23 ก.ค.64 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เชิงรุกในสถานประกอบการ
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19(Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ที่มีการระบาดใหม่อย่างรวดเร็ว ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) ให้มีการจำกัดอยู่ในพื้นที่ ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง อันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนสุขภาวะของประชาชนทั่วประเทศ
คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (CoronavirusDisease 2019 (COVID-19)) ให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์เชิงรุก (Active case finding)เพื่อการค้นหาผู้ประกันตนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๒) และมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดที่สำนักงานประกันสังคม กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการ
“สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลที่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จากคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
“สถานประกอบการ” หมายความว่า สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ให้ได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
“การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19” หมายความว่า การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ด้วยเทคนิค Real time ReverseTranscription Polymerase Chain Reaction (Real time RT- PCR) ที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ก าหนด เพื่อตรวจค้นหาผู้ประกันตนที่อาจติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการ ซึ่งต้องไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่น หรือต้องไม่เคยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด 19 ในช่วงระยะเวลาตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ ด้วยเหตุตามเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงตามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนด หรือการตรวจคัดกรองก่อนทำหัตถการ ตามที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กำหนด หรือแพทย์ผู้ตรวจรักษาประเมินว่ามีความจำเป็นตามดุลยพินิจของแพทย์
ข้อ ๓ ให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณากำหนดจังหวัดและจัดสรรจำนวนผู้ประกันตนที่จะได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐) ลงวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔หรือจังหวัดที่เป็นรอยต่อของจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อให้สำนักงานขอความเห็นชอบการตรวจคัดกรองในสถานประกอบการจากคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ข้อ ๔ ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่าตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 และค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่สถานพยาบาล ดังนี้
๔.๑ การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT - PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ (nasopharyngeal and throat swab sample) ดังนี้
๑) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ ๑,๖๐๐ บาท
๒) ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการตรวจห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ เหมาจ่ายในอัตราครั้งละ ๖๐๐ บาท
๔.๒ การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT - PCR โดยการทำแบบรวมตัวอย่าง(Pooled Sample) ซึ่งเป็นตัวอย่างน้ าลายแบบรวมตัวอย่าง (Pooled saliva samples) ไม่เกิน ๕ รายต่อ ๑ กลุ่ม โดยหากพบผลตรวจเป็นบวก (SARS-CoV-2 Detected) หน่วยบริการต้องตรวจยืนยันการติดเชื้ออีกครั้งตามมาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด ดังนี้
๑) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินตัวอย่างละ ๓๒๐ บาท
๒) ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการตรวจห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อเหมาจ่ายในอัตราตัวอย่างละ ๑๐๐ บาท
๔.๓ การตรวจยืนยันการติดเชื้อ กรณีตรวจแบบ Pooled Sample พบผลตรวจ
เป็นบวก ดังนี้
๑) ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ ด้วยวิธี RT-PCR จากsaliva samples หรือ nasopharyngeal and throat swab sample ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ ๑,๖๐๐ บาท
๒) ค่าบริการอื่น ๆ รวมค่าบริการเก็บสิ่งตรวจ และค่าบริการทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อ เหมาจ่ายในอัตราครั้งละ ๒๐๐ บาท
ข้อ ๕ ให้สถานพยาบาลจัดส่งข้อมูลค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ ๔ ให้สำนักงานตามรูปแบบที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด และรายงานข้อมูลการดำเนินการตามประกาศนี้ ต่อสำนักงานและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณเหลือพร ปุณณกันต์
ประธานกรรมการการแพทย์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |