'เอกชัย' ยันสอบวิชาเอกสำคัญ เป็นเรื่องจำเป็น เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่าคนเป็นครูมีความรู้จริง พอที่จะสอนคนอื่นได้


เพิ่มเพื่อน    


14ก.ค.64-นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (ประธาน กมว.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการคุรุสภา มีมติให้ตัดหมวดความรู้วิชาเอกออกไปจากการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ว่า ตนยังคงเชื่อว่าในการทดสอบดังกล่าวยังมีความจำเป็น ควรที่จะมีการทดสอบในกลุ่มวิชาเอกด้วย เพื่อที่จะเป็นการวัดมาตรฐานและคุณภาพของบุคลากรที่จะเข้ามาสู่วิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานวิชาชีพและเป็นไปตามสากลในเรื่องความรู้ในวิชาชีพ (Professional Knowledge ) เป็นครูวิชาเอกใดๆ ก็ต้องผ่านการสอบวัดสมรรถนะความสามารถวิชาเอกตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าครูมีความรู้จริง รู้ลึกพอที่เหมาะสมจะไปเป็นครูผู้สอนในวิชานั้นๆ ลองนึกภาพดูครับว่าถ้าคนเรียนครูวิชาเอกคณิตศาสตร์ หรือดนตรีสากล ดนตรีไทย หรือวิชาเอกภาษาอังกฤษ ไม่ต้องผ่านการทดสอบวิชาเอก เพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครู แล้วสังคมจะเชื่อถือคุณภาพครูว่ารู้จริง เก่งจริงหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีหลักฐานการทดสอบเชิงประจักษ์ที่เป็นผลการสอบว่าเก่งจริง ความน่าเชื่อถือของมาตรฐานวิชีพครูจะมีได้อย่างไร   ถ้าไม่มีการทดสอบวิชาเอก ซึ่งวิธีการทดสอบถือเป็นวิธีสากล ที่มีนานาชาติ ก็ยึดถือปฏิบัติอยู่ 
"หากครูไทยคนไหนต้องการจะเป็นครูของโรงเรียนนานาชาติที่เปิดสอนในประเทศไทย เขาจะเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถวิชาเอกที่จะสอนได้หรือไม่ เช่นเขาต้องการครูสอนภาษาไทย แต่ไม่เคยทดสอบความรู้วิชาเอกภาษาไทย และแม้แต่โอกาสที่จะไปสอนหนังสือในโรงเรียนที่ต่างประเทศ ก็อาจจะมีปัคความน่าเชื่อถือหรือการยอมรับ ลองนึกภาพดูครับว่าถ้าเภสัชกรเรียนจบไม่ต้องสอบความรู้ทางเภสัชกรรม พยาบาลเรียนจบไม่ต้องสอบความรู้วิชาการพยาบาล ซึ่งเป็นความรู้ที่จะใช้ประกอบอาชีพ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น การสอบวิชาเอกของคนจะเป็นครูก็คือการสอบความรู้ที่จะไปประกอบวิชาชีพครูสอนวิชาเอกครับ"ประธานกมว.กล่าว

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า ทั้งนี้หากมีปัญหาในกระบวนการปฏิบัติ ตนมองว่าเรื่องนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการกำหนดให้มีการจัดการทดสอบในหมวดวิชาเอก ตามที่มีการกำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิระดับ ปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ หรือ มคอ.1 แทน ซึ่งจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรได้ตรงตาม มคอ.1 และไม่มีการเปิดหลักสูตรที่นอกเหนือจากที่มีการกำหนด และสำหรับกรณีที่มีการนำวิชามารวมกัน เป็นกลุ่มวิชานั้น ก็ควรแก้ที่แยกวิชาที่จะทดสอบให้ชัดเจนซึ่งสามารถทำได้

"อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้ต้องการที่จะขัดแย้งกับนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แต่อย่างใด เพียงแต่ผมมีความกังวลในเรื่องของคุณภาพของผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ครู ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ลองนึกภาพดูครับประเทศต้องการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี แต่ครูผู้สอนเก่งวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีหรือไม่ ก็ไม่รู้เพราะไม่มีการสอบวิชาเอกและผมเชื่อว่าหากมีปัญหาที่จะปฏิบัติก็สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ แต่ไม่ควรที่จะยกเลิกการทดสอบในหมวดวิชาเอก"ประธาน กมว.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"