เปิดผลศึกษาวัคซีนใช้จริง พบแอสตราฯ 1 เข็มป้องกันติดเชื้อได้ 83.8% ซิโนแวค 2 เข็ม 75%


เพิ่มเพื่อน    

นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ

19 ก.ค.64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงผลการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 ที่มีการใช้จริงในประเทศไทย ว่า เวลาเราพูดถึงว่า วัคซีนมีประสิทธิผลมากหรือน้อย จะต้องศึกษาดูว่า เป็นประสิทธิผลทางห้องปฏิบัติการหรือในการทดลองก่อนนำมาใช้ รวมถึงประสิทธิผลที่นำมาใช้จริงในพื้นที่จริงเมื่อมีการระบาด ก่อนเราจะนำวัคซีนมาใช้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ประสิทธิผลระยะที่ 3 ของการทดลองใช้จริงในพื้นที่จริง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วประสิทธิผลก่อนนำมาจดทะเบียนจะเป็นการทดลองในสายพันธุ์ดั้งเดิมอยู่

นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า จากการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในการใช้จริงของประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 19 ก.ค.64 โดยศึกษา 4 กลุ่มศึกษาหลัก โดย 2 การศึกษาแรกจะเป็นการศึกษาในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยติดตามว่ากลุ่มดังกล่าวมีใครติดเชื้อ และมีกี่รายได้รับวัคซีน หรือไม่ได้รับวัคซีน คือ กลุ่ม จ.ภูเก็ต และ จ.สมุทรสาคร ส่วนอีกกลุ่มเป็นการศึกษาในบุคลากรสุขภาพ จากเหตุการณ์การระบาดใน จ.เชียงราย และอีกการศึกษาคือ กรมควบคุมโรคได้ดึงฐานข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขที่มีการติดเชื้อในเดือน พ.ค. และ มิ.ย.มาทำการศึกษา ดังนั้น ข้อมูลประสิทธิผลวัคซีนจึงเป็นข้อมูลจากการใช้จริงในพื้นที่ ได้แก่ จ.ภูเก็ต จ.สมุทรสาคร จ.เชียงราย และพื้นที่ทั้งประเทศที่กรมควบคุมโรคดึงจากฐานข้อมูล

“ในแต่ละการศึกษาจะมีวิธีการ โดยดูประสิทธิผลการติดเชื้อ การป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่ว่าเพียงพอหรือไม่ โดยประเด็นสำคัญ คือ วัคซีนที่เราศึกษาในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นแต่ละพื้นที่ใช้วัคซีนอะไร ซึ่งช่วงเดือน เม.ย. พ.ค. และ มิ.ย. ส่วนใหญ่คนที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จะเป็นซิโนแวค จะมีแอสตร้าเซนเนก้าบ้างเฉพาะการศึกษาเท่านั้น” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าว

นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า จากข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลในพื้นที่จริงที่ จ.ภูเก็ต ช่วงเดือน เม.ย. ที่มีการฉีดวัคซีน ขณะเดียวกัน ก็มีผู้ติดเชื้อ ได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และดูว่าใครได้รับวัคซีนแล้วและติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อบ้าง โดยจำนวนทั้งหมด กว่า 1,500 ราย ของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมด พบติดเชื้อ 124 ราย ในจำนวนนี้เมื่อมีการเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนจาก จ.ภูเก็ต อยู่ที่ระดับร้อยละ 90.7 ส่วน จ.สมุทรสาคร การศึกษาคล้ายคลึงกัน โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูงมีทั้งหมด 500 กว่าราย พบติดเชื้อ 116 ราย “โดยเปรียบเทียบคนที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มในกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงใครติดเชื้อบ้างกี่เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบคนที่ไม่ได้รับวัคซีนในกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง และติดเชื้อกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบพบประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อพอๆกัน คือร้อยละ 90.5 ดังนั้น เมื่อดูข้อมูลในช่วงการศึกษาของ 2 จังหวัด พบว่าประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวค ในช่วงเม.ย. พ.ค. ขณะนั้น เป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ไม่ใช่เดลต้า (อินเดีย) จึงพบว่าประสิทธิผลดีพอสมควรในสนามจริงร้อยละ 90 ผลการศึกษานี้ดีกว่าการศึกษาจริงในประเทศอื่น และดีกว่าตอนเริ่มทำการทดลอง ทั้งบราซิล ตุรกี อยู่ที่ร้อยละ 50-70 ซึ่งตอนนั้นก็คนละสายพันธุ์กับบ้านเรา ดังนั้น การป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟา สามารถป้องกันการติดเชื้อได้” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าว

นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า มีข้อวิตกกังวลว่า การระบาดของสายพันธุ์เดลต้าจะมีผลต่อวัคซีนซิโนแวคที่เรามีอยู่ขณะนี้ มีผลมากน้อยเพียงใดในการใช้จริง ซึ่งจากการใช้จริง เราพบว่า ประสิทธิผลในสนามจริงยังคงที่อยู่ ถึงแม้ว่าในภาพรวมการติดตามทางห้องปฏิบัติการเดิมที่เราใช้เพื่อสังเกต ก็อาจมีค่าที่ทำให้ลดการสร้าง neutralizing antibody อยู่บ้าง

“วัคซีนทุกตัวปลอดภัย ส่วนประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ภาวะความเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย แต่ประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในการใช้จริงของไทย ได้ผลดีพอสมควร ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ ร้อยละ 90 ในช่วงที่มีการระบาดสายพันธุ์อัลฟา และในเรื่องป้องกันอาการปอดอักเสบก็ใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 85 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าวัคซีนซิโนแวค ไม่มีประสิทธิภาพ และแม้ขณะนี้จะมีการระบาดของเดลต้า เราก็ติดตามต่อเนื่อง ไม่ใช่รอว่าให้วัคซีนมีประสิทธิผลต่ำแล้วมาเปลี่ยนการใช้วัคซีน แต่เราคาดการณ์ล่วงหน้าและปรับรูปแบบการฉีดวัคซีนล่วงหน้า เพราะผลทางห้องปฏิบัติการดูแล้วว่า หากใช้วัคซีนเชื้อตาย ประสิทธิผลอาจไม่สูงมาก แม้ข้อมูลจากสนามจริงยังไม่บ่งบอก ซึ่งต้องติดตามต่อไป ดังนั้น มาตรการ วิธีการในการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข​และที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล จึงต้องใช้วิธีที่เรามีอยู่ ทั้งซิโนแวค และแอสตร้าฯ หรือวัคซีนอื่นๆ ที่จะเข้ามา เพื่อเพิ่มประสิทธิผลให้มากที่สุด” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า

ผู้สื่อข่าวถามว่า การระบาดของเชื้อเดลต้า ดังนั้นจำเป็นต้องมีการสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคอีกหรือไม่ นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวว่า ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ ซิโนแวคยังได้ผลอยู่ แต่เพื่อให้มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูงขึ้นในการเพิ่มภูมิคุ้มกันจึงมีการปรับการฉีดวัคซีน แทนที่จะฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ก็เปลี่ยนมาเป็นฉีดซิโนแวค และตามด้วยวัคซีนต่างชนิดกัน จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูงกว่าเดิม จะสร้างความมั่นใจในการป้องกันมากขึ้น

“ที่เรายังต้องใช้ซิโนแวค เพราะเป็นวัคซีนที่จัดหาได้เร็ว ไม่ต้องรอคิวไปจนถึงปีหน้า หรือไตรมาส 4 ดังนั้น หากสามารถบริหารวัคซีนที่จัดหาได้ ซึ่งเรามีวัคซีนหลัก คือ แอสตร้า เดิมคาดว่าบริษัทจะส่งให้ได้ 10 ล้านโดสต่อเดือน แต่มีข้อจำกัด ทำให้ส่งได้เพียงแค่ 5 ล้านโดส ดังนั้น ซิโนแวคก็เป็นวัคซีนที่เราสามารถจัดหาได้ เอามาใช้ได้เลย อย่างไรก็ตาม อนาคตจะมีการปรับใช้วัคซีนชนิดอื่นหรือไม่ อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์สายพันธุ์แลขึ้นกับแต่ละช่วงเวลาเราจะจัดหาวัคซีนชนิดใดได้เพิ่ม เพราะการจัดหาวัคซีนต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า และวัคซีนชนิดอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่คือ mRNA ของไฟเซอร์ ที่จะมาเสริมไตรมาส 4 หรือ หลัง ต.ค. เป็นต้นไป เพราฉะนั้นในช่วงการระบาด 2-3 เดือนนี้ต้องใช้วัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้ให้เป็นประโยชน์” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"