อุตฯที่ (อาจ) จะฟื้นตัว


เพิ่มเพื่อน    

เปิดครึ่งหลังของปี 2564 เป็นที่เรียบร้อย และในช่วงที่ผ่านมาสังคมไทยและคนในสังคมต้องพบเจอกับเรื่องราวต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะการเอาตัวรอดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นระลอกที่ 3 และถือว่าเป็นระลอกที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศ ตัวเลขของการติดเชื้อนั้นพุ่งขึ้นสูงหลักหลายพันคนในทุกวัน และมีบางช่วงที่ทะยานไปถึงหลักหมื่นคนเลยทีเดียว

          ซึ่งการระบาดครั้งนี้ยิ่งกระทบอย่างรุนแรงไปในทุกภาคส่วน รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมเอง แม้ที่ผ่านมาจะมีบางกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาก็จะเห็นแนวโน้มชัดเจนอย่าง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการแพทย์ อุตสาหกรรมยา หรืออุตสาหกรรมอาหาร ที่มีความโดดเด่นอย่างมาก แต่ก็มีหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจนต้องปรับตัวเองอย่างมาก หรือไปต่อไม่ไหวเช่นเดียวกัน

ขณะที่ในครึ่งปีหลังของปี 64 นี้ก็ยังพอที่จะสามารถคาดการณ์ทิศทางหรือแนวโน้มการเติบโตและฟื้นตัวได้ของหลายๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการส่งออก ทั้งนี้จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  จึงได้ทำการรวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกครึ่งหลังปี 64 ที่มีโอกาสจะฟื้นตัวได้ดี และมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์ในปัจจุบัน

           โดยได้แบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวตามตลาดโลก 2.อุตสาหกรรมที่โดดเด่นต่อเนื่องจากเทรนด์สุขภาพ 2.อุตสาหกรรมที่เติบโตในช่วงเวิร์กฟรอมโฮม และ 4.อุตสาหกรรมที่มีทิศทางเติบโตตามสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย

ซึ่งอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวตามตลาดโลก ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มนี้จะฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นตามการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมจำนวนประชากร โดยกลุ่มอาหารได้รับแรงหนุนจากราคาสินค้าเกษตรที่มีทิศทางที่ดีขึ้นและการมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นปรับแผนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น

อุตสาหกรรมที่โดดเด่นต่อเนื่องจากเทรนด์สุขภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (รวมถุงมือยาง) อุตสาหกรรมยา, อุตสาหกรรมสมุนไพร และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยกลุ่มนี้ได้รับแรงหนุนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหามลพิษต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น บำรุงร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย แนวโน้มของการเจ็บป่วยประเภทโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมถึงนโยบายที่สนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ จะช่วยเสริมทิศทางการเติบโตของกลุ่มเหล่านี้

        ส่วนด้านอุตสาหกรรมที่เติบโตในช่วงเวิร์กฟรอมโฮม ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งการเวิร์กฟรอมโฮมทำให้ผู้คนต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ที่เติบโตได้ดีตามการใช้ชีวิตในช่วงโควิด-19 ที่ต้องอยู่กับบ้าน

        และสุดท้ายคืออุตสาหกรรมที่มีทิศทางเติบโตตามสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย (กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์) ได้แก่ อุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ครัวเรือนและธุรกิจต่างๆ จะเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยในสินค้ากลุ่มสร้างสรรค์ และการตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ อย่างมาก จากความต้องการที่ถูกอั้นไว้ช่วงโควิด-19 เมื่อใดก็ตามที่มีการฟื้นตัวจึงนับเป็นโอกาสของสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ที่จะฟื้นตัวได้สูง

              เห็นได้ว่าจากแนวโน้มการวิเคราะห์ของ ส.อ.ท.ก็ยังมีโอกาสให้หลายๆ กลุ่มอุตสาหกรรมเร่งปรับตัวรับการเติบโตที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเชื่อว่าแม้จะมีวิกฤติหนักหนาแค่ไหน แต่ถ้าทุกธุรกิจมีการปรับตัวและเข้าใจความต้องการของตลาด ก็จะทำให้ยังคงสามารถมีโอกาสที่จะทำยอดขายได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"