สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้า และดำเนินการวิจัยโครงการขนาดใหญ่ด้านยุทโธปกรณ์ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ทำการวิจัยและพัฒนาจากระดับที่มีองค์ความรู้อยู่แล้วไปยังระดับที่มีความซับซ้อนมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย สทป. ได้ร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับหน่วยงานวิจัยของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานวิจัยต่าง ๆ สถาบันการศึกษาภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมตลอดจนรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทผู้ผลิตเพื่อทำการพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์และต้นแบบอุตสาหกรรม เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามความต้องการของเหล่าทัพและสามารถนำไปสู่การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก แต่จะเป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้เทคโนโลยีสองทาง ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางการทหารและความมั่นคงและสามารถต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่เป็น S-curve ที่รัฐบาลส่งเสริม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป ปัจจุบัน สทป. มี 5 เทคโนโลยีหลักในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ซึ่ง 1 ใน 5 เป็นยุทธศาสตร์เกี่ยวกับเทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 ด้วยหลักการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีทางทหาร ในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องเป็นอันดับแรก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทัพและลดการนำเข้าจากต่างประเทศในอนาคต
นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีจรวดในทางทหารแล้ว มีการนำเทคโนโลยีจรวดไปใช้กับทางพลเรือน เพื่อสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือด้านอื่น ๆ ในลักษณะการใช้งานแบบสองทาง (Dual Use) ปัจจุบัน สทป. มีขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตจรวดสำหรับใช้ในทางทหาร ทำให้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาต่อยอดในการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศได้ ซึ่งโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) กับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กำหนดความต้องการทางเทคนิคให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและผลิตจรวด สำหรับบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ใช้ในภารกิจยับยั้งพายุลูกเห็บหรือทดลองทำฝนจากเมฆเย็นในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการสนับสนุนภารกิจการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บ ในกรณีที่สภาพอากาศแปรปรวนเครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินได้ โดยจรวดที่วิจัยและพัฒนาจะถูกยิงจากพื้นสู่อากาศเข้าสู่ก้อนเมฆที่ระดับความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต เพื่อปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ลงในเมฆเย็น และมีระบบร่มนิรภัยสำหรับลดความเร็วของชิ้นส่วนจรวดให้ตกลงสู่พื้น เพื่อความปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ โดยในเบื้องต้นกำหนดพื้นที่ทดลองปฏิบัติการเป็นพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำและเป็นพื้นที่ที่มีความปลอดภัยจากชุมชน เหมาะสำหรับทำให้เมฆเย็นตกลงมาเป็นฝน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และยังช่วยทำให้กลุ่มเมฆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นเป็นลูกเห็บขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นฝน เป็นการบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากลูกเห็บให้กับพี่น้องประชาชน บ้านเรือน และผลผลิตทางการเกษตรไม่ให้ได้รับความเสียหาย
จากความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนาของทั้งสองหน่วยงาน ทำให้ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และที่สำคัญ คือ เป็นนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาจรวดสำหรับใช้งานแบบสองทาง(Dual Use)สามารถนำมาใช้ทางพลเรือนได้ด้วย ซึ่งไม่เคยมีการใช้งานในประเทศไทยมาก่อน จนทำให้ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพและประสิทธิภาพของจรวดดัดแปรสภาพอากาศที่สามารถใช้งานได้จริง เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |