พอมีข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโควิดชื่อ Novavax ว่ามีประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ ก็มีคำถามมากมายว่าทำไมเราไม่เคยได้ยินชื่อยี่ห้อนี้มาก่อน
เหตุผลก็เป็นเพราะ Novavax Inc. เป็นบริษัทไบโอเทคโนโลยีเล็กๆ ที่เป็น startup ตั้งอยู่ที่เมือง Gaithersburg ของรัฐแมริแลนด์ สหรัฐฯ
ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทยาดังๆ อย่างไฟเซอร์, แอสตร้าเซนเนก้า หรือจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
แต่เพราะว่าเป็นบริษัทเล็กๆ ที่เคยพัฒนาวัคซีนต่อต้านโรคอีโบลา, ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV ที่โจมตีทางเดินหายใจ พอมีการระบาดของโควิด-19 จึงทำให้ทีมงานนี้หันมาทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อสู้กับโคโรนาไวรัสทันที
ที่น่าสนใจคือ Novavax ซึ่งก่อตั้งเมี่อปี 1987 เพื่อพัฒนาวัคซีน แต่จนถึงต้นปีนี้ก็ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนตัวไหนออกสู่ตลาดในลักษณะเป็นธุรกิจด้วยซ้ำ
จุดเปลี่ยนแปลงสำคัญน่าจะเป็นเมื่อปี 2015 เมื่อมูลนิธิ Bill & Melinda ให้เงินสนับสนุน 89 ล้านเหรียญ (ประมาณ 2,670 ล้านบาท) เพื่อให้พัฒนาวัคซีนสู้กับไวรัส RSV สำหรับทารกผ่านการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่แม่
แต่วิกฤตย่อมนำมาซึ่งโอกาสเสมอ
เมื่อเกิดการระบาดของโควิด ทีมงานก็หันมาวิจัยและพัฒนา “แบบฉุกเฉิน” เพื่อสร้างวัคซีนให้ทันกับความต้องการ
ข่าวที่ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้สร้างความตื่นเต้นให้ทั้งโลกได้พอสมควร
เพราะมีการออกข่าวว่าประสิทธิภาพโดยรวมของ Novavax ในการศึกษาเฟสที่ 3 ในอเมริกาและเม็กซิโกอยู่ที่ 90%
พอชื่อนี้ปรากฏเป็นข่าวจึงได้รับรู้กันว่า เป็น เทคโนโลยีผลิต "วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ" (Protein subunit vaccine)
ผมได้รับทราบจาก นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า
“เป็นวัคซีนที่จัดเก็บง่ายในตู้เย็น และมีผลข้างเคียงต่ำมาก”
แผนการจัดหาวัคซีนของไทยไม่ได้ระบุถึงวัคซีน Novavax ไว้
และเมื่อไทยไม่ได้เข้าร่วมโครงการ COVAX จึงอาจจะไม่ได้รับวัคซีนนี้
Novavax บริษัทสัญชาติอเมริกันแห่งนี้ เมื่อเริ่มลงมือวิจัยวัคซีนสู้โควิดก็ได้รับทุนสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations: CEPI ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ COVAX)
โดยเริ่มทดลองเฟสที่ 1-2 ในออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน 2563 ในอาสาสมัคร 106 คน พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้และมีความปลอดภัย
ต่อมาทดลองเฟสที่ 2-3 ในแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม ถึง 25 พฤศจิกายน 2563 ในอาสาสมัครอายุ 18-84 ปี จำนวน 4,387 คน โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน
ผลการทดลองได้รับการตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสาร NEJM เมื่อ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา
พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 60.1% และมีประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) ได้ถึง 51.0%
ที่สร้างความสนใจไปทั่วโลกก็คือ การทดลองเฟสที่ 3 ที่อังกฤษใช้อาสาสมัครมากกว่า 15,000 คน อายุระหว่าง 18-84 ปี (27% เป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี)
พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ 89.3% โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) เมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองข้างบนถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก เพราะ B.1.351 เป็นสายพันธุ์ที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากกว่า
ต่อมาเมื่อ 14 มิถุนายน บริษัทเผยแพร่ผลการทดลองเฟสที่ 3 ผ่านสื่อมวลชนซึ่งทดลองในสหรัฐฯ และเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม ปีที่แล้วถึง 30 เมษายน ปีนี้ในอาสาสมัครกว่า 30,000 คน อายุ 18 ปีขึ้นไป (13% เป็นผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี)
ผลที่ออกมาที่ทำให้คนทั้งโลกหันมาถามว่า Novavax คือใครมาจากไหน
เพราะพบว่ามีประสิทธิภาพ
และพบด้วยว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง
เข็มที่ 2 พบผลข้างเคียงเป็นสัดส่วนมากกว่า เช่น กดเจ็บหรือปวดบริเวณที่ฉีด 60% (เข็มแรกพบประมาณ 30-50%) อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะประมาณ 40% (เข็มแรกพบประมาณ 20% และไม่ต่างกับกลุ่มควบคุม)
ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงพบจำนวนน้อยและพบใกล้เคียงกันในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและกลุ่มควบคุม
ตรวจดูแผนการหาวัคซีนของรัฐบาลไทยยังไม่มีชื่อ Novavax
แต่ในภาวะที่ทุกอย่างยังไม่แน่นอนเช่นนี้ คงเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องที่ต้องแสวงหาข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าที่ผมได้รับทราบจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญในไทยอย่างนี้ยืนยันมากน้อยเพียงใด
และแสวงหาหนทางที่จะเข้าถึงวัคซีนยี่ห้อที่น่าสนใจยี่ห้อนี้ได้อย่างไร...โดยด่วน!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |