'บิ๊กตู่' โพสต์เฟซบุ๊กโชว์ภาพปิดทองหลังพระ พร้อมสนับสนุนงานโครงการหลวง


เพิ่มเพื่อน    

8 ก.ค.64 - เพจเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha เปิดเผยรูปภาพ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กำลังนั่งเซ็นเอกสารในห้องทำงาน ซึ่งมีรูปภาพปิดทองหลังพระใส่กรอบอยู่ด้านหลัง โดยพล.อ.ประยุทธ์ โพสต์เมื่อช่วงค่ำเมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า มีการประชุมทางไกลของคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2512 เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสร้างอาชีพ-เสริมรายได้ ให้แก่คนพื้นที่สูง/ชาวเขา ชดเชยการปลูกพืชเสพติด (ฝิ่น) การทำไร่เลื่อนลอยที่ทำลายทรัพยากรป่าต้นน้ำ ด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะกับพื้นที่ ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรยั่งยืน ที่ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างสมดุล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราโชวาทให้ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” งานโครงการหลวงต่างๆ เนื่องจากการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนพื้นที่สูงเชื่อมโยงทั้งทางตรงและทางอ้อม กับคนพื้นที่ราบ และคนในเมือง ทั้งเรื่องยาเสพติด น้ำท่วม ฝนแล้ง และไฟป่า เป็นต้น

การประชุมเพื่อจัดทำแผนระยะ 5 ปีนี้ (พ.ศ.2566-2570) เป็นการบูรณาการกันของหน่วยงานราชการ เพื่อสนับสนุนงานโครงการหลวง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนพื้นที่สูงและพื้นที่ห่างไกล กว่า 215,503 คน 59,473 ครัวเรือน 500 กลุ่มบ้าน ใน 6 จังหวัดตอนบนของประเทศ ดำเนินการผ่านสถานี/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 39 แห่ง ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยยึดหลักการ “ระเบิดจากข้างใน” และการมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางร่วมกันกับชาวบ้านอย่างครบวงจร ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การตั้งสถาบันการเรียนรู้ การสร้างชุมชนต้นแบบ การสร้างระบบการบริหารจัดการกันเองที่เน้นธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม การส่งเสริมการพัฒนาผลิตผล/ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองการตลาดในปัจจุบัน และการสนับสนุนอาชีพเสริมเพื่อกระจายรายได้สู่ครัวเรือนที่เน้นกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการต่อยอดภูมิปัญญาดั่งเดิมในแต่ละพื้นที่ อีกด้วยครับ

ยิ่งกว่านั้น แนวคิดในการพัฒนาไม่ได้จำกัดเพียงการพัฒนาเฉพาะแต่ละพื้นที่ แต่จำเป็นต้องให้เกิดความเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ จากพื้นที่สูงสู่พื้นที่ราบ สู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ และไปสู่ต่างประเทศ หรือจาก 500 กลุ่มบ้านเดิม ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ ไปสู่กลุ่มพื้นที่พัฒนา 616 กลุ่มบ้าน (8 จังหวัด) และขยายผลต่อเนื่องไปยังพื้นที่ใหม่อีก 2,114 กลุ่มบ้าน (18 จังหวัด) ก็จะครอบคลุม 3,230 กลุ่มบ้าน (18 จังหวัด) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 76.82 ของพื้นที่สูงของไทย (จากทั้งหมด 4,205 กลุ่มบ้าน ใน 20 จังหวัด ตอนบนของประเทศ) ซึ่งการเชื่อมโยงที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม (เครือข่าย/ระบบโลจิสติกส์) สำหรับการขนส่งผลผลิตในชุมชนสู่ตลาดนอกชุมชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (เครือข่ายอินเตอร์เน็ตชุมชน) สำหรับเชื่อมความรู้ การท่องเที่ยว และตลาดออนไลน์ เป็นต้น โดยจะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ จะเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ซึ่งปลายทางของเราคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตและการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนพื้นที่สูง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง บนแนวคิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่การอยู่ดีมีสุข ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นะครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"