"ขยะพลาสติก"ทะเลไทย "เลยวิกฤตสู่หายนะ"


เพิ่มเพื่อน    

ขยะพลาสติกที่อยู่ร่วมกับสัตว์น้ำในทะเล

 

ภาพซากปลาวาฬนำร่องครีบสั้นเสียชีวิตที่จ.สงขลา  เมื่อผ้าท้องหาสาเหตุที่มันมาเกยตื้น ก็พบว่ามีซากถุงพลาสติกอยู่ในท้องมันถึง 85 ชิ้น รวมน้ำหนักได้ถึง 8 กิโลกรัม   เหตุการณ์นี้ไม่ได้เป็นการบอกเล่าชะตากรรมอันน่าสลดของปลาวาฬ  แต่เป็นการส่งสัญญาณเตือนบอกถึงปัญหาขยะในท้องทะเลไทยว่า กำลังสร้างความหายนะครั้งใหญ่ และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดว่า ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลที่พูดกันมาหลายปีไม่ใช่การพูดพร่ำเพรื่อไปเรื่อยๆของพวกนักอนุรักษ์ หรือเป็นเพียงกระแสที่ฮิตกันเป็นพักๆ แต่ป็นเรื่องจริงที่น่าวิตก  


ในวันสิ่งแวดล้อมโลกเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มเซ็นทรัล ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้นตั้งแต่วันที่ 5-7 มิ.ย. ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์โดยมีกิจกรรมมากมายประกอบด้วยนิทรรศการชี้ปัญหาขยะใทะเลไทย และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่เน้นรณรงค์ลดการใช้พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกชนิดใช้แล้วทิ้งอย่าง หลอด พลาสติก ถุงพลาสติก และขวดน้ำภายใต้แนวคิด “Beat Plastic Pollution” 

จำนวนเฉลี่ยขยะที่พบในทะเล


ทั้งนี้ภายในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ยังนับเป็นการรวมกลุ่มคนรักษ์สิ่งแวดล้อมจากหน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมหลากหลายสถาบัน มาร่วมแสดงความคิดเห็นและชี้สถานการณ์ขยะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สถานการณ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลตอนนี้ต้องบอกตามตรงเลยว่าย่ำแย่มากถึงมากที่สุด คำว่า วิกฤติใช้กับประเทศไทยไม่ได้แล้วตอนนี้ เพราะเลยไปจนถึงหายนะแล้ว ยิ่งข่าวปลาวาฬเสียชีวิตที่ถูกเผยแพร่ออกไป ยิ่งทำให้ทั่วโลกเพ่งเล็งมาที่ไทย ว่าทำอย่างไรถึงทำให้ปลาวาฬกินพลาสติกจนเสียชีวิต และยังทำให้คนทั้งโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าเดิม เพาะว่าถ้าหากขยะอยู่บนแผ่นดินไทยคนทั้งโลกจะไม่สนใจ แต่เมื่อใดที่ลงสู่ทะเลคนเขาจะตระหนักทันที เพราะมันไหลไปหาประเทศเขาได้ มันจึงไม่ใช่ปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง หลายประเทศจึงสงสัยและตั้งคำถามกันว่าทำไมต้องมานั่งรับขยะและพลาสติกจากประเทศไทย 

นักวิชาการและคนรักษ์สิ่งแวดล้อมเสวนาชวนคนลดใช้ถุงพลาสติก


“ผมไม่อยากให้เรื่องของพลาสติกเป็นเรื่องสงสารสิ่งแวดล้อม สงสารทะเล นั่นพูดกันมา 20 ปีแล้ว เลิกพูดกันได้แล้ว ตอนนี้ภัยมาหาเราแล้ว ภาพลักษณ์ไทยสูญเสียอย่างรุนแรงมาก แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคืออนาคตใบเหลืองประมง ปัญหานี้รัฐบาลแก้กันมาไม่รู้กี่ปียังไม่หมด แล้วหากสมมติวันหนึ่ง เขาเล่นใบเหลืองอีกว่าเราเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมาก ถ้าเขาบอกว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆของคุณให้ความเดือดร้อนต่อทั้งโลก จะทำยังไง มันไม่ใช่ประเด็นสิ่งแวดล้อมแล้ว มีอะไรสำคัญมากกว่านั้น  มันเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ประเทศเรา ทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม มาเป็นอันดับหนึ่ง คนไอร์แลนด์หนึ่งเดือนใช้ถุงพลาสติก 3 ใบ แต่ขณะที่คนไทยใช้ 240 ใบต่อเดือน แล้วคนไอร์แลนด์ใช้แค่ 3 ใบ ทำไมต้องมาได้รับความเดือดร้อนจากคนไทยด้วย มันแฟร์กับคนไอร์แลนด์มั๊ย และคนยุโรปอื่นๆมั๊ย ที่ต้องมาเดือดร้อนกินเม็ดพลาสติกที่มาจากคนไทย เพราะฉะนั้นบทลงโทษของโลกกับประเทศไม่รักธรรมชาติ จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ” ดร.ธรณ์ กล่าว


ดร.ธรณ์  ยังเน้นย้ำอีกว่า ตอนนี้ไทยขยะมีมากกว่า 25 ล้านตัน อีก 30 ปี เราจะมีขยะพลาสติกในทะเลมากกว่าปลาในทะเล แล้วเกิดคำถามว่าคนรุ่นเราทำอะไรกันอยู่ เราจับปลาในทะเลเกือบหมด แล้วก็ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล นั่นเป็นการส่งต่อโลกที่สวยงามทางทะเลให้ลูกหลานหรือไม่ หากเป็นแบบนี้ก็จะไม่มีสัตว์ทะเลอีก แล้วจะกินอยู่กันอย่างไร การที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและขยะ อย่าให้เป็นเรื่องของสงสารทะเลอย่างเดียว ต้องทำเพราะเป็นทางรอดในวงการธุรกิจระดับโลกด้วย 

โชว์ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก กิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก 


ขณะที่ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มีเรื่องน่าตกใจหลายเรื่อง อย่างขยะทำไมปล่อยให้แม่น้ำหลังบ้านของเรากลายเป็นแหล่งทิ้งขยะ ไม่ว่าจะแม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง 4 สายหลักสุดท้ายไหลลงทะเลหมดเป็นปัญหาใหญ่ที่คิดกันมาตลอดว่าจะทำอย่างไรให้คนเลิกทิ้งลงแม่น้ำ อีกประเด็นคือตอนนี้โลกร้อนมากกว่าเดิมทุกวัน ลองขับรถแล้วดับเครื่อง แล้วจอด โดยไม่ต้องเปิดหน้าต่างเราจะทนได้แค่ไหน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในอดีตเฉลี่ยคือ 200 ล้านต่อล้านส่วน แต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตัวเลขทะลุ 400 ไปแล้ว ซึ่งมากกว่าค่าปกติไป 2 เท่า ยิ่งไปกว่านั้นหากเคยไปวัดหงส์ทอง บางปะกงมีโบสถ์สวยงามตั้งอยู่กลางทะเล ดูเหมือนเป็นการสร้างบุกรุกทะเล พอตนไปถามกรมเจ้าท่าว่าทำไมปล่อยให้บุกรุกเช่นนี้ เขาบอกว่า ตรงนั้นเคยเป็นแผ่นดินมาก่อน พอโลกร้อนน้ำขึ้นก็เลยไปอยู่กลางน้ำ มีอีกแห่งคือขุนสมุทรจีน สมุทรปราการ ที่อยู่เหนือทะเลเหมือนกัน ไปนั่งเรือสำรวจก็เห็นว่ามีเสาไฟฟ้าอยู่ในทะเล แสดงว่าทุกวันนี้แผ่นดินไทยกำลังหดไปเรื่อยๆ เพราะน้ำทะเลสูงขึ้น เพราะฉะนั้นโลกร้อนไม่ใช่การคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์อีกแล้ว แต่เป็นเรื่องจริง ผลกระทบอีกอย่างพอน้ำทะเลสูงมากไอน้ำในอากาศเพิ่มมากด้วย ฝนตกมากไม่พอ พายุที่ถล่มก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เกิดทั้งหมดนั้นมาจากการกระทำของเราทั้งนั้น


“นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญที่เพิ่งเสียชีวิตไป สตีเฟน ฮอว์คิง เคยทำนายไว้ว่า ถ้ามนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะอยู่บนโลกนี้ได้ไม่เกิน 1,000 ปี เราจะสูญพันธุ์ เพราะเราทำลายสภาพแวดล้อมที่มันสมดุลย์กับเราไปหมดแล้ว แต่โลกยังอยู่ได้อีก 3,000 ล้านปี เป็นอย่างน้อย หลายคนบอกเรายังพอมีเวลาอีกนาน แต่แล้วพอคนไปถามสตีเฟ่น ฮอว์คิงอีกครั้งก่อนที่เขาจะเสียชีวิตว่า ที่บอก 1,000 ปียังยืนยันอยู่ไหม เขาปฏิเสธเลยว่าไม่ใช่เขาบอกคำนวณผิด เมื่อดูตัวเลขปริมาณการเพิ่มของคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศ ดูปริมาณการเพิ่มอุณหภูมิของโลกรวมทั้งค่าเฉลี่ยอื่นๆ จะเหลืออีกแค่ 100 ปีที่เราจะอยู่ได้เท่านั้น” ดร.ปริญญา กล่าว


รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มธ.กล่าวอีกว่า ตอนนี้ธรรมศาสตร์กำลังนำร่องลดใช้พลาสติกอยู่ โดยเรียกร้านสะดวกซื้อมาตกลงลดใช้พลาสติกโดยการขอถึงจะให้  มีการให้นักศึกษาใช้ถุงผ้า แจกกระบอกน้ำ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการทำบ้างไม่ได้ทำบ้าง ค่อยๆ ทำไปดีกว่าไม่ทำ จึงอยากให้ทุกคนหันมาลดใช้ภาชนะผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง


ด้านเชอรี่ เข็มอัปสร ผู้แทนกลุ่ม Little Forest กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ทำให้ระบบสิ่งแวดล้อมเสีย ขณะที่สัตว์ทั้งโลกพยายามอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เรื่องของขยะตั้งแต่พลาสติกชิ้นแรกที่ผลิตขึ้นบนโลกตอนนี้ยังคงอยู่ พลาสติกขนาดเล็กเทียบกับแพลงก์ตอนมีสัดส่วน1:2 ถือเป็นตัวเลขที่น่ากลัว และขยะเหล่านี้จะลอยไปอยู่ที่แปซิฟิกเหนือกลายเป็นแพขยะที่ใหญ่ประมาณ 7 แสน – 15 ล้าน ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ไทยมีพื้นที่ประมาณ 5 แสนตารางกิโลเมตร เท่านั้น


“เขาบอกว่าตัวเลขพลาสติกที่เป็นขวด ในทุกๆ 1 วินาทีจะถูกทิ้งเฉลี่ย 1,500 ขวด นั่นหมายความว่าใน 1 ปีอาจถูกทิ้งไปแล้ว 47,000 ล้านขวด ในขณะที่ถุงพลาสติกใน1ปีถูกใช้ 2ล้านๆ ถุง ขณะที่เฉลี่ยอายุการใช้งานของถุงเพียงแค่12นาที หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการที่มันเกิดมาเป็นถุงพลาสติกเลย แป๊ปเดียวมันถูกเป็นขยะแล้ว จริงๆเราใช้ได้แต่ควรใช้ให้คุ้มหน่อย เอากลับมาใช้ใหม่หรือมีวิธีการแยกขยะให้มันเอาไปรีไซเคิ้ลได้ หรือเอาไปเป็นพลังงานอื่นๆ ไม่ต้องรอรัฐบาลมาแก้ เริ่มต้นที่ตัวเรานี่แหละ” เชอรี่กล่าว


ในส่วนของดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้กล่าวเสริมอีกว่า60% ของขยะคืออาหาร ซึ่งเป็นขยะเปียก มีงานวิจัยอาจารย์สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า ข้าวที่เรากินเหลือหนึ่งช้อน ถ้านับดูมีข้าวอยู่ 30 เม็ด เราปลูกข้าวใช้สารในดิน ใช้น้ำ ใช้ปุ๋ยกว่าจะมาเป็นข้าว เป็นวัตถุดิบ จากนั้นใช้พลังงานในการหุง ประกอบอาหาร ถ้ากินเหลือก็ไปปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ พวกนี้รีไซเคิลไม่ได้ เราควรเลิกพฤติกรรม ด้วยการกินข้าวให้หมดจาน จะได้ตัดปัญหาขยะเปียกออกไป ส่วนภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่จะเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง บางคนซื้อก๋วยเตี๋ยว ถุงแกงต่างๆ เทน้ำไม่หมดกลายเป็นขยะเปียก อยากให้แยกและล้างพอสะอาดก่อนแล้วค่อยนำไปทิ้ง จะได้ง่ายต่อการรีไซเคิล
อย่างไรก็ตาม เรื่องขยะโดยเฉพาะพลาสติกนับว่าพูดกันมาหลายปี รณรงค์กันหลายครั้ง สุดท้ายก็ขึ้นอยู่ที่ทุกคนว่าจะเข้าใจและร่วมมือลดปัญหานี้ได้มากน้อยแค่ไหน หรืออาจจะเริ่มตระหนักก็เมื่อตอนขยะล้นทะเลจนไม่มีสัตว์ทะเลหลงเหลือให้เราแล้ว

 

ถุงพลาสติกหลายชิ้นที่ใช้แต่ละวันนำมาสร้างเป็นประติมากรรมอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่เซ็นทรัลเวิลด์

 



 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"