หลายคนอาจรู้สึกว่า ผู้ที่กีดกันทางเพศหรือผู้ที่ไม่ชอบผู้หญิงนั้นมักจะอ้างว่า “ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์” ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ล่าสุด องค์การอนามัยโลกกำลังวางแผนที่จะต่อสู้เกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ของคนทั่วโลกที่มากเกินไป และเรียกร้องให้ "ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์" เป็นกลุ่มหนึ่งที่ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการงดดื่มเหล้าเป็นพิเศษ เนื่องจากผลด้านสุขภาพมากกว่าเรื่องอื่น
โดยนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการได้ออกมาประณามรายงานดังกล่าวว่า ไม่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์และเป็นการไม่ยุติธรรมกับผู้หญิง โดยตีความข้อความขององค์การอนามัยโลกว่า เป็นข้อความที่ห้ามดื่มเหล้าสำหรับเด็กผู้หญิงและผู้หญิงทุกคนที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 50 ปี
“แมต แลมเบิร์ต” หัวหน้าหน่วยงานกำกับดูแลด้านแอลกอฮอล์ของอังกฤษ กล่าวว่า “นอกจากจะเป็นการกีดกันทางเพศ และเป็นการแบ่งแยกระหว่างเพศหญิงและเพศชายในการดื่มแอลกอฮอล์แล้ว อาจจำกัดเสรีภาพของผู้หญิงส่วนใหญ่ในการดื่มสุรา อีกทั้งยังเป็นการบังคับให้คนปฏิบัติตามโดยปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่ทำให้คนเข้าใจผิดจนทำให้คนแตกตื่น เนื่องจากเป็นการทำให้คนมองหรือเชื่อมโยงว่า การที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะส่งผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์หรือทารกในท้องมากกว่าเรื่องอื่น”
กรณีดังกล่าวนี้ องค์การอนามัยโลกได้ออกมาโต้ว่า แท้จริงแล้วไม่ใช่การแนะนำให้ผู้หญิงงดเว้นจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลาครึ่งชีวิต เนื่องจากบางคนเคยดื่มมาตลอด ประกอบกับแผนโครงการเกี่ยวกับการดื่มสุราฉบับแรกของ WHO ที่เพิ่งเผยแพร่ไปยังประชาชนเมื่อเร็วๆ นี้ได้ออกมาระบุว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียง 6 ข้อเสนอที่ประเทศต่างๆ สามารถนำไปใช้ เพื่อช่วยให้ประชาชนของตัวเองที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านลดการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมถึงการระมัดระวังการดื่มสุรา และกระทำเรื่องที่ผิดหรือไม่ดี และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดื่มสุราดังกล่าวยังใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการรักษาพยาบาลผู้ที่ต้องการเลิกดื่มสุราหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ได้เช่นเดียวกัน และข้อปฏิบัติดังกล่าวยังช่วยป้องกันการได้รับอันตราย หรือผลเสียจากการดื่มสุราเมื่อมีอายุน้อยเกินไป รวมถึงผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่รู้ว่าตัวเองท้อง”
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกได้ออกมาโต้แย้งว่า ข้อปฏิบัติดังกล่าวต้องการโฟกัสไปที่การป้องกันผลเสียต่อสุขภาพในกลุ่มของผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และนั่นเป็นเพียงสิ่งเดียวที่พูดถึงสุขอนามัยของประชาชน และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็ทำให้อีกหลายคนออกมาพูดในลักษณะเดียวกันที่ว่า การดื่มสุรานั้นจำกัดอยู่ในผู้หญิง แต่ไม่ได้ถูกจำกัดในผู้ชาย หรือขอให้ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง แต่หลายคนอาจจะไม่อยากตั้งครรภ์ นั่นจึงไม่ได้ส่งผลต่อมดลูกของพวกเธอแต่อย่างใด
ขณะที่ “พารก์ยา อาร์วอล” นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและข้อมูล เขียนบน Twitter ว่า “คำแนะนำดังกล่าวส่งผลต่อทัศนคติทางเพศ ทั้งที่ความจริงแล้วการวิจัยยังเชื่อมโยงระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์กับคุณภาพของตัวอสุจิที่ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรให้ข้อมูลแก่ประชาชน”
องค์การอนามัยโลกได้ออกมาตอบสนองต่อการสะท้อนกลับเกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวว่า “ร่างแผนปฏิบัติการทั่วโลกของ WHO ฉบับปัจจุบัน ไม่แนะนำให้ผู้หญิงทุกคน ในวัยที่สามารถตั้งครรภ์ได้ดื่มสุรา อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกพยายามที่จะสร้างความตระหนักรู้ถึงผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์ แม้ว่าตัวเองจะยังไม่ทราบเรื่องการตั้งครรภ์ก็ตาม”
ที่สำคัญข้อมูลของ WHO นั้นได้พบการติดสุรากำลังเพิ่มขึ้น โดยพบว่าผู้ที่ติดเหล้านั้นร้อยละ 5.3% เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกในช่วงปี 2559 ซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มสุราทำให้คนหนุ่มสาวอายุ 20-39 ปีเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 13.5% ซึ่งสูงกว่าการเสียชีวิตจากโรควัณโรค, โรคเอชไอวี/เอดส์ และโรคเบาหวาน ซึ่งมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปีเดียวกัน ที่น่าสนใจยังพบว่า การดื่มสุรานั้นเชื่อมโยงกับภาวะสุขภาพจิต และบาดแผลจากสถานที่ทำงาน ความสัมพันธ์ และปัญหาทางเศรษฐกิจ
รายงานบางฉบับได้ระบุว่า ผู้คนกำลังดื่มมากขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 โดยการศึกษาในเดือนกันยายนพบว่า การดื่มสุราโดยเฉพาะในผู้หญิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เนื่องจากความเครียด ความวิตกกังวล และการกักตัว โดยรวมแล้ววัยผู้ใหญ่ชาวอเมริกันดื่มสุราบ่อยขึ้นกว่าปี 2019 ประมาณ 14% ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสำรวจ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |