจลาจลฝรั่งเศสฉีดน้ำสลายการชุมนุมของผู้ประท้วงต่อต้านวัคซีนโควิด-19 และบัตรผ่านสุขภาพของรัฐบาล ในกรุงปารีสเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ก.ค. 2564 (Alaattin Dogru/Anadolu Agency via Getty Images)
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม กล่าวว่า เกิดการเดินขบวนประท้วงในหลายประเทศพร้อมเพรียงกันเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ที่นครซิดนีย์ ซึ่งผู้จัดการประท้วงกล่าวว่าเป็นการเดินขบวน "เสรีภาพ" ผู้ประท้วงหลายสิบคนโดนจับกุมหลังจากร่วมในการเดินขบวนที่ไม่ได้รับอนุญาต
ที่ฝรั่งเศส ประเมินว่ามีผู้เข้าร่วมการประท้วงเกือบ 168 แห่ง ทั่วประเทศราว 160,000 คน เพื่อต่อต้านนโยบายบัตรผ่านสุขภาพของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ที่จำกัดสิทธิของผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในการใช้บริการร้านอาหารและสถานที่สาธารณะ ตำรวจฝรั่งเศสต้องยิงแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำขับไล่ผู้ประท้วงบางส่วนที่กรุงปารีส
ระหว่างการเดินขบวน ผู้ประท้วงพากันร้องตะโกนว่า "เสรีภาพ เสรีภาพ" บ้างก็ถือป้ายข้อความประณาม "มาครง ทรราช", "บริษัทยายักษ์ใหญ่ตีตรวนเสรีภาพ" หรือไม่ก็ "ไม่เอาบัตรผ่านแห่งความอับอาย"
รัฐบาลของประธานาธิบดีมาครงประกาศใช้นโยบายบัตรผ่านเสรีภาพเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม เพื่อกดดันให้ผู้ที่ยังไม่ฉีดวัคซีนยอมฉีดวัคซีนกันเพิ่มขึ้น สมาชิกสภานิติบัญญัติกำลังพิจารณาจะออกกฎหมายบังคับการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มคนในบางสาขาอาชีพด้วย
นโยบายนี้ ซึ่งจะจำกัดชีวิตทางสังคมเข้มงวดยิ่งขึ้นนับแต่ปลายเดือนนี้ ส่งผลให้ประชาชนเข้ารับการฉัดวัคซีนมากขึ้น ถึงวันศุกร์ที่ผ่านมามีประชากรฝรั่งเศสที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว 48% เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากวันที่ 10 กรกฎาคม
ผลสำรวจของ Elabe สำหรับสถานีบีเอฟเอ็มทีวี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม เผยว่า ชาวฝรั่งเศสมากกว่า 3 ใน 4 สนับสนุนมาตรการของมาครง แต่อีกจำนวนมากที่ต่อต้านเป็นคนกลุ่มน้อยที่เสียงดัง
ส่วนที่กรุงเอเธนส์ของกรีซ มีผู้ประท้วงราว 5,000 คนเดินขบวนชูป้ายประท้วงและร้องตะโกนคำขวัญเช่น "อย่าแตะต้องลูกของเรา"
การประท้วงในอิตาลีรวมตัวกันที่กรุงโรม ผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านการออกข้อบังคับ "บัตรผ่านสีเขียว" สำหรับการเข้าใช้บริการในสถานบันเทิงและร้านอาหาร
การชุมนุมประท้วงในหลายประเทศเมื่อวันเสาร์เน้นย้ำถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั่วโลกระหว่างกลุ่มคนที่ติดอยู่กึ่งกลางระหว่างปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและหน่วยงานด้านสาธารณสุข กับความจำเป็นในการหาเลี้ยงชีพ หรือกลุ่มที่อยากกลับไปมีรูปแบบการใช้ชีวิตเหมือนช่วงก่อนโควิดระบาด
ที่อินโดนีเซีย และอังกฤษ ซึ่งสถานการณ์การระบาดยังคงรุนแรง รัฐบาลทั้งสองประเทศนี้กำลังถูกกดดันให้ผ่อนคลายมาตรการบังคับเพื่อควบคุมการแพร่ไวรัส
การประท้วงในออสเตรเลีย ซึ่งราวครึ่งหนึ่งของประชากร 25 ล้านคนอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ในหลายเมือง ผู้ประท้วงที่นครซิดนีย์ขว้างกระถางต้นไม้และขวดน้ำโจมตีตำรวจ ระหว่างการชุมนุมที่ท้าทายคำสั่งล็อกดาวน์ประชาชนอยู่บ้านนาน 1 เดือน หนึ่งวันก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่กล่าวกันว่าพวกเขาอาจขยายมาตรการล็อกดาวน์ต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม
กลาดิส เบเรจิกเลียน มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่มีซิดนีย์เป็นเมืองหลวง กล่าวว่า เธอรู้สึกสะอิดสะเอียนที่สุดกับผู้ประท้วงที่การกระทำที่เห็นแก่ตัวของคนพวกนี้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของทุกคน
ตำรวจกล่าวว่า มีคนโดนลงโทษปรับเกือบ 100 รายฐานเข้าร่วมการชุมนุมที่ไม่ได้รับอนุญาต และอีก 57 รายโดนจับกุม ส่วนที่นครเมลเบิร์น ตำรวจจับกุมผู้ประท้วง 6 คน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |