อ่วม!หนี้ประเทศพุ่งแตะ8.69ลล. 'คลัง'จ่อถกขยายเพดานกู้


เพิ่มเพื่อน    

 

19 ก.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซด์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เผยแพร่ รายงานสถานะหนี้สาธารณะของประเทศ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2564 พบว่า มียอดหนี้จำนวน 8,696,140 ล้านบาท หรือคิดเป็น 55.42% ของจีดีพี ใกล้ระดับเพดานความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60%


ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะของประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยยอดหนี้สาธารณะเดือน เม.ย. 2564 อยู่ที่ 8,593,834 ล้านบาท หรือ 54.91% ของจีดีพี


สำหรับหนี้สาธารณะเดือน พ.ค. 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้น มาจากการกู้โดยตรงของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการกู้เพื่อการชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2564 ที่มีกรอบการกู้เงินอยู่ที่ 608,962 ล้านบาท และการกู้จากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ที่มีการกู้ไปแล้ว 737,726 ล้านบาท และต้องกู้ภายในสิ้นปีงบประมาณนี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้เสี่ยงเพดานหนี้สาธารณะจะเกินกรอบที่กำหนดไว้ 60%


อย่างไรก็ดี ในเดือน ก.ค. นี้ คณะกรรมการวินัยการเงินการคลังภาครัฐ ที่มี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง เป็นประธาน จะหารือวาระสำคัญเกี่ยวกับการขยายกรอบเพดานหนี้ให้มากกว่า 60% ของจีดีพี เพื่อรองการกู้เงินจาก พ.ร.ก.โควิด-19 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนที่เหลือทั้งหมด รวมถึงการกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินโควิด-19 เพิ่มเติมอีกจำนวน 500,000ล้านบาท ที่คาดว่าภายในปีงบประมาณ 2564 จะมีการกู้ประมาณ 100,000ล้านบาท และยังมีการกู้กรณีรายจ่ายมากกว่ารายได้ 120,000ล้านบาท เพื่อมาปิดหีบงบประมาณปี 2564 ให้ได้ โดยการกู้เงินตามแผนทั้งหมดคาดว่าจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศเกินกรอบเพดานหนี้ที่ 60% ของจีดีพี จึงต้องมีการพิจารณาขยายกรอบเพื่อไม่ให้ขัดกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังภาครัฐ


ก่อนหน้านี้ นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวยืนยันว่า นโยบายการคลังยังมีช่องว่างให้สามารถดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อยู่ โดยเม็ดเงินจากการกู้เงินตาม พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท ได้ทยอยเบิกจ่ายใกล้ครบแล้ว และยังมีเม็ดเงินใหม่จาก พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติมอีก 500,000 ล้านบาทที่เตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ในระยะถัดไปอีก


ส่วนความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มเติมหรือไม่นั้น คงต้องดูตามความเหมาะสมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจด้วย โดยกรณีเลวร้ายหากกระทรวงการคลังต้องมีการกู้เงินเพิ่มเติมในสถานการณ์วิกฤติ ก็สามารถขยายเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มจาก60% ของจีดีพีได้ และในระยะถัดไปก็ต้องกลับมาดูเรื่องการสร้างวินัยทางการคลัง โดยการดำเนินการทั้งหมดต้องควบคู่ไปกับการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะการถมเงินไปเรื่อย ๆ ต้องไปคู่กันทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสาธารณสุข


สำหรับเป้าหมายนโยบายการคลังในระยะปานกลางนั้น จะต้องเน้นการเพิ่มศักยภาพด้านการคลัง ผ่านการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ ส่งเสริมรายได้รัฐให้ยั่งยืน การควบคุมการจัดสรรงบประมาณ การลงทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการใช้จ่ายในระดับพื้นที่ ตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่กับการบริหารหนี้สาธารณะ ที่จะต้องทำให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด บริหารความเสี่ยงภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม



“ระยะนี้ยังไงประเทศไทยก็ต้องใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว ยังเห็นการขาดดุลงบประมาณอยู่ แต่ในระยะยาวถ้าเศรษฐกิจขยายตัวได้เต็มศักยภาพ รัฐบาลสามารถเพิ่มศักยภาพด้านการคลัง รายได้ รายจ่าย ก็มีเป้าหมายในระยะยาวที่รัฐบาลจะทยอยปรับลดขนาดการขาดดุล และมุ่งสู่การจัดทำงบสมดุลในที่สุด แต่คงเป็นแผนในระยะยาวพอสมควร” นางสาวกุลยา กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"