ไฟใต้เดือดไม่รู้จบ! เมื่อ กอ.รมน.รู้โจทย์ แต่ไม่ตอบโจทย์


เพิ่มเพื่อน    

ในรอบ สัปดาห์นี้ มีสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส ที่ควรแก่การสนใจ ซึ่งนอกเหนือจากเรื่อง สงครามเชื้อโรค ที่ 4 จังหวัดดังกล่าวได้กลายเป็น คลัสเตอร์ ใหญ่ที่มีการ แพร่เชื้อ อย่างรุนแรงรวดเร็ว และมีผู้เสียชีวิตวันละ 3-4 ราย ใน จ.ปัตตานีและยะลาแล้ว สงครามแบ่งแยกดินแดนก็ร้อนระอุรุนแรงมากขึ้น

            มีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น 3 เหตุการณ์ ที่ต้องนำมาเขียนถึงคือ การปะทะระหว่างกำลังเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายกับ แนวร่วม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนบีอาร์เอ็น ที่ ต.เตราะบอน และ ต.กะดูนง อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ แนวร่วม ในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา วางระเบิด แสวงเครื่อง ที่บ้านลางา ต.บ้านนา เป็นเหตุให้ทหารชุด ชป.จรยุทธ์ เสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีก 3 นาย

            บรรทัดนี้ก็ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวเจ้าหน้าที่ทหารของ ชป.จรยุทธ์ ที่เสียชีวิตจากความรุนแรงในครั้งนี้ด้วย ซึ่งเป็นการตอบ โจทย์ ที่ชัดเจนว่ากองกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็นยังมีการเคลื่อนไหวในทุกพื้นที่ของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา

            กรณีที่ ต.เตราะบอน อ.สายบุรี ที่ แนวร่วม เสียชีวิต 2 ราย และกรณีที่ ต.กะดูนง อำเภอเดียวกันที่เจ้าหน้าที่ปิดล้อม แนวร่วม ยาวนานถึง 3 วัน แต่ยังไม่สาสมารถที่จะ เคลียร์พื้นที่ ได้สำเร็จนั้น

ทั้ง 2 กรณีเป็นการ ค้นหา เป้าหมายของ ชป.จรยุทธ์ ว่า แนวร่วม ขบวนการบีอาร์เอ็นหลบซ่อนและเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งเป็นการ ค้นหา ในสถานการณ์ของการระบาดของ โควิด-19 ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานกับ สายข่าว ในพื้นที่ทำให้ทราบจุดหลบซ่อน หรือ เป้าหมาย จากการ สื่อสาร ของกลุ่ม แนวร่วม ที่ทำให้การ ค้นหา ประสบความสำเร็จหลายครั้ง

            แต่...สิ่งที่ยังไม่ประสบความสำเร็จคือ ยังไม่สามารถที่จะ จับเป็น แนวร่วมที่ถูก ปิดล้อม ได้ และสุดท้ายจำเป็นต้อง จับตาย เพื่อ ยุติ สถานการณ์มิให้ยืดเยื้อยาวนาน และเป็นการ จับตาย ที่ แนวร่วม ต้องการที่จะ พลีชีพ ด้วยการต่อสู้ ซึ่งเป็นไปตาม เจตนารมณ์ ของ นักสู้ ที่ต้องยอมรับว่ามี อุดมการณ์ ที่ไม่ยอม มอบตัว หรือการ จับเป็น ทั้งที่เจ้าหน้าที่เปิดโอกาสจนถึงที่สุด

            เป็นการ ยอมตาย เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับขบวนการบีอาร์เอ็น เพราะทุกศพที่ถูก จับตาย ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา มีการปฏิบัติการกับศพของผู้ตายที่เหมือนกัน นั่นคือ มีการอาบน้ำละหมาด ตายในสภาพไหนก็ฝังในสภาพนั้น มีผู้แห่แหนมาร่วมงาน แสดงความอาลัยด้วยการยกย่องให้เป็น ผู้กล้าหาญ มีการแห่ศพในสุสาน (กุโบร์) เยี่ยงผู้ตายเป็น วีรบุรุษ มีการตระโกน สรรเสริญ ผู้ตายไปตลอดทาง เหมือนกับการเป็นการตายด้วยการ พลีชีพ ในฐานะของ นักรบ ที่ต่อสู้ในเรื่องของ ศาสนา หรือ สงครามญิฮาด ในแผ่นดินแห่ง ดารุนฮารบี ทั้งที่สถานการณ์ของ 3 จังหวัด 4 อำเภอของ จ.สงขลา ไม่ใช่แผ่นดินแห่ง ดารุนฮารบี ตามการ ฟัตวา ของผู้นำและผู้รู้ในด้านศาสนา

            การ จับตาย ถ้าทำได้เจ้าหน้าที่ควรหลีกเลี่ยง ด้วยเหตุผลสำคัญคือ 1 การตายของ แนวร่วม และการปฏิบัติต่อศพของผู้ตายเช่นที่เขียนมา ผู้ที่ได้ประโยชน์ไม่ใช่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ไม่ใช่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ผู้ได้ประโยชน์ที่แท้จริงคือ ขบวนการ บีอาร์เอ็น เพราะผู้ที่เข้าร่วมงานศพส่วนใหญ่แสดงความโกรธแค้นไม่พอใจต่อเจ้าหน้าที่ ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายในเรื่องของ มวลชน การตายของ แนวร่วม ในลักษณะนี้แต่ละครั้งเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ให้กับบีอาร์เอ็น และสุดท้ายถ้ามีการ จับเป็น ก็จะได้ประโยชน์จากการ สืบสวนสอบสวน ผู้ถูกจับกุมได้ข้อมูลความลับที่ต้องการ

            ประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอคือ อะไรคือสาเหตุของการที่ แนวร่วม ซึ่งถูก ปิดล้อม ยอมถูก จับตาย มาจากอะไร ถ้ามาจากไม่ต้องการที่จะรับโทษในเรือนจำ เพราะในระยะหลัง หลักฐานทาง นิติวิทยาศาสตร์ เป็นหลักฐานที่ทำให้ศาลเชื่อถือและลงโทษผู้ถูกจับกุมได้มากกว่าการ ยกฟ้อง เหมือนกับในอดีตที่ต้องใช้ พยานบุคคล เป็นผู้เบิกความเอาผิดกับผู้ต้องหาก็เป็นเรื่องที่ดีไป      

            แต่...ถ้าการยอมให้ จับตาย หรือต่อสู้จนตัวตายมาจากการปลูกฝัง อุดมการณ์ จนยอมเสียสละชีวิต เพื่อแสดง เจตนารมณ์ ของการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดน ก็เป็นเรื่องที่ อันตราย อย่างยิ่งกับสถานการณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และต้องกล้าที่จะรับว่า บีอาร์เอ็น มีความก้าวหน้าในการสร้าง แนวร่วม สร้าง มวลชน ให้แข็งแกร่งมากขึ้น และถึงขั้นที่จะ พลีชีพ ให้กับขบวนการได้แล้ว

            และสิ่งที่ต้องมองต่อไปคือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะเอาชนะอย่างไร ต่อ ยุทธศาสตร์ ของบีอาร์เอ็น เพราะมีการทำความเข้าใจกับผู้นำศาสนา และผู้นำอื่นๆ เพื่อให้สร้างความเข้าใจในเรื่องการเสียชีวิตของ แนวร่วม ว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงในการปฏิบัติการ ในการปิดล้อม จับกุมแต่ที่ต้อง จับตาย เป็นเพราะผู้ตายไม่ยอมให้ จับเป็น และการเสียชีวิตของ แนวร่วม ทุกศพ เขาเป็นผู้มีความผิดเป็น อาชญากร ที่มีคดีติดตัวคนละหลายๆ คดี เช่น การฆ่าเจ้าหน้าที่ ฆ่าประชาชน วางเพลิง วางระเบิด คนตายไม่ใช่ วีรบุรุษ และไม่ใช่ นักรบ ใน สงครามศาสนา เห็น กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ทำมาหลายปี หมดเงินไปหลายล้าน แต่ปัญหาการ แห่ศพ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้ตายเป็น วีรบุรุษ นอกจากจะไม่ลดน้อยลง แต่กลับมากขึ้น และถ้ายังแก้เรื่อง โจร ให้เป็น วีรบุรุษ ไม่ได้ เท่ากับการดับ ไฟใต้ ก็จะไม่ได้ผล

            ส่วนกรณี แนวร่วม ใช้ ระเบิดแสวงเครื่อง ที่บ้านลางา ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่ง อ.จะนะ เป็น 1 ใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา ที่เป็นพื้นที่ สีแดง หรือเป็นพื้นที่ เคลื่อนไหว ของ แนวร่วม นั้น ที่นี่พยายามเขียนให้เห็นมาโดยตลอดว่า ณ วันนี้ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ยังมีการ เคลื่อนไหว ของ แนวร่วม ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะใน อ.จะนะ ในหลายตำบล เป็นที่ เคลื่อนไหว ในเรื่อง มวลชน ของ ปีกทางการเมือง ของบีอาร์เอ็น เพราะ เป้าหมาย คือโรงเรียนสอนศาสนา ส่วนหนึ่งในพื้นที่ และ แนวร่วม มีความพร้อมในด้าน การทหาร มีความเข้มแข็ง ทางการทหาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่รู้ดีว่า ใน ต.บ้านนา นั้นเป็นพื้นที่ สีแดง ที่หลัง พลบค่ำ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะหลีกเลี่ยงในการเข้าไปในพื้นที่

            แต่เพราะเจ้าหน้าที่บางฝ่ายบางคนไม่เชื่อ เพราะไม่ยอมรับความจริง ต้องการให้สังคมให้ กองทัพ ให้ รัฐบาล เข้าใจว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้สถานการณ์ดีขึ้น บีอารเอ็น ไม่มี แนวร่วม ถูก จำกัดเสรีภาพ ด้วยกองกำลังของ ปช.จรยุทธ์ จึงทำให้กำลังในพื้นที่ไม่เข้าใจสภาพของความเป็นจริงในพื้นที่ หละหลวม ต่อการป้องกันตนเอง เคยชินที่จะพักอยู่ตรงจุดที่ตนเองเคยพัก ไม่เคยรับรู้ ยุทธวิธี ของ แนวร่วม ว่าการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่รัฐมี แนวร่วม เกาะอยู่ข้างหลัง และพร้อมที่จะปฏิบัติการเมื่อมีความพร้อม เช่น เป้าหมายชัด โอกาสมี ทางหนีพร้อม” ฉะนั้น หลังการสูญเสียของเจ้าหน้าที่ที่บ้านลางาผ่านไปแล้วหลายวัน จึงยังหาร่องรอยของ แนวร่วม กลุ่มนี้ไม่ได้

            เพียงแต่สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของนายจีรศักดิ์ เพ็งเลาะ และนายศรัทธา อาแว ซึ่งเป็น แนวร่วม ในพื้นที่ อ.จะนะ และหากเป็นจริงก็แสดงว่า ณ วันนี้ แนวร่วม รุ่นที่ 3 ของ บีอาร์เอ็น ถูกบรรจุให้เป็น อาร์เคเค แทนที่ อาร์เคเค รุ่นพี่ที่ถูก ผ่องถ่าย ไปทำหน้าที่อื่นๆ เพราะมีคดีติดตามและถูกติดตามโดยเจ้าหน้าที่ และให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า สังเกตให้ดี จะเห็นว่าในช่วง 2560 เป็นต้นมา แนวร่วม ที่ถูก วิสามัญ และถูก จับกุม ตามหมาย ป.วิอาญา และหมาย พ.ร.ก. ส่วนใหญ่อายุจะอยู่ระหว่าง 28-35 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุ 40 ขึ้นไป ถูกจับกุมผู้วิสามัญน้อยลง นั่นยิ่งทำให้เห็นชัดถึงความ ล้มเหลว ของหน่วยงานความมั่นคงในการดับ ไฟใต้ เพราะไม่สามารถหยุดการนำ มวลชน เข้าสู่ขบวนการของ บีอาร์เอ็น ได้เลย

            ที่น่าเป็นห่วง วันนี้ใน 4 อำเภอของ จ.สงขลา ยังมีพื้นที่ซึ่งคนในพื้นที่ต้อง หยุดการทำงานในวันศุกร์ ตามคำขู่ของ แนวร่วม ขบวนการบีอาร์เอ็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึง อิทธิพล ที่สามารถควบคุมพื้นที่ ควบคุมมวลชนได้ แสดงให้เห็นถึงอำนาจรัฐที่ ล้มเหลว แต่ขาดการแก้ปัญหาที่ชัดเจน วันนี้ไม่เฉพาะพื้นที่ อ.จะนะ ที่ แนวร่วม ยังก่อการร้ายได้ แต่ใน 3 อำเภอที่เหลือ ถ้า แนวร่วม จะทำก็ได้ในทุกพื้นที่ นี่คือสภาพข้อเท็จจริงที่อาจจะถูก ปิดบัง เอาไว้

            จึงอย่าได้แปลกใจที่องค์กรกาชาดระหว่างประเทศ หรือ ไอซีอาร์ซี ยังไม่ถอนตัวจากพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะ ไอซีอาร์ซี รู้ดีและรู้ลึกกว่าหน่วยงานความมั่นคงของไทย ถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของ ไฟใต้ และมองเห็น พัฒนาการ ของ บีอาร์เอ็น วันนี้ ไอซีอาร์ซี จึงยอมที่จะลด บทบาท ทาง การเมือง มาทำงานด้านการพัฒนาชาวบ้านด้วยการ เลี้ยงปลาสลิด เคลื่อนไหวของบีอาร์เอ็น เพื่อรอโอกาสของการ แตกตัว ของ ไฟใต้ ที่ต้องมี คนกลาง เข้ามาเป็นผู้ จัดการ และปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด หน่วยงานความมั่นคง รู้ดี และ รู้ลึก รวมทั้ง รู้มาก กว่าที่ได้เขียนมา

            เพียงแต่มีการ อมพะนำ ข้อเท็จจริงเอาไว้ โดยทำงานแบบ รู้โจทย์ แต่ทำงานแบบ ไม่ตอบโจทย์ ของการดับ ไฟใต้ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม่จึงต้องทำอย่างนี้.

เมือง ไม้ขม รายงาน

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"