ไอโอซีเน้นเสมอภาคในพิธีเปิดโตเกียวเกมส์


เพิ่มเพื่อน    

ไอโอซี ยังคงเดินหน้าสนับสนุน ความเสมอภาคทางเพศ เพิ่ม"นักกีฬา -ผู้ฝึกสอน-ผู้ตัดสิน" ในขั้นตอนกล่าวคำปฏิญาณตน พิธีเปิดโอลิมปิก 2020 จากเดิมประเภทละ 1 คน รวม 3 คน เป็นประเภทละ 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน รวมเป็น 6 คน และปรับคำปฏิญาณตนใหม่ เช่นเดียวกับนักกีฬาแต่ละชาติที่ถือธงชาติของตนเองในพิธีเปิด"โตเกียวเกมส์" จากเดิมชาติละ 1 คน เพิ่มเป็น 2 คน

          คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซีเมมเบอร์) กล่าวว่า ไอโอซี ยังคงเดินหน้าสนับสนุน ความเสมอภาคทางเพศ โดยในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 วันที่ 23 กรกฎาคมนี้ ที่สนามกีฬาแห่งชาติ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จะมีการเพิ่มจำนวนนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสิน ในขั้นตอนกล่าวคำปฏิญาณตน จากเดิมประเภทละ 1 คน รวม 3 คน เป็นประเภทละ 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน รวมเป็นทั้งหมด 6 คน เพื่อให้เกิคความเท่าเทียมกัน 

          “ไอโอซี ส่งเสริมให้มีผู้หญิงในกีฬาทุกระดับ ในทุกโครงสร้างของการบริหารงาน การเพิ่มจำนวนนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสิน ในขั้นตอนกล่าวคำปฏิญาณตน ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเสมอภาคทางเพศให้เกิดขึ้น” คุณหญิงปัทมา กล่าว

          ไอโอซีเมมเบอร์หญิงไทย กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ยังได้มีการปรับคำปฏิญาณตน ในพิธีเปิดโอลิมปิกครั้งนี้ใหม่ด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของคณะกรรมาธิการ นักกีฬาของไอโอซี ที่ต้องการสนับสนุน การแสดงออกของนักกีฬาระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

         โดยในส่วนของนักกีฬา พูดว่า “ในนามของนักกีฬาทั้งหมด” ในส่วนของผู้ฝึกสอน พูดว่า “ในนามของผู้ฝึกสอนทั้งหมด” และ ในส่วนของผู้ตัดสิน พูดว่า “ในนามของผู้ตัดสินทั้งหมด”

          จากนั้น พูดว่า “เราสัญญาว่า จะมีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยเคารพและปฏิบัติตามกฎ ด้วยจิตวิญญาณของการแข่งขันที่ยุติธรรม การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม และความเท่าเทียมกัน เรายืนหยัดในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และมุ่งมั่นที่จะแข่งขันกีฬาโดยไม่ใช้สารต้องห้าม ปราศจากการโกง ไม่มีการกีดกันในรูปแบบใด ๆ เราทำสิ่งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ทีมของเรา โดยคำนึงถึงหลักการพื้นฐานของปรัชญาโอลิมปิก และทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น ด้วยกีฬา”

          เกี่ยวกับการพัฒนาการกล่าวคำปฏิญาณตน เคิร์สตี้ โคเวนทรี ประธานคณะกรรมาธิการนักกีฬาของไอโอซี กล่าวเสริมว่า นักกีฬาโอลิมปิกของเรา เป็นแบบอย่าง เรายืนหยัดร่วมกันเพื่อส่งข้อความอันทรงพลังของความเสมอภาค การรวมเป็นหนึ่ง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สันติภาพ และความเคารพต่อกัน ผู้กล่าวคำปฏิญาณตนในโอลิมปิกที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 จะมีความเท่าเทียมทางเพศโดยสมบูรณ์ และจะใช้คำปฏิญาณในโอลิมปิก ในนามของนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสิน ที่พวกเขาเป็นตัวแทน ด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างแท้จริง

          ทั้งนี้ คำปฏิญาณตน ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในพิธีเปิดโอลิมปิก ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อปี 1920 ข้อความต้นฉบับเขียนโดย ปิแอร์ เดอ กูแบร์เเตง ผู้ก่อตั้งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ และมีการพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป เพื่อสะท้อนถึงธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

          นอกจากนี้ คุณหญิงปัทมา ยังกล่าวด้วยว่า มหกรรมกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 เป็นการแข่งขันที่มีความใกล้เคียงกันของชายและหญิงมากที่สุด โดยมีนักกีฬาหญิงอยู่ถึง 49 เปอร์เซ็นต์ หลังจากไอโอซี เปิดโอกาสให้คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ส่งนักกีฬาชาย อย่างน้อย 1 คน และหญิง อย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมในโอลิมปิก ฤดูร้อนครั้งนี้ ขณะที่ ไอโอซี ได้เปลี่ยนแนวทางในส่วนของนักกีฬาที่จะทำหน้าที่ถือธงชาติของตนเองเข้าสู่สนามในพิธีเปิด โดยอนุญาตให้แต่ละชาติ มีนักกีฬาเพิ่มเติม เป็นชาย 1 คน และหญิง 1 คน เพื่อความเสมอภาคทางเพศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"