'ณรงค์ วุ่นซิ้ว'ปั้นนิวภูเก็ต พลิกวิกฤติสร้างโอกาสรอด


เพิ่มเพื่อน    

17 ก.ค.64- หลังจากโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ได้เริ่มขึ้นมานับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏภาคม 2564 ก็นับว่าสามารถสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวภายในจังหวัดภูเก็ตเริ่มกลับมามีชิวิตชีวาอีกครั้ง โดยประชาชนและผู้ประกอบการต่างก็เตรียมความพร้อมที่จะรอต้อนรับนักเดินทาง ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา พบว่ามีตัวเลขนักท่องเที่ยวสะสม 5,437 คน ขณะที่จำนวนคืนของผู้เข้าพักโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA+ ยอดการจองระหว่างเดือนกรกฎาคม- กันยายน จำนวน 196,766 คืน แบ่งเป็นอยู่ในเดือนกรกฎาคม 168,869 8 คืน หรือคิดเป็น 85% ส่วนเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 25,735 คืน คิดเป็น 13% และเดือนกันยายนอีก 2,62 คืน คิดเป็น 1%

 

สำหรับการนำร่องโครงการดังกล่าวก็ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์แล้ว หากถามว่ามีปัญหาด้านไหนที่ควรเร่งแก้ไขบ้างนั้น ในเรื่องนี้ นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ระบุว่า ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยจากภายนอก คืออัตราการติดเชื้อสะสมของภาพรวมประเทศ ซึ่งมีการจัดอันดับการแบ่งเขตพื้นที่ 4 สี โดยภูเก็ตจัดอยู่ในเขตพื้นที่สีเหลือง โดยมีสีแดงเข้มอยู่ 10 จังหวัด พื้นที่จังหวัดสีแดงอีก 24 จังหวัด เราได้ตั้งโจทย์ไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีเป้าประสงค์คือต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่มานานร่วมปีกว่า พร้อมกับการควบคุมโรคระบาดให้ได้ สำหรับภายในจังหวัดภูเก็ตเองเราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องยกระดับการเข้มขวดสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย โดยมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ให้มากขึ้น

 

แน่นอนว่าหลังจากเปิดภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ มาแล้ว ก็ไม่ต้องการให้โครงการปิดลง เพราะเหตุผลเดียวที่จะปิดคือควบคุมโรคระบาดไม่อยู่ ซึ่งเฉพาะการคุมมาตรการภายในภูเก็ตเองมองว่าสามารถคุมได้ แต่ถ้ามีลักษณะการลักลอบเข้ามาอีก ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น ต้องมีมาตรการที่เข้มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละวันที่ด่านตรวจฉัตรไชยมีคนเข้ามาจำนวนมากเฉลี่ยอยู่ที่ 7,000-8,000 คน มีรถเข้ามากันหลายพันคัน

 

นอกเหนือจากการควบคุมโรคระบาดให้อยู่หมัดแล้ว โครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ยังเป็นความหวังของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีกด้วย แม้ว่าตัวเลขเม็ดเงินอาจไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงปกติก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ก็ยังพอมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้บ้าง สิ่งหนึ่งที่ผมมีการตั้งคำถามมาตลอด คือคนภูเก็ตได้อะไร และประเทศไทยส่วนรวมได้อะไร การตั้งคำถามส่วนนี้นำไปสู่การทำให้ภูเก็ตทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ที่ทำให้นักท่องเที่ยวไปได้ และเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังทุกกลุ่ม ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นมีการกระจายรายได้ไปบ้างแล้ว แต่จะให้กระจายไปยังกลุ่มเล็กๆ อย่างเช่นแม่ค้าตามตลาดได้อย่างไรนั้น ตอนนี้ยังไม่มั่นใจ แต่ก็มีโอกาส ที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

 

ในช่วงที่ผ่านมารายได้หายไปเยอะมาก เพราะไม่มีคนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจบางส่วนในภูเก็ตที่มีสายป่านยาว มีเงินเก็บก็ยังพออยู่ได้ แต่ก็มีอีกจำนวนมากที่ไม่มีรายได้เข้ามาเลย ในขณะที่พวกเขาเหล่านั้นมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระทุกเดือน ทำให้บางส่วนย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม เด็กนักเรียนเองก็ย้ายตามผู้ปกครองไป ซึ่งกระทบไปยังโรงเรียนเอกชนที่อยู่ในภูเก็ต มีเด็กนักเรียนลาออกไปต่อเดือนจำนวนมาก นี่จึงเป็นประเด็นที่ทำให้คนภูเก็ตหันมาร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟู เชื่อว่าถ้ามีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาจะช่วยให้มีรายได้และฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ในส่วนนี้เองนับเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

 

ขณะเดียวกันในช่วง 2-3 เดือนนี้เป็นช่วงหน้าฝน ซึ่งโดยปกตินักท่องเที่ยวจะไม่เดินทางเข้ามา แต่จะเริ่มมาท่องเที่ยวในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งการเห็นตัวเลขการจองโรงแรมล่วงหน้าเข้ามาในช่วง 3 เดือนดังกล่าว ก็ต้องมาคิดว่าจะรองรับนักท่องเที่ยวให้เพียงพอได้อย่างไร เพราะเปิดโครงการขึ้นมาแล้วก็คงไม่อยากเปิดแล้วต้องปิด สิ่งสำคัญที่ควรตระหนนักอีกประการคงเป็นเรื่องของการเดินหน้าโครงการแล้วต้องหาแนวทางเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นระบบต่างๆ ทั้งระบบการตรวจโรค ระบบบริการที่จะต้องทำให้ได้มาตรฐานขึ้นมากกว่านี้ ซึ่งก็มีการพัฒนาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะแก้ปัญหาตามสถานการณ์ตลอดเวลา

 

ส่วนกรณีที่นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วอาจจะรู้สึกว่าร้านค้า ผับ บาร์ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อาจจะยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มที่นั้น นายณรงค์ ชี้แจงว่า ต้องมองไปที่ข้อเท็จจริงก่อนว่าในวันที่มีการเปิดโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ คงจะยังไม่สามารถเห็นบรรยากาศต่างๆ เหมือนปกติ เพราะสถานบริการยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาพรวมของประเทศ เนื่องจากเข้าใจกันว่าสถานบริการเป็นแหล่งที่คนเข้าถึงได้จำนวนมาก และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ แน่นอนว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมไปกับการควบคุมโรคระบาดเป็นสิ่งที่ทำได้ยากอยู่แล้ว การจะให้จะเปิดทุกอย่างเต็มที่เหมือนก่อนหน้านี้ ที่ยังไม่มีโควิคระบาดนั้นทำได้ยาก

 

แม้ว่าก่อนหน้าจะมีความกังวลของหลายๆ ฝ่ายในการเดินหน้าเปิดโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตก็ขอคอนเฟิร์มว่า ก่อนที่จะเปิดตัวโครงการในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น แน่นอนว่ามีการคิดมาโดยตลอด และนำข้อกังวลของทุกฝ่ายมาพิจารณา โดยมีการวางมาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในทางเลวร้ายมาตลอด อย่างการความกังวลในเรื่องการกักตัวของนักท่องเที่ยวก็มาเป็น 14 วัน ซึ่งเดิมทีเสนอเพียง 7 วัน โดยหลังจาก 7 วันสามารถออกนอกจังหวัดภูเก็ต ได้แต่ ศบค. กำหนดว่าต้อง 14 วัน ก็ไม่ขัดข้อง เพราะเป็นระยะเวลาที่ต้องควบคุมโรค

แม้ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์กำลังเดินหน้าไปอย่างราบรื่น เนื่องจากยังไม่มีผู้ติดเชื้อมากเกินว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็มองว่า การควบคุมโรคไม่อยู่คือจุดเสี่ยงที่สุด ถ้ามีผู้ติดเชื้อ 90 คนต่อสัปดาห์เมื่อไหร่ ก็ต้องกลับมาเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิมอีก ซึ่งตอนนี้คิดว่ามาตรการที่มีและการยกระดับความเข้มงวดที่เริ่มไปตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมาก็จะช่วยได้ดีขึ้น โดยมองว่าจุดแตกหักของภูเก็ตอาจจะอยู่ที่ด่านท่าฉัตรไชย ซึ่งต้องยกมาตรฐานขึ้นมาให้เป็นด่านควบคุมโรคที่จะช่วยคัดกรองคน ได้รับความร่วมมือจากทหารในหลายหน่วยมาช่วยมากขึ้นกว่าช่วงแรกของการเปิดโครงการก็ทำให้มั่นใจได้มากขึ้น ซึ่งจะไม่ได้ทำกันแบบชั่วคราว แต่มองที่ความยั่งยืน เพราะภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก การตรวจคัดกรองคนลักษณะนี้ก็ต้องมีอย่างถาวร

 

ในยามวิกฤตทำให้มีช่วงเวลาในการถอดบทเรียน และกลับมาคิดทบทวนว่าภูเก็ตจะเป็นได้มากกว่าจังหวัดที่พึ่งพาการท่องเที่ยวได้หรือไม่ ? ทำไมก่อนหน้ารายได้ต่อคนต่อปีค่อนข้างสูง แต่พอมาเจอการแพร่ระบาดโควิด-19 และไม่มีนักท่องเที่ยว ก็สูญเสียรายได้ไปอย่างมหาศาล คำตอบคือที่ผ่านมานั้นจังหวัดภูเก็ตมีรายได้จากฐานเดียวคือการท่องเที่ยว 95% ส่วน 3% มาจากการเกษตร ทำให้เมื่อเกิดโรคระบาดทุกอย่างล้มหมด แสดงว่าโจทย์ต่อจากนี้คือต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ฟื้นขึ้นมาแล้วอยู่ได้อย่างยั่งยืน หรือจะเรียกว่าเป็นการสร้าง นิว ภูเก็ตให้เกิดขึ้นมาได้ในอนาคต

 

ใครจะคาดคิดว่าวันหนึ่งเครื่องบินจะหยุดให้บริการ โดยเกาะภูเก็ตที่เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลกแทบจะไม่มีเครื่องบินเข้ามาสักลำ สะท้อนว่าต่อจากนี้จังหวัดภูเก็ตคงพึ่งพานักท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้ จึงจะต้องทำอะไรเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างเช่นเศรษฐกิจฐานรากที่จะต้องปั้นขึ้นมาให้ได้เช่น เกษตรวิถีภูเก็ต เพราะในวันนี้ภูเก็ตซื้อกินทุกอย่างจากภายนอก จะปิดเกาะภูเก็ตเลยก็ทำไม่ได้ เพราะจะไม่มีอาหารเข้ามา ต้องมาดูว่าเกษตรที่มีอยู่ 3% จะทำอะไรได้บ้าง ให้ค่อยๆเพิ่มขึ้นมาเป็น 5% หรือ 10% เพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ผสานกับอีกหนึ่งจุดแข็งที่สำคัญของภูเก็ต คือ กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ในภูเก็ต ที่มีความรู้รอบด้านทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงนักธุรกิจรุ่นเก่าที่มีส่วนช่วยร่วมกันสนับสนุนภูเก็ตให้ทำงานร่วมกับภาครัฐ

 

ความจริงแล้วภูเก็ตมีพื้นที่ แต่คนในพื้นที่อาจจะไม่ได้มองว่าการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากทำการท่องเที่ยวได้เงินเร็วกว่า ต่อไปคงต้องผลักดันเรื่องของท่องเที่ยวชุนชน ที่อยากให้คนหันมาสนใจมากขึ้น รวมถึงการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อเปลี่ยน Mindset ของคน ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นบทเรียนให้ช่วยกันสร้างความยั่งยืน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"