เห็นผล!'สธ.'ออกโรงปรับสูตรวัคซีน เพิ่มภูมิสูงใกล้เคียงไฟเซอร์


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ค.64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด -19 และวัคซีนไฟเซอร์ โดยนพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ข้อมูลระดับภูมิคุ้มกันวัคซีนที่ให้ในประเทศไทย ณ ขณะนี้ ที่มีการปรับสูตรเป็นวัคซีนซิโนแวค 1เข็ม และแอสตร้าเซนเนก้า1เข็ม หรือแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม พบว่าระดับภูมิคุ้มกันสูงไม่แพ้ตัวอื่นและมีความใกล้เคียงกัน ทั้งวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม และมากกว่าระดับการติดเชื้อในธรรมชาติ หรือการติดเชื้อเองและร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงพบว่าบุคลากรการแพทย์ส่วนหนึ่งที่แอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่ 3 มีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก และไม่มีการบังคับให้รับวัคซีน  

นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับการบริจาคล็อตแรก 1.54 ล้านโดส จะเข้ามาในประเทศไทย ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 และจะเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2564 โดยจะมีการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรด่านหน้าเป็นการกระตุ้นเข็มที่ 3ในจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 โดส ทั้งนี้จะมีการจัดสรรส่วนอื่นๆไปยังกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยง เพื่อใช้ในการควบคุมการระบาด ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ก็ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันบ้างแล้ว และวัคซีนไฟเซอร์อีกจำนวน 20 ล้านโดส ที่จะเข้ามาในประเทศไทย มีแผนเริ่มฉีดในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 ทั้งนี้วัคซีนไฟเซอร์รวมจำนวน  21.54 ล้านโดส จะไม่มีการจัดสรรให้กลุ่มวีไอพีแต่อย่างใด และประชาชนจะได้รับฟรี ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพราะขณะนี้พบการแอบอ้าง หลอกลวง เรียกเก็บเงิน ให้ข่าวปลอม ซึ่งทาง สธ.จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวให้ถึงที่สุด 

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ยอดอยู่ที่ 15,335 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ กทม.คิดเป็น 70% และเสียชีวิต 129 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตพบกว่า 60% ยังไม่ได้รับวัคซีน และพบปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ ผู้มีโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่เป็นโรคไต โรคอ้วน ที่กระตุ้นความรุนแรงของโรคจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งจะแตกต่างจากช่วง 3-4 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ ปัจจัยเสี่ยงมาจากคนที่รู้จักกัน คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน แต่ขณะนี้ในพื้นที่ระบาดจากการสอบสวนโรคหลายกรณีไม่สามารถซักถามถึงว่าได้รับเชื้อมาจากใคร 

นพ.จักรรัฐ กล่าวต่อว่า ดังนั้นการอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็มีโอกาสติดเชื้อด้วย และยังพบผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในภาคอีสาน แถบอีสานกลางและอีสานใต้ เนื่องจากรับผู้เดินทางจากกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดค่อนข้างหนัก กลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา ภาคกลาง ภาคตะวันออก  ส่วนภาคเหนือและภาคใต้ พบการกระจายผู้ติดเชื้ออยู่ในบางจังหวัด องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้แก่ 1.ผู้ที่เดินทางไปจับจ่ายซื้อของ หรือมีความใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโดยไม่ทันระวังตัว 2.โรงงาน สถานประกอบการ 3.แคมป์คนงานและชุมชน 

นพ.จักรรัฐ ระบุว่า สำหรับการฉีดวัคซีนที่สะสมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์-24 กรกฎาคม โดยเป้าหมายสำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะต้องได้รับวัคซีน 12.5 ล้านคนภายในปี 2564  ซึ่งในเข็มที่ 1 ฉีดไปแล้ว 2.5 ล้านคน หรือ 20% ส่วนในเข็มที่ 2 ฉีดไปแล้วอยู่ที่ 1.6 แสนคน หรือ 1.3% จึงเป็นเรื่องสำคัญในเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยรุนแรง รวมถึงผู้ที่อยู่ใน 7 กลุ่มโรค ก็พบว่ายังได้รับวัคซีนไม่มาก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 5.3 ล้านคน ในเข็มที่ 1 ได้รับวัคซีนอยู่ที่ 1.3 ล้านคน และในเข็มที่ 2 อยู่ที่ 2.3 แสนคน.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"