4 ก.ค.64 - นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการร์การระบาดโควิด-19 และการสั่งจองวัคซีนซิโนฟาร์ม จำนวน 1 แสนโดส จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่า เรื่องนี้วัคซีนทางเลือกคงต้องรอการจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขณะนี้ยังไม่ได้คงต้องรอการจัดสรรก่อน ส่วนตัวคิดว่าราชสิทยาลัยจุฬาภรณ์คงต้องแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆก่อน อีกส่วนค่อยดำเนินการจัดสรรให้ท้องถิ่นตามลำดับ และเมื่อได้วัคซีนมาแล้วทางจังหวัดก็จะดำเนินการจัดสรรให้แต่ละอำเภอต่อไป
นายกอบชัย ระบุว่า แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะได้จำนวนกี่โดสตามที่จองไป ในจังหวีดนครราชสีมามีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน 2 ยี่ห้อ ผลของการฉีดเป็นไปด้วยดียังไม่มีประชาชนหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงแต่อย่างใด และหวังว่าจะได้รับวัคซีนเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนได้รับวัคซีนไปแล้ว ประมาณ 240,000 คน คิดเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชาชน แผนการในการฉีดวัคซีนในเดือนกรกฏาคม ตั้งเป้าไว้ 70,000 คน ที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน สำหรับพื้นที่ที่ต้องจับตามองและเฝ้าระวังจากการเดินทางเข้ามาในพื้นที่ ทั้งในส่วนของประชาชนและแรงงาน คงเป็นในพื้นที่อำเภอใหญ่ๆที่น่าเป็นห่วง เช่น อ.เมือง อ.โชคชัย อ.โนนสูง อ.สีคิ้ว อ.ปากช่อง ดังนั้นจึงต้องมีการคุมเข้มมาตรการอย่างจริงจังสำหรับประชาชน แรงงานที่เดินทางมาทั้งจังหวัด
ด้านนายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ทาง อบจ.นครราชสีมา ได้ทำการสั่งจองวัคซีนไปยังราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 1 แสน โดส ซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ยังไม่ได้ยืนยันการจอง ของทาง อบจ.นครราชสีมา นอกจาก อบจ.นครราชสีมาแล้วยังมีอีกหลายท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับการจองเช่นกัน จากการสอบถามไป เบื้องต้น ทาง อบจ.นครราชสีมา ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้กำหนดเอาไว้ โดยจะต้องรายงานการจัดสรรวัคซีนให้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้รับทราบว่าจะจัดสรรวัคซีนให้กับประชาชนอย่างไรบ้างในจังหวัดนครราชสีมา หลังจากได้นับการจัดสรรวัคซีนที่สั่งซื้อ ซึ่งตรงนี้ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้นำรายงานการจัดสรรวัคซีนเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมโรคติดต่อจังหวัดแล้วเมื่อวันที่ 30 มิย.ที่ผ่านมา และจะมีการรายงานต่อ ศบค.ใหญ่ ที่ กทม.ทราบ เพื่อที่จะได้นำรายงานฉบับนี้ส่งให้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ต่อไป ตามขั้นตอนที่กำหนด
นายวีระชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้งบประมาณในการจัดซื้อวัคซีน จำนวน กว่า 88 ล้านบาทนั้น ทาง อบจ.นครราชสีมา ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณแต่อย่างใด เพราะว่าตามระเบียบที่กรมฯ แจ้งมาสามารถใช้เงินสะสมในการดำเนินการได้ ซึ่งทาง อบจ.นครราชสีมา มีเงินสะสมเพียงพอที่จะดำเนินการ เพียงแต่ตอนนี้ติดที่ขั้นตอนของทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เอง
นายวีระชาติ กล่าวว่า ซึ่งมีขั้นตอนที่ขัดต่อระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างอยู่ นั่นคือ ครั้งแรกที่ทางราชวิทยาลัยฯกำหนดว่า จะต้องมีการบริจาค 10 เปอร์เซ็นต์ กลับคืนให้กับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อทางราชวิทยาลัยฯจะนำไปจัดสรรให้กับผู้ด้อยโอกาส ตรงนี้เป็นการขัดต่อระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของท้องถิ่น ซึ่งหากซื้อจำนวน 100,000 ดโดว และบริจาคคืนกลับไป 10,000 โดส ทางท้องถิ่นจะได้วัคซีนเพียง 90,000 โดส ก็จะเท่ากับว่าท้องถิ่นได้วัคซีนไม่ครบ พอได้ของไม่ครบคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างก็มีปัญหาทันที เรื่องนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำลังพิจารณาปรับแก้ให้กับทางท้องถิ่นอยู่
วันเดียวกัน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ได้ชี้แจงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ล่าสุดพบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มอย่างรวดเร็วไปถึง 77 ราย กระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอ รวม 31 อำเภอจากที่มี 32 อำเภอ ผู้ป่วยรายใหม่ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากการสัมผัสผู้ป่วยรายก่อนหน้า และเป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง รวมยอดผู้ป่วยระลอกใหม่สะสม 1,435 ราย รักษาหายแล้ว 999 ราย ยังรักษาตัวอยู่ 418 ราย และเสียชีวิต 17 ราย
นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับการประสานจากประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา จำนวนกว่า 40 ราย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดพื้นที่เสี่ยง และป่วยติดเชื้อโควิด-19 ว่า ต้องการกลับมารักษาตัวที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ประสานงานไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงดังกล่าว และสามารถหาเตียงรักษาให้กับผู้ป่วยได้แล้ว 10 ราย ส่วนผู้ป่วยที่เหลือขณะนี้กำลังประสานงานอยู่ ซึ่งหากหาเตียงผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงไม่ได้ก็จะดำเนินการประสานให้กลับมารักษาตัวโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาต่อไป
นายแพทย์เจษฎ์ ระบุว่า ส่วนสถานการณ์เตียงตึงของผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาขณะนี้มีจำนวนผู้ป่วยเตียงตึงแน่นเต็มแล้ว ทางโรงพยาบาลจึงแก้ไขปัญหาได้ปรับรูปแบบอาคารผู้ป่วยที่อาคารผู้ป่วยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 3 ชั้น พร้อมนำเตียงผู้ป่วยเดิมออก แล้วใช้ฟูกทำเป็นที่นอนแทน เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยเดิมจากห้องละ 2 เตียง เป็นห้องละ 3 เตียง ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ในอนาคตอันใกล้นี้คาดว่าโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาจะเกิดปัญหาเตียงผู้ป่วยหนักไม่เพียงพออย่างแน่นอน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |