WHO เชื่อมั่นมาตรการป้องกันโควิดเข้มช่วย 'โตเกียวเกมส์' ปลอดภัย


เพิ่มเพื่อน    

คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์ เผย ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผู้อำนวยการ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO  เชื่อมั่น ไอโอซี และเจ้าภาพญี่ปุ่น วางมาตรการป้องกันโควิด-19 ไว้อย่างเข้มข้น จะช่วยทำให้ โอลิมปิก โตเกียว 2020 ปลอดภัย เปรียบการกระจายวัคซีนไปยังคนทั่วโลก เข้ากับคำขวัญใหม่โอลิมปิก นั่นคือ เราต้องกระจายวัคซีนให้เร็วขึ้น (faster) เราต้องให้มีจำนวนคนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น (higher) เราต้องแข็งแกร่งขึ้น ในการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อจะได้เพิ่มการผลิตวัคซีน (stronger) และเราต้องทำทุกอย่างนี้ร่วมกัน (​together)

        โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) เป็นประธานการประชุมใหญ่ไอโอซี ครั้งที่ 138 วันที่ 2 ที่โรงแรมโอกุระ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ไอโอซีเมมเบอร์หญิงไทย ซึ่งเดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ไอโอซี ครั้งที่ 138 พร้อม ๆ กับคณะกรรมการบริหารคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จัดในรูปแบบนิวนอร์มอล ตั้งโต๊ะแยกอิสระ เป็นรายบุคคล

        คุณหญิงปัทมา กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ทีโดรส อัดฮานอม กรีเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) มากล่าวเปิดในช่วงต้นของการประชุม โดยผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แสดงความยินดีกับ นักกีฬา เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 และแสดงความชื่นชม ทั้งไอโอซี และเจ้าภาพญี่ปุ่น ที่ทำงานหนักร่วมกันมาตลอดในช่วงก่อนหน้านี้ โดยมีองค์การอนามัยโลก คอยให้คำแนะนำ เพื่อวางมาตรการป้องกัน สู้กับวิกฤติโควิด-19 ร่วมกัน

        ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ญี่ปุ่นได้มอบความกล้าให้คนทั่วโลก ขอแสดงความเคารพให้ในเรื่องนี้ และขอแสดงความเคารพ ต่อนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูกะ และชาวญี่ปุ่นทุกคน ที่จัดโตเกียว 2020 ซึ่งให้ความหวังและแสงสว่างกับผู้คนทั่วโลก โอลิมปิกเกมส์ สามารถนำคนทั่วโลกมารวมกัน และทำให้คนทั่วโลกเกิดความสนใจร่วมกันได้

        ผู้คนทั่วโลกถามว่า โรคระบาดนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด มีคนเสียชีวิตไปแล้ว 4 ล้านกว่าคน และยังคงมีคนเสียชีวิตเพิ่ม ซึ่งยอดผู้เสียชีวิตปีนี้มากขึ้นเป็นเท่าตัวจากปีที่แล้ว และจะยังคงมีผู้เสียชีวิตอีกนับแสน ผู้คนเหนื่อยหน่ายกับหลาย ๆ เรื่อง ตอนนี้โรคระบาดเกิดขึ้นมา 19 เดือนแล้ว แต่เราเพิ่งมีวัคซีนได้ 7 เดือน ทั้งๆ ที่วัคซีนคือเครื่องมือที่ดีในการป้องกันโรคระบาด แต่เราไม่ได้ใช้วัคซีนอย่างที่ควรจะเป็น เพราะวัคซีนกระจุกอยู่กับคนที่มีอภิสิทธิ์ ในขณะที่ยังมีผู้คนอีกมากในโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีน โดย 75 เปอร์เซ็นต์ ของวัคซีนถูกฉีดให้กับคนใน 10 ประเทศเท่านั้น บางประเทศ ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศอื่น ๆ ยังไม่ได้รับวัคซีน

        สถานการณ์โรคระบาด เป็นเรื่องที่ทำลายสังคมและเศรษฐกิจ ยิ่งโรคระบาดอยู่นานสิ่งต่าง ๆ ก็จะยิ่งแย่ลง ทั้งการกลายพันธุ์ก็จะมีมากขึ้น และรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าในเวลานี้ แม้แต่ในที่ที่สถานการณ์โรคระบาดจะดีขึ้นแล้ว แต่ในที่อื่นทั่วโลกสถานการณ์ยังแย่อยู่ และตราบใดที่โรคระบาดยังไม่หายไป ไม่มีทางที่เราจะปลอดภัย

        ไอซีเมมเบอร์หญิงของไทย กล่าวต่อว่า องค์การอนามัยโลก มีเป้าหมายให้ทุกประเทศฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ภายในเดือนกันยายนนี้ แต่นอกเหนือจากวัคซีนแล้ว ระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับโควิด เพราะมาตรการเหล่านี้ ชี้ความเป็นความตายได้เลย

        การที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันให้ปลอดภัยไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่เราเชื่อมั่นและหวังว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ทั้งไอโอซี และญี่ปุ่น วางแผนร่วมกันมาอย่างดีจะได้ผล ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นความเสี่ยง ซึ่งการตัดสินใจของเรา ถ้าไม่เพิ่มก็ลดความเสี่ยง แต่ไม่มีทางทำให้ความเสี่ยงหายไปได้ และเราไม่สามารถทำให้การติดเชื้อเป็นศูนย์ได้ สิ่งที่เราทำได้คือเมื่อพบผู้ติดเชื้อแล้วสามารถตอบสนองได้รวดเร็วและติดตามการแพร่ระบาดของเชื้อ เป้าหมายของทุกประเทศไม่ใช่ศูนย์ราย แต่คือการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

        รัฐบาลแต่ละประเทศต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการปกป้องชีวิตผู้คน และจัดระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ โดยเรามีโครงการ โคแวคซ์ ที่ทำให้มีการแพร่กระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ผ่านความร่วมมือ อีกฝ่ายหนึ่งที่สำคัญคือบริษัทผลิตวัคซีน กับความรับผิดชอบในการทำให้มั่นใจว่าวัคซีนจะมีเพียงพอ ในที่ที่ต้องการ เราต้องการฉีดวัคซีนอีก 1.1 หมื่นล้านโดส ซึ่งควรผลิตให้ได้ภายในปี 2022 ถ้าเป็นในปี 2023 จะช้าไป การผลิตมากขนาดนี้ต้องมีการแบ่งปันองค์ความรู้ ไม่เช่นนั้นจะหาผู้มาช่วยผลิตไม่ทัน

        ฝ่ายสำคัญที่ 3 คือ ภาคประชาสังคม ที่ต้องออกมาช่วยกันสนับสนุน เรื่องการจัดหาวัคซีน ในอันที่จะช่วยทำให้เราถึงเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์ ในทุกประเทศภายในกลางปีหน้า และฝ่ายสุดท้าย คือประชากรของโลก ต้องแสดงความต้องการออกมาให้รัฐบาลและบริษัทวัคซีนฟัง คุณต้องพูดเพื่อให้เกิดการปกป้องชีวิตของพวกคุณเอง

        “ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้เปรียบเทียบการกระจายวัคซีนไปทั่วโลก กับคำขวัญโอลิมปิกใหม่ “faster higher stronger, together” หรือ “เร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า ด้วยกัน” ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ เราจำเป็นต้องกระจายวัคซีนให้เร็วขึ้น (faster) เราต้องให้มีจำนวนคนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น (higher) เราต้องแข็งแกร่งขึ้น ในการขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อจะได้เพิ่มการผลิตวัคซีน (stronger) และเราต้องทำทุกอย่างนี้ร่วมกัน (together) พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ยังย้ำในตอนท้ายด้วยว่า ขอให้คบเพลิงโอลิมปิก เป็นสัญลักษณ์ของความหวังที่เดินทางไปทั่วโลก และขอให้ความหวังที่เกิดขึ้นในดินแดนอาทิตย์อุทัย ทำให้สังคมโลกมีสุขภาพดีขึ้น และมีความยุติธรรมมากขึ้น” คุณหญิงปัทมา กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"