ปัญหาสัตว์เลี้ยงไร้บ้านเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาที่ยังคงอยู่ในสังคมไทยอยู่เรื่อยมา เรามักเห็นสัตว์เลี้ยงถูกทอดทิ้งตามท้องถนนและต้องใช้ชีวิตแบบไม่มีใครดูแล ปัญหาสัตว์เลี้ยงไร้บ้านยังคงเป็นปัญหาระดับประเทศซึ่งควรเร่งแก้ไขในเร็ววันจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน
กาณต์นภัส อัศวเฉลิมพล หนึ่งใน ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเดอะวอยซ์ (เสียงจากเรา) ร่วมกับ"คุณเก๋" ชลลดา เมฆราตรี ดารานักแสดงชื่อดัง ซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อสวัสดิภาพที่ดีสำหรับสัตว์เลี้ยง เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาสัตว์เลี้ยงไร้บ้านสามารถแก้ไขได้ผ่านความร่วมมือของคนกลุ่มคนรักสัตว์ ชุมชน ภาคเอกชน และรัฐบาลผ่านการผลักดันนโยบายและกฏหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย รวมไปถึงการผลักดัน 4 เสาหลักในการดำเนินงานของมูลนิธิอันได้แก่ การทำหมัน กฏหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยง เสริมสร้างความร่วมมือในชุมชน ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้เลี้ยง ซึ่งจุดนี้เองที่มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ (ส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ มาร์ส เพ็ทแคร์) ก็กำลังผลักดันอยู่เช่นเดียวกันคือโครงการ Better Cities For Pets หรือ เมืองที่น่าอยู่ขึ้นสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่มีการรณรงค์ถึงการเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ ส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสัตว์และสร้างการยอมรับต่อสุนัขและแมวทุกประเภทอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผลักดันการแก้ปัญหาด้านสัตว์เลี้ยงไร้บ้านไม่ได้มีเพียงองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงปัญหาเดียวกันนี้
ที่ผ่านมา มูลนิธิให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เรื่องความรับผิดชอบ ความเหมาะสม และสนใจให้ความรู้เกี่ยวกับนิสัยและพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแต่ละพันธุ์มาก เพราะว่าทางมูลนิธิฯ เข้าใจถึงเบื้องหลังการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงว่าผู้เลี้ยง มักไม่เห็นถึงความสำคัญของการเลือกสัตว์เลี้ยงให้เหมาะสมแต่เลือกเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพราะรูปลักษณ์ที่น่ารักของสัตว์เลี้ยง และความนิยมในช่วงนั้นๆ โดยไม่ได้ศึกษาหรือคำนึงความเป็นตัวตนของสัตว์เลี้ยงแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงข้อจำกัดของตนเอง จนสุดท้ายก็ต้องทิ้งในที่สุด ตัวอย่างที่พบได้บ่อยที่สุดในช่วงหลังนี้คือการทอดทิ้งสุนัขพันธุ์ Siberian Husky ซึ่งเหตุผลหลักเกิดจากการที่สภาพแวดล้อม เช่น พื้นที่บ้านไม่เอื้อ ไลฟ์สไตล์และนิสัยของเจ้าของนิสัยของสัตว์เลี้ยงที่ต้องการการออกกำลังกาย เมื่อไม่ได้รับสิ่งเหล่านั้นสัตว์เลี้ยงอาจเครียดทำแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ออกมา "
งานของมูลนิธิฯ ยังขยายไปถึงการจัดตั้งความร่วมมือกับชุมชนเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน และช่วยเหลือให้สัตว์เลี้ยงได้อยู่ในชุมชนอย่างสงบสุข เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่ากับจำนวนสัตว์เลี้ยงไร้บ้านที่มีอยู่ในปัจจุบันเราไม่สามารถเก็บสัตว์เลี้ยงไร้บ้านทุกตัวได้ ฉะนั้นการร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างการยอมรับและช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงไร้บ้านในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นให้มีที่นอนที่ปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่ช่วยลดปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง นอกเหนือจากนี้มูลนิธิฯ เข้าใจว่าต่อให้ในสังคมมีจำนวนผู้รักสัตว์เลี้ยงมากเพียงใดก็ยังมีกลุ่มที่ไม่ชอบหรือกลัวสัตว์เลี้ยงเช่นกัน ดังนั้นการร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างกฏเกณฑ์การดูแลสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ไม่ให้มีปัญหากับคนอื่นๆ ในชุมชนย่อมเป็นสิ่งสำคัญ
“การสร้างการยอมรับให้แก่สังคมส่วนรวมเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากเราสามารถทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่เปิดรับสัตว์เลี้ยงได้นั้น มันก็เป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่สัตว์เลี้ยงได้ รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ที่ยอมเปิดพื้นที่ หรือมีพื้นที่เฉพาะให้กับเจ้าของที่พาสัตว์เลี้ยงออกมาใช้เวลาชีวิตร่วมกัน เพราะหากเจ้าของและสัตว์เลี้ยงสามารถใช้ชีวิตร่วมกันบนมาตรฐานเดียวกันเช่นเดียวกับแม่ที่มีลูก ก็จะก่อให้เกิดจิตสำนึกในการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงหนึ่งตัว ให้รู้สึกว่านี่ไม่ใช่เพียงสัตว์เลี้ยง แต่เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว และเป็นอีกหนึ่งชีวิตที่ต้องดูแลเมื่อรับมาเลี้ยงดูแล้ว จะไม่ทอดทิ้งง่ายๆ และทำให้คนที่คิดจะอยากเลี้ยงสัตว์ในอนาคตไตร่ตรองให้ดีก่อนตัดสินใจรับหนึ่งชีวิตเข้ามาในครอบครัว” คุณแต้ว กาณต์นภัส กล่าว
ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ เห็นว่าการสื่อสารกับภาคประชาชนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอจึงได้ขยายการทำงานให้รวมถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อผลักดันให้ภาครัฐออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงให้คลอบคลุมขึ้น โดยเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งและควรครอบคลุมไปถึงการควบคุมฟาร์มเพาะสัตว์เลี้ยง อีกทั้งเข้ามาจัดตั้งกฏเกณฑ์หรือข้อกำหนดพื้นฐานที่ประชาชนผู้สนใจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงต้องมีเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงจากการถูกทอดทิ้งหรือกำหนดบทลงโทษให้มีความชัดเจนเพื่อลดปัญหาดังกล่าว
"สัตว์เลี้ยงทุกตัวไม่ได้ต้องการเพียงอาหารแต่เขายังต้องการความรัก การดูแลและการเอาใจใส่ เราจึงได้ริเริ่มโครงการ Better Cities for Pets เพื่อลดปัญหาสัตว์เลี้ยงไร้บ้านอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยงผ่านการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์อย่างรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้สัตว์เลี้ยงได้มีโอกาสเจอบ้านที่รักเขาอีกครั้งผ่านการรณรงค์ให้คนเลือกอุปการะสัตว์เลี้ยงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเปิดโอกาสให้สัตว์เลี้ยงได้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตมากกว่าเดิมเพราะการที่เขาได้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตนั้น จะสามารถช่วยสร้างความผูกพันระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง อีกทั้งส่งเสริมให้สัตว์เลี้ยงเป็นเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดในแบบของเขา”
คุณแต้วเสริมและว่า “โครงการ Better Cities for Pets เป็นอีกหนึ่งโครงการที่หากทำให้ประสบความสำเร็จได้ อาจช่วยยกระดับวงการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย หากคนทั่วไปสามารถพาสัตว์เลี้ยงออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเจ้าของได้ อาจทำให้คนตระหนักได้ว่าการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็ไม่ต่างจากคนที่ต้องการความรักและความเอาใจใส่ และเมื่อสัตว์เลี้ยงของเราไม่สามารถเติมเต็มส่วนนั้นด้วยตัวเองได้มันก็เป็นความรับผิดชอบเราเจ้าของสัตว์เลี้ยง หากใครกำลังตัดสินใจเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอยู่ มูลนิธิฯ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าได้มีการไตร่ตรองดีแล้วก่อนตัดสินใจรับสัตว์มาเลี้ยงและจะดูแลรับผิดชอบสัตว์เลี้ยง ไม่ทิ้งสัตว์เลี้ยงง่ายๆ ในยามลำบาก”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |