22 ก.ค. 2564 กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเซียล หลังมีการเผยแพร่ประกาศของราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ที่มีการประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564 ซึ่งอาศัยอำนาจตามความใน (3) ของบทนิยามคำว่า ‘เครื่องสำอาง’ ในมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
‘ให้ผ้าอนามัยชนิดสอดที่ใช้สอดใส่เข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือนเป็นเครื่องสำอาง’
โดยประเด็นนี้สร้างความเดือดให้กับชาวเน็ตในทันที โดยในโลกโซเซียลอย่างทวิตเตอร์ ทัแฮชแท็ก #ผ้าอนามัยไม่มีภาษี ก็ติดเทรนด์อันดับ 1 อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นวงกว้าง ที่ตั้งคำถามด้วยความสงสัยว่า การจัดหมวดหมู่ให้ผ้าอนามัยแบบสอดไปเป็นหมวดเครื่องสำอางได้อย่างไร? ซึ่งจากประกาศนี้จะส่งผลให้อัตราภาษีเพิ่มจากเดิม 7% เป็น 30% ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า
การออกกฎหมายฉบับนี้ ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ทำไมภาครัฐจำเป็นต้องภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จะเพิ่มมากขึ้น พร้อมและระบุว่า ในหลายประเทศมีการยกเลิกภาษีผ้าอนามัยกันแล้ว ขณะที่สกอตแลนด์ ในปีที่แล้วก็มีการผ่านกฎหมายให้ผู้หญิงและผู้ที่มีประจำเดือนใช้ผ้าอนามัยฟรีเป็นประเทศแรกของโลก
ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง เคยออกมาชี้แจงแล้วว่า ภาครัฐไม่มีการเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยถึง 40%เพราะถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ได้ถูกระบุในพิกัดการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ดังนั้นภาษีผ้าอนามัยจึงจะถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ตามราคาของสินค้าเหมือนสินค้าชนิดอื่น ซึ่งก็คือ 7%
ด้านเพจ Drama addict เขียนถึงประเด็นนี้ว่า
หลายๆเพจกำลังเล่นประเด็นนี้ในกฏกระทรวงที่ออกมาเมื่อวันที่ 19 อยู่ เตือนว่า ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งรีบด่า เด๋วซวยเอา เพราะอันนี้มันเป็นเรื่องทางเทคนิคของข้อกฏหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอางแบบสอด ที่มันพิเศษกว่าชาวบ้านหน่อย
คือก่อนหน้านี้ ผ้าอนามัยแบบสอด เฉพาะแบบสอดนะ ถูกจัดเป็นเครื่องสำอาง ตั้งแต่ปี 28 เพราะเข้าได้กับนิยามเครื่องสำอาง คือ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงามและรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย โดยไม่รวมถึงเครื่องประดับและเครื่องแต่งตัว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย
ที่ผ้าอนามัยแบบสอดต้องใช้มาตรฐานของเครื่องสำอาง เพราะผ้าอนามัยแบบสอดนี่มันแตกต่างจากผ้าอนามัยทั่วไปนิดหน่อย คือ ถ้าใส่คาไว้นาน ไม่ถอดมาเปลี่ยน อาจเกิดการหมักหมม แล้วแบคทีเรียผลิตพิษออกมาจนติดเชื้อในกระแสเลือดช๊อคตายได้ (นี่กูพูดจริงนะไม่ใช่เรื่องล้อเล่น) ดังนั้นจึงต้องมีมาตรฐานควบคุมสูงหน่อย เพื่อสุขภาพคนใช้งาน
แต่ปรากฏว่ามีการแก้ไขนิยามเครื่องสำอางใน พรบ ปี 58 เปลี่ยนนิยามของเครื่องสำอางนิดหน่อย ทำให้ ผ้าอนามัยแบบสอด หลุดจากนิยามของเครื่องสำอางไป เขาเลยออกกฏกระทรวงมาระบุว่าผ้าอนามัยแบบสอดจัดเป็นเครื่องสำอางอีกที แต่อันนี้เพื่อผลทางกฏหมายในการจดแจ้งพวกผ้าอนามัย ส่วนประเด็นราคาของผ้าอนามัยแบบสอด ที่คนกังวลว่าจะสูงขึ้นมั้ย
อันนี้ก็ไม่ต้องกังวล เพราะกรมสรรพสามิตร ยืนยันว่า ไม่มีการเก็บภาษีอนามัย ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือย ก็ราคาตามเดิมเหมือนที่ผ่านมา
รายละเอียดก็ตามนี้ครับ สรุป ไม่มีอะไร แค่เรื่องเทคนิคทางกฏหมายเท่านั้นเอง ส่วนโรคติดเชื้อในกระแสเลือดจากการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดไม่ถูกสุขอนามัย ใครสนใจอ่านในนี้ได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |