สถานการณ์โควิดโลก การประชุมเอเปค และบทบาทประเทศไทยในเวทีโลก


เพิ่มเพื่อน    


ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจโลกให้กลับมาเติบโตใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็อาจเป็นไปได้ในอดีตดังจะเห็นได้จาก การเกิดยุคเรอแนสซองส์หลังกาฬโรคในยุโรปในปี ( 1346-1352 ) นำโดย นครรัฐฟลอเรนซ์ หรือการฟื้นตัวของโลกหลังไข้หวัดระบาดในสเปนในปี 1918-1920 หรือการฟื้นตัวของญี่ปุ่น เยอรมันนี และประเทศอื่นๆหลังสงครามโลกครั้งที่สองด้วยแผนการมาร์แชล ความคิดริเริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติ และสถาบันการเงินการคลังโลก ที่ Bretton Woods ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนา ตาม Harry S. Truman’s Point Four Program 

ครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิม

การแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสาธารณสุขพร้อมๆกันในครั้งนี้คงไม่มีรูปแบบเชิงเดี่ยวที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะนำพาโลกออกจากวิกฤติได้ การแก้ไขต้องกระทำเป็นนโยบายสาธารณะระดับระหว่างประเทศที่เป็นองค์รวมและต้องมีมาตรการโลกที่ต้องทำไปพร้อมๆกันและมีความร่วมมือที่จะทำไปด้วยกัน

ดังนั้นวิกฤติครั้งนี้จึงเป็นโอกาสในการที่ประเทศต่างๆรวมทั้งองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกกลับมาให้ความร่วมมือกัน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน ของเราและเอเปคที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี 2565 นี้

ทั้งนี้ในการสร้างสันติภาพ และความมีฉันทามติ คงต้องใช้ Vaccine Diplomacy ในการขับเคลื่อนในสามเรื่องคือ เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ โดยไทยควรเสนอตัว จัดการประชุมในเรื่องดังกล่าวทั้งสามนี้ดังนี้:


1. จัดให้มีการประกาศให้มีการริเริ่มประชุมของAPEC Wise Men หรือ APEC Eminent Persons ของทุกๆประเทศสมาชิกเอเปคเพื่อหาทางเยียวยาทางเศรษฐกิจและกำหนดการประสานนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อให้มีการรวมสรรพกำลังและทรัพยากรรวมทั้งงบประมาณในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจมหภาค จุลภาค ภาคธุรกิจเอกชน ภาคSMEs และภาคประชาชน และ Informal Sectors รวมทั้ง NGOs ในการระดมสมองออก Action Plans ให้ผู้นำ ประเทศเอเปค ได้ร่วมลงนามในช่วงสมัยที่ไทยเป็นประธาน โดย กระทรวงการต่างประเทศของไทย และรัฐบาลไทยจับมือกับสหรัฐอเมริกา อาเซียน และจีน เป็นผู้นำร่วมในเรื่องนี้


2. ประเทศไทยควรเสนอให้มีการเปิดตลาด Pharmaceutical Sectors และสร้าง Health Safety Nets ในกลุ่มประเทศเอเปค และทั่วโลกในที่สุด เพื่อให้ตลาดไม่ถูกผูกขาด หรือถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองและเป็นอาวุธกีดกันไม่ให้เข้าถึงระบบสาธารณสุขทางการแพทย์ ไม่ให้มีการผูกขาดในตลาดนี้รวมทั้ง ลดภาษีทั้งภายในและภายนอก และเปิดตลาดตำรับยาทางเลือกสมุนไพรให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาที่สุดและสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในระดับโลก ในเรื่องการรักษาป้องกันโควิด 19 


3. ประเทศไทยควรเสนอตัวให้มีการร่วมมือตั้งสถาบันระบาดวิทยาระหว่างประเทศภายใต้ความร่วมมือของเอเปค เป็นเครือข่ายทั่วโลก โดยมีหน่วยงานหรือสถาบันทางวิชาการของไทยเป็นเจ้าภาพให้การมีความร่วมมือค้นคว้าวิจัยและพัฒนาป้องกันโควิดและโรคในระดับโลก และและทำหน้าที่ผลิตวัคซีน และเฝ้าระวังการระบาดไม่ให้เกิดการระบาดแพร่ไปยังประเทศต่างๆ


4. และในที่สุด ประเทศไทยควรประสานนโยบายเอเปคนี้ในเวทีพหุภาคีกับองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ภายใต้สหประชาชาติ รวมทั้งองค์การการค้าโลก  และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้มีการประสานโยบายใหญ่ในช่วง10 ปีข้างหน้าจนสามารถมีความมั่นใจว่าโรคระบาดอันจะมีในอนาคตจะอยู่ในความควบคุมได้

เป็นที่น่ายินดีที่ว่าวาระประธานการประชุมเอเปคได้ตกลงมาอยู่ที่ไทยในช่วงที่โลกกำลังประสพกับปัญหาวิกฤติขนาดหนักท้ฝั้งสามประการและเป็นโอกาสที่ไทยจะแสดงบทบาทที่เป็นกาวใจที่หลากหลายและเข้มข้นในเรื่องดังกล่าวให้ประชาคมโลกได้ประจักษ์ถึง ความสามารถของไทยและแพทย์ไทยอันจะเป็นการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำทางการแพทย์ของไทยที่มีชื่อเสียงมาเป็นเวลาช้านาน แทนที่จะมานั่งเสียเวลาทะเลาะกันอย่างที่เห็นเป็นปัจจุบันในเวลานี้

 

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

โดย ดร. กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์

กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"