6 ก.ค.64 - นายสุริยะใส กตะศิลา คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง "อุทาหรณ์โรงงานระเบิด…กับการขยายตัวความเป็นเมือง(Urbanization)" โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทันทีที่โรงงานพลาสติกย่านกิ่งแก้วแถวบางพลี เกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้เป็นวงกว้างจนต้องต้องอพยพประชาชนละแวกนั้นกันจ้าละหวั่นข้ามคืน
เพลิงไฟยังไม่สงบสังคมได้ตั้งคำถามทันทีว่าโรงงานไปอยู่ท่ามกลางชุมชนหรือชุมชนไปอยู่ข้างโรงงานได้อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย?
เราได้ยินคำอธิบายจากผู้เกี่ยวข้องว่าโรงงานนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2532 ตั้งแต่ที่นั่นเป็นเพียงทุ่งนากว่า ภายหลังผู้คนจึงอพยพมาตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย บ้านพัก บ้านจัดสรร คอนโดฯ ออฟฟิศตามมาทีหลัง
ฟังแล้วเหมือนต้องทำใจ หาคนผิด คนรับผิดชอบไม่ได้เลยหรือ !!!
ไม่เพียงแต่ตื่นตะลึงกับโรงงานระเบิดครั้งนี้ แต่จากข้อมูลชวนขนหัวลุกเข้าไปอีกเมื่อพบว่า เหตุการณ์ระเบิดครั้งนี้ทำให้โรงงานโดยรอบต้องปิดตัวและหยุดเดินเครื่องจักรอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีการประเมินความเสี่ยงจากเจ้าหน้าที่ว่ามีความปลอดภัยแล้ว แบ่งเป็นรัศมี 5 กิโลเมตร มีโรงงานอุตสาหกรรม 301 โรงงาน รัศมี 7.5 กิโลเมตร มี 257 โรงงาน ส่วนรัศมี 10 กิโลเมตร มี 562 โรงงาน ส่วนชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร มี 243 ชุมชน
ทำให้เกิดคำถามตามมาอีกว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นอีกแค่ไหน? อย่างไร?
ประเด็นที่พึงพิจารณาเร่งด่วน คือการทบทวนการออกใบอนุญาตตั้งโรงงาน ต้องมีเงื่อนไขที่รัดกุมและสอดคล้องกับบริบทของสังคมเมืองที่เปลี่ยนไป ส่วนผู้ที่ครบครองใบอนุญาตเดิม ถ้าจำเป็นต้องทบทวนก็ต้องดำเนินการ ไม่ใช่ปล่อยตามีตามเกิดหรือการสั่งทำ EIA EHIA กันใหม่ หรือทำเพิ่มเติมก็ต้องทำ หรือจะประเมินความเสี่ยงกันและพูดความจริงกับปนะชาชนที่อยู่ใกล้เคียงก็ต้องทำเช่นกัน
แน่นอนแว๊บแรกที่เห็นหน้าลอยมาก็คงเป็นเจ้าเก่ากรมผังเมืองเอย กรมโรงงานเอ่ย แต่ก็ดูเหมือนเป็นปลายเหตุไปเสียแล้ว ตราบใดที่เรายังไม่สามารถกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองรอบปริมณฑลให้ลงตัว
“ความเป็นเมือง” ที่ยังพล่ามัว จนแยกไม่ออกระหว่างบ้านกับโรงงาน ประเภทและลักษณะเฉพาะ หรือการคาดการณ์การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ซึ่งวิถีของคนเมืองที่เปลี่ยนไปจากกระจุกตัวในเมืองย้ายมาอยู่อาศัยนอกเมืองจนทับซ้อนพื้นที่ของโรงงานเดิมไปแล้ว
โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เช่นนี้ ความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจและอาชีพยิ่งจะทำให้ความเป็นเมืองเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่าง เปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางไปโดยสิ้นเชิง
อุทาหรณ์จากเรื่องนี้สะเทือนไปถึงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะเปลี่ยนผ่านจากไทยแลนด์ 3.0 จากอุตสาหกรรมหนักสู่ไทยแลนด์ 4.0 อุตสาหกรรมที่พึ่งพิงเทคโนโลยีดิจิตอลเราจะเปลี่ยนผ่านที่ไม่ไปสร้างปัญหาใหม่ได้อย่างไร
ใครจะเป็นเจ้าภาพกันบ้าง ภาครัฐเตรียมพร้อมหรือมีนโยบายรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะต้องแลกด้วยความสูญเสียมหาศาลกับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้อย่างไร?
อย่าทิ้งความผิดพลาดในอดีตไว้ให้คนรุ่นหลังต้องแบกรับซ้ำแล้วซ้ำเล่าเลยครับ…
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |