เทคนิคอยู่ให้เป็นกับภาวะโควิด-19 ระบาด ให้กำลังใจตัวเอง-ดูแลสมาชิกติดเชื้อถูกวิธี


เพิ่มเพื่อน    

  นับเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกำลังเร่งด่วนแก้ไข สำหรับการหาเตียงให้ผู้ป่วยที่ทำได้ยากลำบากในช่วงนี้ เนื่องจากยอดผู้ป่วยโควิด-19 นั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้สิ่งที่ตามมาคือ การที่หลายครอบครัวจำเป็นต้องเฝ้าระวังและรักษาตัวเองที่บ้าน จนกว่าจะมีการติดต่อกลับจากทางโรงพยาบาลเพื่อเข้ามารับตัวผู้ป่วยไปรักษา

    จากสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้วิธีการดูแลสมาชิกผู้ติดเชื้อในครอบครัวอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะลูกหลานที่ไม่ติดเชื้อโควิด-19 ที่อาจต้องแยกห้องนอนและแยกใช้ข้าวของเครื่องครัวออกจากผู้ป่วย นอกจากนี้การรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแล โดยเฉพาะความท้อแท้ในการดูแล และต้องประสบพบเจอกับการที่สมาชิกป่วย รวมถึงภาวะหมดกำลังใจของผู้ป่วยบางรายจากสีเขียวเป็นสีแดง ซึ่งรอการตอบกลับจากโรงพยาบาล ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
    นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ จิตแพทย์และที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า สิ่งสำคัญ หากผู้ดูแลที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 และต้องดูแลสมาชิกคนอื่นๆ ที่ติดเชื้อภายในบ้าน ควรแยกห้องนอนและแยกการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วยคนอื่น ที่สำคัญเมื่อรู้ว่ามีสมาชิกป่วยและต้องรอการติดต่อกลับจากทางโรงพยาบาลนั้น การรับมือกับสุขภาพจิตของผู้ที่ต้องดูแลจะต้องไม่ตระหนกหรือตกใจว่าสมาชิกในครอบครัวของเราป่วย แต่หมอแนะนำว่าเราจะต้องให้กำลังใจตัวเองในการที่จะช่วยดูแลสมาชิกคนอื่นๆ เช่น การบอกกับตัวเองว่า การที่เราไม่ติดเชื้อนั้น เราสามารถทำประโยชน์โดยการช่วยเหลือพ่อแม่ปู่ย่าตายายได้ ไปไหนมาไหนได้ เป็นต้นว่า การของไปซื้อของ และการทำอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานได้ หรือยังช่วยดูแลความเป็นอยู่ให้กับผู้ติดเชื้อระหว่างรอโรงพยาบาลติดต่อกลับมารับตัวไปรักษาได้
    “สำหรับช่องทางในการติดต่อกับสมาชิกคนอื่นๆ ที่ติดเชื้อนั้น แนะนำว่าให้แอปพลิเคชันไลน์ในการบอกต่อความต้องการอาหารหรือยา ตลอดจนอาการป่วยเป็นระยะ เพื่อลดการติดเชื้อระหว่างคนป่วยกับคนดูแล ที่สำคัญยังสามารถใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวเพื่อให้กำลังใจกันและกัน ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกท้อแท้ระหว่างรอ และต้องไม่ลืมให้กำลังใจสมาชิกที่ป่วยว่า “หากคุณตาคุณยายหรือคุณพ่อคุณแม่มีอาการหนัก คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ป่วยกลุ่มแรกๆ ที่ทางโรงพยาบาลต้องประสานตัวมารับไปรักษาอยู่แล้ว!! ดังนั้นในระหว่างรอนี้ให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรักษาตัวเพื่อให้พ้นระยะติดเชื้อรุนแรงไปเสียก่อนให้ได้!! เหลืออีกแค่ 6-7 วัน หรือ 3 วันเท่านั้นเอง!! เป็นต้น” (ปกติแล้วหากอาการป่วยผ่านไปได้ 14 วันอาการติดเชื้อไวรัสก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น)
    ทั้งนี้ ในระหว่างที่รอการติดต่อกลับหลังจากตรวจพบเชื้อโควิด-19 นั้น การดูแลรักษาเท่าที่ทำได้โดยการใช้แพทย์ทางเลือก อย่างการรับประทานยาฟ้าทะลายโจร (ปัจจุบันสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป) เพื่อช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคได้ ที่สำคัญต้องพยายามให้ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ในสถานที่อาการถ่ายเทได้สะดวก เป็นต้นว่าให้พักบนชั้น 2 ของบ้าน และให้เปิดหน้าต่างเพื่อช่วยระบายอากาศ ก็จะทำให้ผู้ติดเชื้อรู้สึกหายใจสะดวกยิ่งขึ้น ตรงนี้ผู้ดูแลสามารถช่วยดูแลสมาชิกที่ติดเชื้อได้เบื้องต้น นอกจากการให้กำลังใจที่กล่าวมา
    “สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้ที่ดูแลสมาชิกติดเชื้อโควิด-19 ในบ้าน ไม่เพียงจะต้องมีสติและไม่ตระหนกใจแล้ว การดูแลสุขภาพของตัวเองก็สำคัญ เพราะต้องไม่ลืมว่าจะต้องปฏิบัติตามแนวทาง 3 ประการ คือ หากอยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย 1.จะต้องแยกกินอาหาร แยกการใช้ภาชนะต่างๆ กระทั่งห้องน้ำร่วมกัน และ 2.ต้องหมั่นล้างมือ ส่วน 3.ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมถึงสมาชิกที่ติดเชื้อโควิด-19 ในบ้านด้วย ที่สำคัญคงเป็นเรื่องของจิตใจ อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าผู้ดูแลคนป่วยนั้นจะต้องให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอว่า “เราไม่ใช่คนป่วย และเราสามารถดูแลทุกคนในบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกไปซื้อยาและหุงหาอาหารให้คนในบ้านได้กิน ดังนั้นเราต้องไม่ท้อ และอันที่จริงเราสามารถอยู่ท่ามกลางสมาชิกที่ติดเชื้อได้ แต่จะต้องรักษาสุขภาพอนามัยให้ดีเพื่อไม่ให้ติดเชื้อไปอีกคน ที่สำคัญความโชคดีเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ได้ดูแลสมาชิกทุกคน แต่เมื่อสมาชิกที่ป่วยมีกำลังใจที่ดีจากการดูแลของเรา แน่นอนว่าเมื่อได้รับการประสานเข้ามารับตัวไปรักษาในโรงพยาบาล ก็จะทำให้ผู้ป่วยหายโดยเร็ววันเช่นกัน”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"