'โภคิน พลกุล'เฮ ศาลฯเบรกชดใช้ ซื้อดับเพลิงพันล.


เพิ่มเพื่อน    

     "โภคิน" รอด! ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืน เพิกถอนคำสั่งผู้ว่าฯ กทม.ให้ชดใช้ 1.43 พันล้านคดีซื้อรถ-เรือดับเพลิงฉาวปี 47
     เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1522/2559 หมายเลขแดงที่ อ.499/2561 ระหว่าง นายโภคิน พลกุล ผู้ฟ้องคดี กับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ 1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (โครงการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย) 
    โดยศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า  โครงการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง รวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทย เข้าเสนอโครงการจัดหารถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยในลักษณะรัฐต่อรัฐตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 ต่อมา เมื่อผู้ฟ้องคดีได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ตุลาคม 2547 แจ้งถึงกระบวนการจัดซื้อดังกล่าวอาจดำเนินการมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และแจ้งให้ทราบว่ามีผู้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสืบสวนสอบสวนการจัดซื้อดังกล่าว 
     ดังนั้น ด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีในขณะที่ดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทย ที่ต้องควบคุม ดูแลการปฏิบัติราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยองค์กรที่อยู่ใต้การควบคุมดูแลว่าอาจมีการบริหารงานที่ส่อไปในทางที่ไม่สุจริต และอาจทำให้เกิดความเสียหายหรือเสียประโยชน์อย่างใดๆ แล้ว ผู้ฟ้องคดีย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสั่งให้มีการตรวจสอบสอบสวนเรื่องราวตลอดจนข้อเท็จจริงที่ผ่านมา ว่าได้ดำเนินการถูกต้องและชอบด้วยระเบียบกฎหมายหรือไม่ แต่ผู้ฟ้องคดีหาได้กระทำเช่นนั้นไม่ จึงเป็นการไม่ดำเนินการควบคุมดูแลการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 อันถือได้ว่าเป็นการละเลยหรืองดเว้นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ 
     อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อความตามหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 ที่ผู้ฟ้องคดีมีถึง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่า “ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขใน Agreement of Understanding (A.O.U.)” นั้น มิได้มีลักษณะเป็นการสั่งการให้ดำเนินการ คงเป็นเพียงการแจ้งตอบข้อหารือและให้ความเห็นประกอบ เนื่องจากผู้ฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่เพียงควบคุมกำกับดูแลการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งยกเลิกเพิกถอนนิติกรรมใดๆ อันเป็นอำนาจโดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ ดังนั้น หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ 
     ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า ภายหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เองก็ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ฟ้องคดีโดยการเปิด L/C ให้แก่บริษัท สไตเออร์ฯ ทันที แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาทบทวนรายละเอียดการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์ดังกล่าวอีกครั้ง จึงเห็นได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่จำต้องปฏิบัติตามหนังสือของผู้ฟ้องคดี และสามารถเจรจาต่อรองหรือขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้ หากเห็นว่าไม่ชอบธรรม 
     ส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้เปิด L/C ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ เมื่อ 10 มกราคม 2548 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ชำระค่าสินค้าในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9 ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ ตามข้อตกลงซื้อขาย เนื่องจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือลงวันที่ 16 ธันวาคม 2547 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดำเนินการเปิด L/C ให้แก่บริษัท สไตเออร์ฯ โดยทันที จึงเห็นได้ว่าการเปิด L/C ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มิได้เป็นผลโดยตรงมาจากการตอบหนังสือข้อหารือของผู้ฟ้องคดี 
     ดังนั้น ความเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับจากการดำเนินการเปิด L/C ให้แก่บริษัท สไตเออร์ฯ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ในการกำกับดูแลผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เช่นกัน ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และไม่ต้องรับผิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องชำระราคารถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9 รวมทั้งความเสียหายอื่นๆ เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับรู้รับทราบและรับที่จะดำเนินการเองมาตั้งแต่ต้น และผู้ฟ้องคดีเองก็ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในการทำสัญญาหรือตกลงในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของสัญญา และเป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเป็นการเฉพาะ 
     ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามคำสั่ง กทม.ที่ 1365/2557 ลงวันที่ 21 เม.ย.2557 ที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จำนวน 1,434,463,937.07 บาท โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"