12 ก.ค. 2564 นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท. ขอติดตามและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับมาตรการกึ่งล็อกดาวน์ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ล่าสุดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 โดยต้องดูว่าหลังจากมาตรการกึ่งล็อกดาวน์จบแล้ว รัฐบาลจะมีมาตรการอะไรออกมาอีกหรือไม่ หรือหากสถานการณ์ดีขึ้นจนสามารถประกาศผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในประเทศไทยนั้น ถือเป็นอีกความเสี่ยงสำคัญที่อาจจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดและการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ทำได้ช้าลง ซึ่ง ธปท. และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการติดตามและประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่านโยบายที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ หรือต้องทำอะไรเพิ่มเติม
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า จากข้อมูลในวันที่ 22 มิ.ย. 2564 ที่ใช้ทำการประเมิน ทำให้คาดว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ได้ภายในต้นไตรมาส 4/2564 โดยยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญหลัก ๆ ที่ต้องจับตา คือการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง จนส่งผลให้การระบาดรุนแรงมากขึ้น รวมถึงต้องจับตามองแรงกระตุ้นทางการคลัง เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ภาษีที่ลดลงจะมีผลต่อแรงกระตุ้นทางการคลังในระยะต่อไป และฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจในปัจจุบันอาจจะนำไปสู่การจ้างงานที่จะส่งต่อไปยังฐานะทางการเงินของครัวเรือน ซึ่งก็จะมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ จากสมมุติฐานเดิม ธปท. มีการประเมินว่าในปีนี้รัฐบาลจะมีการเบิกจ่ายเงินกู้ ตาม พ.ร.ก. กู้เงินเพิ่มเติม วงเงิน 5 แสนล้านบาท จำนวน 1 แสนล้านบาท เพราะยังมีการเบิกจ่ายวงเงินกู้ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทค้างอยู่ และจะมีการเบิกจ่ายอีก 2 แสนล้านบาทในปีหน้า แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากข้อมูลสมมุติฐาน ซึ่งภาพเศรษฐกิจในเดือน มิ.ย. 2564 ได้มีการรวมการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าไว้ในระดับหนึ่งแล้ว และหากสถานการณ์การระบาดยังยืดเยื้อ รุนแรงและขยายตัวเป็นวงกว้างกว่าที่ประเมิน รวมถึงปัจจุบันมีการใช้มาตรการในการควบคุมอย่างล็อกดาวน์ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการรุนแรงกว่าที่เคยคาดการ ซึ่งประเด็นนี้จะส่งผลกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะมีความจำเป็นต้องใช้ พ.ร.ก. กู้เงินเพิ่มเติมเต็มจำนวนที่ 5 แสนล้านบาท
“ข้อมูลตอนที่ใช้ประเมินสถานการณ์นั้น การระบาดสายพันธุ์เดลต้ายังไม่รุนแรงเท่านี้ จำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่สูงขนาดนี้ แต่ตอนนี้สถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนไป ธปท. กำลังเร่งประเมินภาพใหม่ เพื่อให้เห็นชัดเจนว่าแนวโน้มตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้จะเติบโตเป็นบวกหรือลบ จากปัจจุบันคาดการณ์จีดีพีปีนี้อยู่ที่ 1.8% โดยคงต้องไปดูปัจจัยลบเรื่องความไม่แน่นอนของการระบาด สถานการณ์ที่ยืดเยื้อ ยอมรับว่า ณ วันนี้ข้อมูลต่าง ๆ ยังส่งผลกระทบต่อจีดีพีในความเสี่ยงด้านต่ำอยู่” นางสาวชญาวดี กล่าว
นางสาวชญาวดี กล่าวอีกว่า โจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน คือ การจัดหาและกระจายวัคซีนที่เหมาะสมให้เพียงพอและทันการณ์ โดยเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวชะลอลงจากเดิมตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อและรุนแรงขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจยังเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญจากการกลายพันธุ์ของไวรัสที่อาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง ทำให้การระบาดรุนแรงขึ้น และการระบาดในระลอกล่าสุดนี้ ได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ รวมถึงมีการปรับลดคาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ลงเหลือ 7 แสนคน จากเดิม 3 ล้านคน และปีหน้าเหลือ 10 ล้านคน จากเดิมที่ 21.5 ล้านคน
ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 พบว่า ภาคบริการและการลงทุนมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 2 เดือนติด เป็นตัวสะท้อนชัดเจนว่าเศรษฐกิจเริ่มได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกที่ 3 ขณะที่การส่งออกและการผลิตยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเมื่อมองไปข้างหน้ายังมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลัก ๆ มาจากความเปราะบางของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ยังฟื้นตัวไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะตลาดแรงงาน ที่การฟื้นตัวของตลาดแรงงานมีแนวโน้มช้ากว่าในอดีต และคาดว่าจะมีลักษณะเป็น W-Shaped ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานระยะยาวเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ตรงนี้อาจทำให้ในระยะต่อไปเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น กลุ่มนี้จะเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ช้าจากการสูญเสียทักษะและอาจทำให้ตลาดแรงงานกลายเป็นแผลเป็นทางเศรษฐกิจได้
“ตลาดแรงงานมีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคบริการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งอาจก่อให้เกิด scarring effects ที่แก้ไขได้ยาก หากไม่ดูแลทันท่วงที โดยผู้ประกอบอาชีพอิสระยังมีความกังวลมากและต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงการระบาดของระลอกที่ 3 ซึ่งมีการประเมินระดับรายได้ของกลุ่มแรงงาน พบว่า แรงงานในภาคการค้ามีรายได้ลดลง และเริ่มเห็นการปลดพนักงาน ส่วนภาคบริการรายได้ปรับลดลงชัดเจน มีการลดวันทำงาน ตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของครัวเรือนที่เดิมเปราะบางอยู่แล้ว” นางสาวชญาวดี กล่าว
นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก ดังนั้นทุกส่วนต้องเร่งผลักดันมาตรการต่าง ๆ ให้เห็นผลโดยเร็วที่สุด เพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการด้านแรงงาน เพื่อรักษาการจ้างงานและพยุงรายได้กลุ่มเปราะบาง มาตรการด้านการคลัง ผ่านการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจก็ยังจำเป็น โดยเฉพาะในช่วงที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ ส่วนมาตรการด้านการเงิน ได้เร่งดำเนินการผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ที่ปัจจุบันมีการอนุมัติแล้ว 6.68 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 2.19 หมื่นราย โดยวงเงินอนุมัติเฉลี่ย อยู่ที่ 3.1 ล้านบาทต่อราย และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ รวมถึงมาตรการของสถาบันการเงินของรัฐ อาทิ สินเชื่ออิ่มใจ สินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 ของธนาคารออมสิน เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |