รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐประชุมทางไกลกับรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มอาเซียน ระบุ สหรัฐ "กังวลอย่างยิ่ง" เกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่าและเรียกร้องอาเซียนดำเนินการทันทีเพื่อยุติความรุนแรงและฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศนี้ อีกด้านยืนยันสหรัฐอยู่ข้างชาติอาเซียนที่เผชิญการ "บีบบังคับ" จากจีนกรณีทะเลจีนใต้
แฟ้มภาพ แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (Photo by Mark Makela/Getty Images)
รายงานรอยเตอร์และเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 14 กรกฎาคม กล่าวว่า การประชุมทางไกลระหว่างแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กับบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน เป็นการประชุมกันครั้งแรกของสองฝ่ายในสมัยของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกิดในช่วงยามที่มีความกังวลกันในหมู่นักการทูตและภาคส่วนอื่นๆ ว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ให้ความสนใจมากพอแก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งมีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของสหรัฐเพื่อทัดทานการแผ่อิทธิพลมากขึ้นของจีน
เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เปิดเผยในแถลงการณ์ที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคารตามเวลาสหรัฐว่า รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ "เรียกร้องให้อาเซียนดำเนินการร่วมกัน เพื่อผลักดันการยุติความรุนแรง, ฟื้นฟูการเปลี่ยนผ่านตามระบอบประชาธิปไตยของพม่า และปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมทุกคน"
และนอกเหนือจากแสดงความ "ห่วงกังวลอย่างยิ่ง" เกี่ยวกับเมียนมาซึ่งในแถลงการณ์ในชื่อเดิมของประเทศนี้แล้ว ไพรซ์กล่าวว่า บลิงเคนยังกระตุ้นให้กลุ่มอาเซียน "ดำเนินการทันทีทันใดเพื่อให้ระบอบการปกครองของพม่ารับผิดชอบต่อฉันทมติและแต่งตั้งผู้แทนพิเศษ" โดยเขาหมายถึงฉันทมติ 5 ข้อที่อาเซียนเห็นพ้องกันในการประชุมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งทูตพิเศษไปยังเมียนมา
กลุ่มอาเซียนเป็นแกนหลักในความพยายามทางการทูตเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ขัดแย้งในเมียนมา หลังจากกองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่ระบอบปกครองทหารของเมียนมาไม่แสดงท่าทีใส่ใจที่จะปฏิบัติตามฉันทมติ 5 ข้อนั้น ที่รวมถึงการเรียกร้องให้มีการเจรจาและยุติความรุนแรง
นอกจากประเด็นเมียนมา บลิงเคนยังย้ำกับบรรดารัฐมนตรีของชาติอาเซียนด้วยว่า สหรัฐปฏิเสธ "การอ้างสิทธิทางทะเลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ของจีนในทะเลจีนใต้ และสหรัฐ "ยืนหยัดเคียงข้างผู้อ้างสิทธิ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเผชิญหน้ากับการบีบบังคับ (ของจีน)"
รัฐบาลจีนอ้างสิทธิเหนือดินแดนในทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด รวมถึงพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาท โดยจีนอ้างแผนที่ "เส้นประ 9 เส้น" รูปทรงเกือกม้าที่จีนประกาศเองโดยฝ่ายเดียว เพื่อครอบครองอาณาเขตทางทะเลที่ทับซ้อนกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม, มาเลเซีย, บรูไน, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ไม่เพียงทะเลจีนใต้ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงยังกลายเป็นแนวหน้าแห่งใหม่ในการขับเคี่ยวกันระหว่างสหรัฐและจีน แต่จีนนั้นแซงหน้าสหรัฐไปแล้ว ทั้งเรื่องการใช้จ่ายและอิทธิพลเหนือประเทศท้ายน้ำในฐานะที่จีนเป็นผู้ควบคุมต้นน้ำสายนี้
ไพรซ์กล่าวว่า บลิงเคนรับปากว่า สหรัฐจะสนับสนุนภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เสรีและเปิดกว้างต่อไปภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ
ด้านฮิชัมมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีต่างประเทศของมาเลเซีย กล่าวว่า เขาหวังว่าการประชุมร่วมกันในวันพุธส่งสัญญาณถึงความทุ่มเทครั้งใหม่ของสหรัฐต่อความร่วมมือแบบพหุภาคีในภูมิภาคนี้
"เราเข้าใจดีว่าพหุภาคีนิมยมไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐชุดที่แล้วให้ความสำคัญ แต่การเปิดรับความร่วมมือแบบพหุภาคีของรัฐบาลไบเดนเป็นพัฒนาการที่น่ายินดี" เขากล่าว "เส้นทางนี้เป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่เสถียรภาพ, สันติภาพ, ความรุ่งเรือง และความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคของเรา".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |