มาแล้วข้อมูลการใช้งานจริงจากศรีลังกา นักวิจัยของมหาวิทยาลัยชั้นนำในศรีลังการ่วมกับนักวิจัยจากออกซ์ฟอร์ดของอังกฤษพบว่า วัคซีนโควิด-19 ซิโนฟาร์มของจีนมีประสิทธิภาพสูงในการต่อต้านไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักทั่วโลกอยู่เวลานี้
วัคซีนที่ผลิตโดยไชน่าเนชันแนลฟาร์มาซูติคอลกรุ๊ป ซึ่งเรียกกันว่าซิโนฟาร์ม หรือ BBIBP-CorV เป็นวัคซีนที่ศรีลังกาใช้มากที่สุด โดยข้อมูลที่สำนักข่าวซินหัวอ้างจากนักวิจัยของศรีลังการะบุว่า ถึงขณะนี้มีประชาชนในศรีลังกาฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มโดสแรกแล้ว 4.63 ล้านราย และ 1.29 ล้านรายได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว โดยไม่มีรายงานผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนนี้แม้แต่รายเดียว
ล่าสุดมีข่าวดีเพิ่มเติมจากผลการศึกษาโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีชยวรรธนปุระที่ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจากอังกฤษ ชี้ว่า วัคซีนของจีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา โดยการตอบสนองของแอนติบอดี (สารภูมิต้านทาน) ต่อไวรัสนี้และแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่พบในการติดเชื้อไวรัสนี้ตามธรรมชาติ
ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้ที่ได้ฉีดซิโนฟาร์มครบ 2 โดสแล้ว ร่างกายได้สร้างแอนติบอดีในระดับคล้ายคลึงกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ ร้อยละ 81.25 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส ร่างกายยังผลิตแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ และระดับของแอนติบดีก็คล้ายกับระดับที่พบในผู้ที่หายจากอาการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย
ศาสตราจารย์นีลิกา มาลาวิเก หัวหน้าแผนกภูมิคุ้มกันวิทยาและเวชศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยศรีชยวรรธนปุระ ที่ร่วมในการวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า การศึกษาชนิดนี้เป็นผลงานชิ้นแรกในโลกที่เผยแพร่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของซิโนฟาร์มในการใช้งานจริง และข้อมูลจากโลกแห่งความเป็นจริงนี้มีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อวัคซีนทั้งในประเทศและระดับสากล
การวิจัย ซึ่งศาสตราจารย์ผู้นี้กล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญพิจารณาในทุกแง่มุมที่เป็นไปได้ของระบบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนชนิดนี้ ยังเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีต่อสายพันธุ์แอลฟา (ที่พบครั้งแรกในอังกฤษ) และบีตา (พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้) รวมถึงไวรัสโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมด้วย
"บทสรุปของรายงานฉบับนี้ก็คือ เมื่อว่ากันถึงเดลตาและสายพันธุ์อื่นๆ วัคซีนซิโนฟาร์มกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของแอนติบอดีในระดับคล้ายคลึงกับของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก" มาลาวิเกกล่าว
เธอยังขยายความด้วยว่า ในกลุ่มผู้ที่อายุระหว่าง 20-40 ปี วัคซีนนี้กระตุ้นแอนติบอดีได้ร้อยละ 98 แต่สำหรับกลุ่มอายุเกิน 60 ปี มีร้อยละ 93 ที่พัฒนาแอนติบดี ซึ่งไม่น่าประหลาดใจเพราะผู้สูงอายุจะตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าอยู่แล้ว
วัคซีนซิโนฟาร์มเป็นหนึ่งในชนิดวัคซีนที่ใช้อย่างแพร่หลายที่สุดในจีน และบริษัทตกลงจะส่งมอบวัคซีน 170 ล้านโดสเข้าโครงการโคแวกซ์ภายในกลางปี 2565.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |