เอกชน-วิชาการ หนุนเจ็บแล้วจบ ย้ำเรื่อง‘เยียวยา’


เพิ่มเพื่อน    

 “เอกชน-นักวิชาการ” หนุนล็อกดาวน์ 10 จังหวัด แนะควรใช้เวลา 14 วันขยายผลตรวจเชิงรุก พร้อมเร่งหาวัคซีน ที่สำคัญต้องไม่ลืมมาตรการเยียวยา “ธนวรรธน์” คาดใช้เงินไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนล้านบาท
    เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ครั้งที่ 9/2564 ที่ให้ล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 ก.ค.ว่า ส.อ.ท.เห็นว่ารัฐบาลควรใช้ช่วงจังหวะเร่งตรวจเชิงรุกเพื่อตรวจหาคนที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่อย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว เพื่อเร่งควบคุมการแพร่ระบาดที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    “รัฐบาลต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดให้ได้เร็วที่สุด ต้องเร่งคัดกรอง คัดแยกกลุ่มเสี่ยงออกมาจากกลุ่มคนที่ยังไม่ติดเชื้อ เพราะถ้าปล่อยไว้นานจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยิ่งจะเพิ่มยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหนักมากขึ้น เพราะการแพร่ระบาดรอบ 3 นี้ผลกระทบหนักกว่ารอบที่ผ่านๆ มา และภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลจัดการควบคุมการแพร่ระบาดให้จบโดยไว” นายสุพันธุ์กล่าว
    นายสุพันธุ์ยังกล่าวว่า รัฐบาลควรอนุมัติหรืออนุญาตให้มีการนำชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดแบบเร่งด่วนเข้ามาใช้ เพื่อลดความแออัดของคนที่ไปรอรับการตรวจ และทำให้การตรวจเข้าถึงทั่วถึงทุกกลุ่ม รวมทั้งต้องเร่งจัดหาวัคซีนและระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด 
    “การล็อกดาวน์รอบนี้รัฐบาลต้องเพิ่มมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบมากขึ้น เช่น เพิ่มเวลาการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพิ่มมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการมากขึ้น เพื่อให้กลุ่มนี้สามารถรักษาอัตราการจ้างงานไว้ได้ รวมทั้งกลุ่มลูกจ้าง ซึ่งจะทำให้ผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์รอบนี้ไม่รุนแรงมาก”นายสุพันธุ์ระบุ
    นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการหารือกับ 40 CEOs (พลัส) เมื่อช่วงค่ำวันที่ 8 ก.ค.ว่า 40 CEOs (พลัส) เห็นควรล็อกดาวน์จำกัดเฉพาะบางพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่ควรล็อกดาวน์ทั้งประเทศ โดยมาตรการที่จะประกาศใช้ต้องคำนึงและให้ครอบคลุมถึงแนวทางการดูแล และเยียวยาทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนควบคู่กันไปด้วย ไม่เช่นนั้นจะเกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนกลับภูมิลำเนา ซึ่งส่งผลให้การระบาดกระจายไปทั่วประเทศ และในที่สุดจะนำไปสู่ความล้มเหลวทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจที่เจ็บแต่ไม่จบ และจะลามไปถึงปัญหาทางสังคมอีกในอนาคต
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า มาตรการของ ศบค.ต้องการที่จะหยุดการติดเชื้อของประชาชนให้น้อยลงให้ได้ภายใน 14 วัน ซึ่งหากไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา เชื่อว่าโอกาสประชาชนจะติดเชื้อในแต่ละวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ระบบสาธารณสุขไทยล้มเหลว 
“ต้องดูว่ารูปแบบการล็อกดาวน์จะเหมือนกับช่วงต้นปี 2563 หรือไม่ ซึ่งในช่วงดังกล่าวล็อกดาวน์ช่วงนั้นจะใช้เม็ดเงินเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 200,000-300,000 ล้านบาท ดังนั้นหากล็อกดาวน์ในครั้งนี้รัฐบาลต้องเตรียมเม็ดเงินอัดฉีดเข้าระบบไม่ต่ำกว่า 200,000-300,000 ล้านบาทต่อเดือน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้” นายธนวรรธน์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"