24 ก.ค.2564 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในเดือนมิ.ย. 64 การส่งออกของไทยขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 43.82% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี และสูงกว่าตลาดการณ์ที่ 38.1% ส่งผลให้การส่งออกไทยในครึ่งปีแรกเติบโตที่ 15.53% อย่างไรก็ตาม ระดับดังกล่าวไม่นับว่าสูงมากเมื่อเทียบการฟื้นตัวของการส่งออกของประเทศในภูมิภาคที่ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20% ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ทั้งนี้ เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ ยุทธปัจจัย การส่งออกในครึ่งปีแรกของไทยขยายตัวได้ถึง 20.84% สอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาค หลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยหนุนหลักต่อภาคการส่งออก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาระดับของการเติบโต ในช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยยังคงต่ำกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค เนื่องจากการส่งออกของไทยเพิ่งเริ่มกลับมาเร่งตัวขึ้นแข็งแกร่งในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา (เดือนก.พ.ปรับตัวลดลง -2.59%)
การส่งออกไปในประเทศคู่ค้าสำคัญเติบโตแข็งแกร่งในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรปที่เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังกิจกรรมในหลายภาคส่วนเริ่มกลับมาเป็นปกติจากการเร่งฉีดวัคซีนภายในประเทศ ขณะที่การส่งออกไปในตลาดอาเซียนยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่าหลายประเทศในอาเซียนจะยังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและมีมาตรการคุมเข้มการระบาดที่เข้มงวด โดยการส่งออกไปอินโดนีเซียเดือนมิ.ย. ขยายตัวสูงถึง 109.2% ส่วนหนึ่งจากสินค้าประเภทยางพารา เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ทั้งนี้ สินค้าหลักที่หนุนภาคการส่งออกในภาพรวมยังคงเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน นอกจากนี้ การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับพลิกกลับมาขยายตัวได้ที่ 90.5% หากไม่รวมทองคำการส่งออกอัญมณีขยายตัวได้ถึง 114.3% ซึ่งขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในต่างประเทศที่เริ่มกลับมาต่อเนื่อง
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 คาดว่า อัตราขยายตัวของการส่งออกไทยมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำและปัจจัยการชดเชยอุปสงค์ที่ค้างจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand) มีแนวโน้มคลี่คลายลง แต่จากปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกไทยมากขึ้น ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกไทยในปี 2564 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 11.5% จากที่เคยประเมินไว้ที่ 9.0% ในเดือนมิ.ย. โดยยังคงมองว่าสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยางพารา และผักผลไม้น่าจะยังสามารถเติบโตได้ดี รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น เม็ดพลาสติก ที่น่าจะยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องจากปัจจัยด้านราคาที่มีแนวโน้มที่จะยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ในประมาณการประมาณการส่งออกนี้ได้มีการรวมปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีการปิดโรงงานจากการแพร่ระบาด
อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้าภาคการส่งออกยังคงเผชิญความท้าทายอีกหลากหลายด้าน ทั้งความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง หลังจากหลายประเทศเริ่มกลับมาเผชิญจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่สูงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้าที่มีการแพร่กระจายได้ง่ายและส่งผลให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น หากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจะส่งผลต่ออุปสงค์ของสินค้า อีกทั้งในไทยเองหากสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นอาจส่งผลให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคอุตสาหกรรมมีความน่ากังวลเพิ่มขึ้น (Supply Disruption) และอาจเป็นปัจจัยกดดันการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |