เผยมะเร็งคร่าชีวิตคนไทยมากอันดับหนึ่ง ไม่มีวัคซีนช่วย..แต่"รังสีรักษา"เพิ่มโอกาส


เพิ่มเพื่อน    

 

          โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ "มะเร็ง" ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ไร้วัคซีนป้องกัน และรอการรักษาไม่ได้ ปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ของรังสีรักษา เทคนิครักษามะเร็งด้วยรังสีศัลยกรรม โดยวิธีฉายแสง หรือฉายรังสี ปริมาณรังสีสูงไปยังเป้าหมายด้วยความแม่นยำ เพื่อทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ หรือใช้รักษาเสริมหลังการผ่าตัด รวมทั้งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยกรณีไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถรักษาได้ทั้งบริเวณสมอง ไขสันหลัง ปอดและตับ ไม่เกิดอาการเจ็บปวดขณะฉายรังสี และมีผลข้างเคียงหลังการรักษาน้อยกว่า แนะผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการถึงความเหมาะสมในการรักษาของผู้ป่วยในแต่ละราย เผยปัจจุบันเทรนด์การรักษาผู้ป่วยแนวใหม่ เน้น "ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง" ผลการศึกษาของ PwC ล่าสุด ระบุว่าผู้ป่วยให้ความสนใจเกี่ยวกับการรักษา การดูแลตัวเองและต้องการบริหารจัดการการรักษาตัวเองมากขึ้นอีกด้วย

                นพ.ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา  โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งโดยร่วมลงทุนระหว่าง บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด (มหาชน) “MHC” กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา เปิดเผยว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจาก พ.ศ.2553 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 8.1 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้านคนต่อปีใน พ.ศ. 2561 ในขณะที่ประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 5% มีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ยปีละ 8 หมื่นคน และมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี

                ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย และยังไม่มีวัคซีนป้องกันที่ตอบสนองชัดเจน ซึ่งไม่สามารถรอรับการรักษาได้ ส่งผลให้วงการแพทย์มีการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยหวังผลเพิ่มจำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งให้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดมีการรักษาวิทยาการใหม่ของรังสีรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ใช้เทคนิคการรักษามะเร็งด้วยรังสีศัลยกรรม โดยการฉายรังสีร่วมกับปริมาณรังสีสูงไปทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งด้วยความแม่นยำ รังสีศัลยกรรมมีการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูงกว่า ส่งผลให้จำนวนครั้งของการฉายรังสีน้อยลงอยู่ที่ประมาณ 1-5 ครั้ง ต่างจากการฉายรังสีเทคนิคธรรมดาที่ใช้ระยะเวลานานหลายสัปดาห์

                ทั้งนี้ รังสีศัลยกรรมแบ่งออกเป็น 2 เทคนิค ตามจำนวนครั้งในการฉายรังสี  คือ เทคนิคที่ 1 คือ Stereotactic Radiosurgery (SRS) เป็นการให้ปริมาณรังสีสูงมากเพียงครั้งเดียว และ เทคนิคที่ 2 Stereotactic Radiotherapy (SRT) หรือ Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT) เป็นการฉายรังสีโดยให้ปริมาณสูงต่อครั้ง เป็นจำนวน 3-7 ครั้ง จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งกระจายไปสมอง ด้วยวิธีการฉายแสงเทคนิคธรรมดา เมื่อติดตามผลการรักษาที่ 6 เดือน สามารถควบคุมโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ 27% หากเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยเทคนิค SRS สามารถควบคุม และเพิ่มคุณภาพชีวิตขึ้นเป็น 43%

                อนึ่ง รังสีศัลยกรรมเป็นเทคนิคการรักษาก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ด้วยการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณที่ต้องการด้วยความแม่นยำ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์จำลองภาพสามมิติ กำหนดตำแหน่งและคำนวณปริมาณรังสี เพื่อให้รังสีเข้าไปทำลายเฉพาะที่ก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ในขณะที่เนื้อเยื่อปกติโดยรอบได้รับรังสีเพียงเล็กน้อย มีประสิทธิภาพในการรักษา และเกิดผลข้างเคียงน้อย นับเป็นวิทยาการใหม่สำหรับผู้ป่วยกรณีที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือภาวะของร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการดมยาสลบ ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ และยังใช้กับการรักษาเสริมหลังการผ่าตัด

                การรักษาด้วยวิทยาการฉายรังสี สามารถใช้รักษามะเร็งบริเวณสมอง ไขสันหลัง ปอด และตับ หรือตำแหน่งที่ไม่สามารถเข้าถึงด้วยการผ่าตัด และยังสามารถใช้ในการรักษาด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง ได้แก่ 1.Brain arteriovenous malformation (AVM) ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดแดงและดำของสมอง 2.Meningioma เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง 3.Pituitary adenoma เนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้า 4. Glioma เนื้องอกของเซลล์สมอง 5. Schwannoma เนื้องอกของเส้นประสาท นับเป็นวิทยาการรักษาที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในผู้ป่วยและวงการแพทย์ทั่วโลก

                “อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมดังกล่าว ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ในขณะเดียวกัน การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมอาจไม่เหมาะกับเนื้อเยื่อมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยและญาติจึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล สอดคล้องกับปัจจุบันที่แนวโน้มหรือเทรนด์การรักษาผู้ป่วย มุ่งให้ความสำคัญกับการรักษาแบบมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยผลการศึกษาของ PwC บริษัทผู้ให้บริการธุรกิจที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ชั้นนำระดับโลก ล่าสุดระบุว่า ปัจจุบันผู้ป่วยให้ความสนใจเกี่ยวกับดูแลรักษาตนเองและต้องการบริหารจัดการเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในทางการแพทย์ รวมทั้งที่โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราจึงให้ความสำคัญในการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ แพทย์ ญาติ และผู้ป่วย จะหาทางเลือกในการรักษามะเร็งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการรักษาควบคู่กับคุณภาพกายและคุณภาพใจที่ดี” นายแพทย์ธนุตม์กล่าวทิ้งท้าย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"