ในอดีตการสัญจรทางรถไฟนับเป็นความสะดวกสบายให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก และหากจะกล่าวถึง สถานีกรุงเทพ หรือที่มักจะเรียกกันจนติดปากว่า ลำโพง ก็คงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสถานีรถไฟที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาถึง 105 ปี นับแต่มีการสร้างและเริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2459 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงนำความเจริญให้บังเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ และสยามประเทศในสมัยนั้นเหลือคณานับ
หากจะย้อนกลับไปสถานีรถไฟแห่งนี้ นับเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหัวเมืองต่างๆ ทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้คนสะดวกรวดเร็ว ทำให้ “สถานีกรุงเทพ” จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายตั้งแต่ประวัติความเป็นมา อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับหัวลำโพงตลอดมา ผ่านยุคสมัยนำมาซึ่งผู้คนที่เริ่มเดินทางเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานมากมายจากทุกทิศทั่วไทย มีส่วนทำให้ชุมชนเมืองของกรุงเทพฯ ขยายตัวและเจริญยิ่งขึ้น เปรียบเป็นสถานีชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน
อีกทั้งยังเป็นต้นทางในการนำความเจริญออกไปทั่วประเทศไทยในทุกทิศ จากภาคกลาง สู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามเส้นทางรถไฟสายต่างๆ ที่สร้างครอบคลุมทั่วประเทศไทย ซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกันคือ “สถานีกรุงเทพ” นั่นเอง
ปัจจุบันเส้นทางถนนและรถยนต์จะเจริญมากขึ้น และแบ่งความเจริญไปบนเส้นทางถนนจำนวนหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้การเดินทางของประชาชนจำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาการเดินทางด้วยรถไฟอยู่ตลอดมา ตามบทบาทและตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และในอนาคตการรถไฟแห่งประเทศไทยจะพัฒนาไจากดีเซลรางไปสู่รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง อาจทำให้สถานีกรุงเทพไม่เพียงพอที่จะรองรับการเดินทางของประชาชนในอนาคต
แต่ก็ต้องยอมรับว่าสถานีกรุงเทพยังคงมีความสำคัญในฐานะประวัติศาสตร์ของการเดินทางอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่ให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จุดกำเนิดของการขนส่งระบบรางต่อไปในอนาคต และยังคงต้องอยู่กับคนไทยไปอีกตราบนานเท่านาน
ด้วยล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมทางรถไฟ เพื่อให้เกิดความเจริญแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นสัญลักษณ์แห่งการนำพาสยามสู่ยุคแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความเจริญเท่าเทียมนานาอารยประเทศ อันนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
และหลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดเดินขบวนรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักรไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2439 จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพแห่งแรกที่อยู่บริเวณหลังอาคารกรมรถไฟหลวง ไม่สามารถรองรับการให้บริการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ กรมรถไฟหลวงจึงริเริ่มที่จะสร้างสถานีรถไฟกรุงเทพที่มีความทันสมัย สวยงามเป็นศรีสง่าแก่พระนคร ยาวนานมาถึงปัจจุบันและเต็มเปี่ยมได้ด้วยคุณค่าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางศิลปกรรม ค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางสถาปัตยกรรม
ดังนั้นการคมนาคมขนส่งจึงถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากลองมองย้อนกลับไปในอดีตนั้น การคมนาคมหลักและถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญของประเทศไทยนั้น ก็คงหนีไม่พ้นพาหนะอย่าง “รถไฟ”
และไม่ว่าอนาคตสถานที่แห่งนี้จะถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ทว่าสถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงที่ดำรงคงอยู่มาเป็นระยะเวลา 105 ปีแล้ว ถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟที่สำคัญที่สุดของประเทศ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสถานีรถไฟแห่งนี้ได้ถูกปรับปรุงและดูแลรักษาเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดเรื่องราวและความทรงจำจากครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันมากมาย และจะเป็นสถานีรถไฟคู่ใจของคนไทยตลอดไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |