โฟกัสแนวรุก หน่วยพระราม 5 หนึ่งในปัจจัยเคาะ โผทหาร


เพิ่มเพื่อน    

โผโยกย้ายนายทหารประจำปีนี้ ขยับขยายเวลาส่งไปยังกระทรวงกลาโหมรอบสุดท้ายในช่วงกลางเดือน ส.ค.นี้ โดยรอบแรกจะเป็นการพิจารณาในส่วนของเหล่าทัพไปจนถึงปลายเดือน ก.ค. เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่เหลือเกือบ 1 เดือนยังไม่มีอะไรแน่นอน แคนดิเดตทุกคนที่ลุ้นในตำแหน่งสำคัญล้วนมีความหวังว่าจะได้รับการพิจารณาในโค้งสุดท้าย ร่องรอยของความพยายามเร่งเครื่องด้วยหลากหลายวิธีการจึงเกิดขึ้น เช่น ปั๊มงานให้หนัก วิ่งให้ถูกช่อง หรือรีวิวโปรไฟล์ ผลงานในอดีต ก่อนวัดใจผู้บังคับบัญชาในรอบสุดท้าย
    แต่ก็ต้องยอมรับว่า ระบบรุ่น ยังเป็นปัจจัยหลักในการหนุนส่งให้ผู้ที่เป็นแคนดิเดตได้รับการแต่งตั้งเสมอมา รวมไปถึงวัฒนธรรมแบบพรรคพวกที่เลือกคนคุ้นเคยใกล้ชิด ไว้ใจ มาใช้งาน ขณะที่ปัจจัยจากเนื้องานกลายเป็นเรื่องรอง หลักการที่ว่านี้นับเป็นปัญหาโลกแตกภายในกองทัพเกี่ยวกับการเลื่อนยศ ปลดย้าย จนกลายเป็นรอยแผลเพื่อนพ้องน้องพี่ในกองทัพมาหลายยุคหลายสมัย
    ย้อนกลับมาดูการปรับย้ายในรอบนี้ ในส่วนของตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพ ตำแหน่งระดับสูงสุดที่ต้องปรับเปลี่ยนเนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันจะเกษียณอายุราชการในปีนี้ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ เชื่อมั่นว่าผู้ที่มีชื่อได้รับการเป็นแคนดิเดต ก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะได้รับเสนอชื่อหรือไม่ เนื่องจากปัญหาความไม่ลงตัวเรื่องการข้ามห้วยกลับไปดำรงตำแหน่ง ผบ.เหล่าทัพ ในกรณีของผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) รวมไปถึงความไม่ลงรอยจากนโยบาย จนกลายเป็นปมความขัดแย้งเปิดศึกข้อมูลผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ ผลพวงไปสู่การเลือกตัวผู้บัญชาการทหารอกากาศ (ผบ.ทอ.)
    การปรับย้ายในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย และกองบัญชาการกองทัพบก ซึ่งผู้บัญชาการฯ ยังอยู่ในตำแหน่งถึงปี 2566 เป็นที่รับรู้กันว่า ส่วนรองๆ ลงไปการพิจารณาจะประกอบด้วยเพื่อนร่วมรุ่นที่ควรจะได้รับการโปรโมตในตำแหน่งสำคัญ และการวางไลน์ไว้ตามลำดับขั้นให้กับผู้ที่จะมารับไม้ต่อเป็นหลัก
    กองบัญชาการกองทัพไทยที่มีอัตราพลเอกพิเศษ 6 ตำแหน่ง ในขณะที่มีอัตราพลเอกตำแหน่งหลัก 6 ตำแหน่ง นอกจากตัวเลือกภายในแล้ว เกือบทุกครั้งต้องมีการแลกโควตาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อให้รายชื่อลงล็อก เลยไปถึงการรับนายพลที่ส่งออกมาจากเหล่าทัพมาไว้ ซึ่งในส่วนนี้ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะมีตำแหน่งในสัดส่วนของเหล่าทัพรองรับอยู่แล้ว 
    ตัวแปรอีกประการในการจัดทำโผระดับพลเอก คือ การรอสัญญาณจากรัฐบาลในการเลือกผู้ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (เลขาธิการ สมช.) ซึ่งในช่วงหลังเป็นทหารทั้งหมด ไล่ตั้งแต่ พล.อ.ทวีป เนตรนิยม พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา และคนปัจจุบันคือ พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ ส่วนใหญ่ผ่านงานด้านยุทธการ และสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม สอดรับกับภารกิจของ สมช. แต่เหตุผลหลักในการได้เข้าสู่ตำแหน่งจริงๆ ก็คือ พลาดหวังจากการปรับย้ายในตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทยและกองทัพบกจึงได้เก้าอี้เลขาธิการ สมช.มารองรับ
    แต่ยุคนี้พิเศษไปกว่านั้น เพราะเลขาธิการ สมช.ต้องรับบท ผอ.ศปก.ศบค. อำนวยการสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังวิกฤติ จึงมีการมองว่าควรเป็นบุคคลที่นายกรัฐมนตรี/ผอ.ศบค.ไว้วางใจในการสั่งการเรื่องต่างๆ เพื่อให้งานรื่นไหล ทำให้การเฟ้นหาบุคคลที่มาทดแทน พล.อ.ณัฐพลที่จะเกษียณอายุราชการในตุลาคมนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก อีกทั้ง “ทหาร ในหน้าตักของนายกรัฐมนตรีก็เหลือไม่มากนัก เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ เกษียณอายุราชการมานานแล้ว จึงมีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการก็แค่เฉพาะลูกน้องเก่า ขณะที่ความสัมพันธ์กับ ผบ.ทบ.คนปัจจุบันก็เป็นรูปแบบของสายการบังคับบัญชาเท่านั้น ไม่ได้หอมหวานเหมือนยุค “บิ๊กแดง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็น ผบ.ทบ.
    เมื่อลงไปในรายตำแหน่ง 5 เสือกองทัพไทย ก็มีแนวโน้มว่า ถ้า พล.อ.ณตฐพล บุญงาม ที่ปรึกษาพิเศษสำนักปลัดกลาโหม ไม่ได้เป็นเลขาธิการ สมช.ตามคาดหมาย ก็อาจจะถูกส่งมาเป็นเสนาธิการทหาร โดยให้ พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม ขยับไปเป็นเป็นรอง ผบ.ทสส. แต่ก็ยังมีชื่อ พล.อ.ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ผบ.สปท.) อาจจะเข้ามาป็นรอง ผบ.ทสส.ได้เหมือนกัน ส่วน พล.อ.ธิติชัย เทียนทอง รองเสนาธิการทหาร นายทหารมือดีที่ 1 รร.เสนาธิการทหารบก และจบรีเวิร์นเวิร์ธ อาจถูกส่งไปเป็น ผบ.สปท. เพื่อเปิดทางให้ พล.ท.สุวิทย์ เกตุศรี ผู้บัญชาการศูนย์ต่อต้านการก่อร้าย (ศตก.) มาเป็นรองเสนาธิการทหารเพื่อจ่อเป็นเสนาธิการทหารในปีต่อไป ซึ่งหากมีชื่อ พล.อ.ณตฐพล เพื่อน ตท.21 ของ พล.อ.เฉลิมพล มานั่งเก้าอี้เสนาธิการทหาร ก็อาจต้องแลกโควตาส่งคนไปกระทรวงกลาโหมอีกหนึ่งตำแหน่ง
    ข้ามมาที่กองทัพบก แม้มีกระแสข่าวในตำแหน่ง 5 เสืออย่างหนาหูว่ามีการวางตัวในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น พล.อ.อภินันท์ คำเพราะ มาเป็น รอง ผบ.ทบ. พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ แม่ทัพภาคที่ 1 และ พล.อ.ธเนศ วงษ์ชอุ่ม แม่ทัพภาคที่ 2 มาเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และมีชื่อ พล.ท.สันติพงษ์ ธรรมปิยะ รองเสนาธิการทหารบก ขึ้นมาเป็น เสนาธิการทหารบก แต่ช่วงเวลาอีกประมาณ 1 เดือนทุกอย่างก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และ ข้อมูลใหม่ เพื่อนำไปสู่การหารือ พูดคุยในการปรับเปลี่ยนบางตำแหน่ง  
    ปัจจัยเรื่องอาวุโส ความสามารถ ความเหมาะสม ผลงานในกองทัพ ตามหลักการที่ต้องเกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมอาจจะไม่เพียงพอในการชี้ใครให้ดำรงตำแหน่งไหน โดยเฉพาะในส่วนของนายทหารหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904 (ฉก.ทม.รอ.904) ซึ่งมีความเข้มข้นในการปฏิบัติภารกิจในการปกป้องสถาบันฯ อาจต้องมีการวัดผลและดูองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะมีคณะกรรมการฯ พิจารณาต่างหาก นอกจากอาวุโสรุ่นที่ผ่านหลักสูตรโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ ลดหลั่นกันลงมาในเบื้องต้น
    เมื่อดูจากรุ่น 1-2 จะเหลือไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่เหลือ กำลังจะขยับเข้าไลน์ บางคนก็เตรียมเกษียณ ได้แก่ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ธรรมนูญ วิถี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (เกษียณปีนี้) พล.ท.ทรงวิทย์ หนุนภักดี รองเสนาธิการทหารบก พล.ท.สุวิทย์ เกตุศรี ผบ.ศตก. พล.ท.เจริญชัย หินเธาว์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ท.สุขสรรค์ หนองบัวล่าง แม่ทัพน้อยที่ 1 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหลัก และเป็นผู้บังคับหน่วยรบ โดยเฉพาะ ตท.รุ่น 23-24 ที่ต้องชิงดำในปี 2567 การเดินเข้าสู่ไลน์ ผบ.หน่วยคุมกำลัง
    จึงมีกระแสข่าวว่า ชื่อของ พล.ท.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ในโผนี้ที่อาจจะหมุนไปเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 อาจจะไม่เป็นไปตามนั้น เพราะแบบธรรมเนียมเรื่องการจบโรงเรียนหลักยังเป็นกฎเหล็กที่สำคัญในการเข้าสู่ตำแหน่ง ผบ.ทบ. เลยไปถึงการประเมินผลงานอย่างรอบด้าน ที่กรรมการฯ ฉก.ทม.รอ.904 ต้องนำมาพิจารณาเพื่อลดปัญหาการแบ่งขั้ว สร้างความเป็นเอกภาพในเหล่าบรรดา ทหารคอแดง”ให้เข้มแข็ง 
    ยิ่งขณะนี้ บทบาทของกองทัพตีกรอบตัวเองไม่ให้ความเห็นทางการเมือง ไม่โอบอุ้ม หรือหนุนรัฐบาลจนออกนอกหน้า ทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลตามการร้องขอผ่านขั้นตอนลำดับชั้น ตั้งแต่ นายกฯ กลาโหม ศปม. ที่บางครั้งก็ไม่ค่อยทันกับสถานการณ์ของโควิด-19 ที่บานปลายไปเร็ว บทบาทของกองทัพจึงเหมือนกับการรักษารูปมวย เน้นสร้างภาพลักษณ์ประชาสัมพันธ์ ประคองตัวไปเท่านั้น 
    แต่การดำรงบทบาทของการปกป้องรักษาสถาบันฯ คงต้องยกระดับมากขึ้น เพราะขณะนี้สถาบันฯ ตกเป็นเป้า บอบช้ำจากกลุ่มเคลื่อนไหวขยายข้อมูลความคิด กลายเป็นกระแสสูงที่สังคมเริ่มหันมามอง จนเมื่อสองเดือนก่อนการปรับทัพของ หน่วยพระราม 5 วอร์รูมร่วมของ ทม.รอ. กับกองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ ตร. เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ทหารคอแดง หรือหน่วย ฉก.ทม.ฯ ในเหล่าทัพว่าจะสามารถจะรับมือปัญหา ไฟลามทุ่ง นี้ได้หรือไม่
    สนามโยกย้ายในปีนี้ จึงมีหลายปัจจัยในการเคาะเลือกคนเข้าสู่ตำแหน่งที่ซับซ้อนมากกว่าทุกครั้ง จึงต้องรอดูจนกว่าจะถึงนาทีสุดท้าย!!.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"