เรื่องราวไม่เคยรู้"รังสิต"เคยเป็น" ทุ่งล่าสมัน" สัตว์สูญพันธุ์ของไทย


เพิ่มเพื่อน    

"สมัน"ที่คนรุ่นปัจจุบัน เห็นได้แต่ภาพถ่าย หรือรูปปั้นในนิทรรศการ เพราะสูญพันธุ์ไปแล้ว


4ก.ค.64-การรุกราน และคุกคามชองมนุษย์ ที่มีต่อสัตว์ป่า มีมานานแล้ว และนับตั้งแต่มนุษย์ขยายเผ่าพันธุ์  มีการตั้งบ้านเรือนถิ่นฐาน มีความต้องการใช้พื้นที่ทำการเกษตร ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ไปจนถึงอุตสาหกรรมอย่างทุกวันนี้ ก็ทำให้พื้นที่ป่าลดหดหายลงไปเรื่อยๆ   และตั้งแต่ยุคบรรพกาล สัตว์ป่าก็เป็นฝ่ายถูกล่าเพื่อมาเเป็นอาหารของมนุษย์  ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สัตว์ป่าในธรรมชาติลดน้อยลง มีสัตว์มากมายหลายชนิดที่สูญพันธุ์ไป  ในสถานการณ์ปัจจุบันสัตว์บางชนิดก็สุ่มเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง  


ในประเทศไทยเอง ก็มีสัตว์ประจำถิ่นสูญพันธุ์มาแล้ว นั่นก็คือ " สมัน "ซึ่งเป็นกวางชนิดหนึ่ง มีอีกชื่อหนึ่งว่า "กวางเขาสุ่ม"  มีลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ ดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลกซึ่งได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เพราะทั้งเนื้อ และเขาของสมัน เป็นที่ต้องการของคนอย่างมาก สมันจึงถูกล่าไปเป็นอาหาร และนำเขาไป

ประดับตามบ้านเรือนจำนวนมาก เและสมันในธรรมชาติตัวสุดท้าย ได้ถูกยิงตายจากนักล่าเมื่อ พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดกาญจนบุรี และความหวังที่จะมีสมัน หลงเหลือในประเทศไทย สูญสิ้นไป เมื่อสมันที่ถูกเลี้ยงในวัดแห่งหนึ่งในตำบลมหาชัน จังหวดสมุทรสาคร ได้ถูกชายขี้เมาตีตาย เมื่อ พ.ศ. 2481  

เรื่องราวสมันตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ สร้างความรู้สึกสูญเสีย และสะเทือนใจให้กับคนไทยอีกหลายคนที่ไม่นิยมบริโภคสัตว์ป่า  คนรุ่นหลังที่ไม่เห็นสมัน ก็รู้สึกเสียดายและเสียใจกับชะตากรรมของสมัน  หลายเสียงบอกว่าเป็นบทเรียนที่คนในประเทศจะต้องหันมาใส่ใจการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้

ต่อมาข่าวคราวของสมัน ยังปรากฎประปราย ในพ.ศ. 2534 มีรายงานว่าพบซากเขาสมันสด ขายในร้านขายยาใจกลางเมืองพงสาลี และแขวงหลวงพระบาง ทางภาคเหนือของลาว ทำให้สันนิษฐานว่าอาจจะมีสมันหลงเหลืออยู่ในประเทศลาว แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเพียงพอ แต่หลังจากนั้น ก็ไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับการปรากฎตัวของสมันให้เห็นอีก  

"ปลากดหัวผาน"ที่น่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว


 กว่า 90 ปีที่สมันธรรมชาติสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย แต่บทเรียนจากเรื่องราวของสมัน กลับไม่ได้มีผลต่อสัตว์ชนิดอื่น    ในช่วงระหว่างนี้    ในประเทศไทยยังมีสัตว์ที่สูญพันธุ์ หรือล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดง ของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) อีกหลายชนิด อาทิ  "ปลากดหัวผาน" ในไทยมีรายงานว่า ไม่พบในไทยมาไม่น้อยกว่า  20 ปี  โดยคาดว่าผลจากการทำเขื่อนแถวบางปะกง มีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของปลากดหัวผาน

 

"ปลาฉนาก "ที่พบในอดีต (เครดิตภาพจาก วิกีพีเดีย)


"ปลาฉนาก" เป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่ง ที่น่าจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วเช่นกัน ตามข้อมูลปากของปลาฉนากที่มีลักษณะเป็นเหมือนใบเลื่อยยาว คล้ายดาบ เป็นที่ถูกใจของมนุษย์มาก และล่าปลาขนิดนี้เพื่อนำกระดูกช่วงปากมาทำเป็นอาวุธ  จากการสืบค้นพบว่า มีการใช้คำว่า"ในอดีต"เคยมีรายงานการพบปลาฉนากไกลถึงแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ]และบึงบอระเพ็ด ในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วย ส่วนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปลาฉนากพบได้ในตำบลคลองฉนาก  สะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบันอาจไม่พบปลาชนิดนี้แล้ว  และจากการสืบค้นภาพ พบรูปของปลาฉนากที่อควาเรียม จ.ภูเก็ต แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นภาพเก่่าหรือปัจจุบัน

 
หรือจากเหตุการณ์สังหาร เสือดำ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเสือดำ ถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายของไทย ที่เหลือจำนวนเพียง 15 ตัว ได้ปลุกกระแสการอนุรักษ์ และเข้มงวดในข้อกฎหมายมากยิ่งขึ้น  

 


นอกจากนี้ ยังมีส่วนสัตว์ที่สุ่มเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด เช่น ปลาซิวสมพงษ์ หรือ นกกระเรียน   ฯลฯ  ทำให้เมื่อเร็วๆนี้ ทาง "วารินแล็บ คอมเท็มโพรารี "ซึ่งเป็นหอศิลปะกรเอกชน ซึ่งเคยจัดแสดงนิทรรศการ Reincarnations III โดยศิลปินเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล ที่ต้องการสื่อสารถึงประเด็นเรื่องของสัตว์สูญพันธุ์ในประเทศไทย      ได้ร่วมมือกับ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “คืนชีวิต คิดเผื่อธรรมชาติ” ที่มีวัตถุประสงค์ให้สังคมตระหนักถึงสัตว์สูญพันธุ์และใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย ที่เกิดจากการรุกรานถิ่นอาศัยจากมนุษย์    

ดร.ชวลิต วิทยานนท์


ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้านปลาและสัตว์น้ำจืด ได้เล่าถึง ปลาซิวสมพงษ์ หนึ่งในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ว่าปลาซิวสมพงษ์  ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว จากการปะปนอยู่กับปลาซิวอื่นๆ ปลาซิวสมพงษ์ จัดว่าเป็นสัตว์น้ำชนิดใหม่ของโลก  อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง 1 ใน 100 ของโลก จากที่มีการพบว่าปลาชนิดนี้  ยังมีชีวิตในตู้ปลา หรือร้านขายปลาในเยอรมัน  

"ปลาซิวสมพงษ์ "เป็นปลาที่ตั้งชื่อตาม สมพงษ์ เล็ก อารีย์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกปลาสวยงามชาวไทย จากข้อมูลพบว่าแหล่งถิ่นอาศัยเดิมอยู่ที่ลุ่มน้ำแม่กลองตอนล่าง ซึ่งเป็นระบบนิเวศแบบทุ่งนาน้ำท่วมหรือพลุนิดๆ แต่ด้วยมีการทำนา และมีการใช้สารเคมี มลภาวะเยอะรวมไปถึงการพัฒนาในพื้นที่ ทำให้ปลาซิวในแถบนั้นสูญพันธุ์ไปหลายสายพันธุ์  

ปลาซิวสมพงษ์


นักวิชาการกล่าวต่อว่า ส่วนปลาซิวสมพงษ์ มีการพบในลุ่มน้ำบางปะกงตอนกลาง แถบจังหวัดนครนายก ปัจจุบันเป็นพื้นที่ ที่มีเจ้าของเกือบหมด ยกเว้นพื้นที่สาธารณะแถวทุ่งใหญ่ปากพลี  ที่ชุมชนบางพลีพยายามช่วยกันดูแลอนุรักษ์  ซึ่งคาดว่ามีประชากรปลาซิวสมพงษ์หลงเหลือเพียง 1% จากที่เคยมีมาทั้งหมด  การขยายพันธุ์ของปลาชนิดนี้ จะขึ้นมาวางไข่และฝักตัวในช่วงหน้าน้ำ แต่ในช่วงหน้าแล้งยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามันไปอาศัยอยู่ที่ไหน ซึ่งมีการคาดว่าอาจจะอาศัยอยู่ใต้ดิน ซึ่งก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม  

 “สำหรับแนวทางอนุรักษ์ที่อยากจะให้เป็นไปตามธรรมชาติ และทางเลือกสุดท้ายคือการเพาะเลี้ยง แล้วปล่อยคืนธรรมชาติ นอกจากนี้ ที่ทุ่งปากพลียังพบปลาชนิดอื่นๆ เช่น  ปลากัดบางคล้า และปลากัดบางปะกง ลุ่มน้ำบางปะกง ยังมีปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากการสร้างเขื่อนแถวบ้านโพธิ์  ซึ่งทำให้คุณภาพน้ำแย่ลง คือ ปลากดหัวผาน และปลาฉนาก แต่ยังมีอยู่ในประเทศอื่น” นักวิชาการ กล่าว  


ดร.ชวลิต ยังได้เล่าถึงสมัน ซึ่งแต่ก่อนเรียกเพียงสั้นๆว่าเนื้อ ในอดีตมีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทย แถบทุ่งรังสิตจำนวนมาก ซึ่งเดิมแล้วทุ่งแห่งนี้เป็นที่ราบกว้าง มีสภาพเป็นป่าดงดิบ ทุ่งหญ้าผสมป่า และยังเป็นแหล่งที่ช้างหรือสัตว์ป่าอื่นๆทั้งจากเขาใหญ่และทุ่งใหญ่นเรศวรเดินทางไปมาหากันได้ โดยหลังจากช่วงรัชกาลที่ 5-6 มีการเปิดพื้นที่พัฒนาทำชลประทานให้ประชาชนได้ทำนา และมีการจับจองพื้นที่ราบภาคกลางไปทั้งหมด 99.99% เหลือเพียงรอบๆบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ลุ่มน้ำบางปะกง รอบทุ่งปากพลีที่ยังเหลือพื้นที่ธรรมชาติ  

 

“ทั้งนี้ในกรุงเทพฯ แถบลาดพร้าว ซอยภาวนา ในอดีตพื้นที่นี้เคยมีการล่าสมัน เพราะช่วงน้ำท่วม มันจะหนีขึ้นไปยังที่ดอน และชาวบ้านก็จะขี่ควายมาล่า หรือการนำเขากวางมาสวม เพื่อล่อสมัน พอล่าสมันได้แล้ว ก็นำหลับไปทำเป็นอาหาร ซึ่งก็คือเนื้อสวรรค์ แต่ปัจจุบันมีการนำเนื้อวัวมาทำแทน ทั้งนี้สมันตัวสุดท้ายในประเทศนั้นมีการเล่าว่าถูกตีตาย โดยสมันตัวนี้ถูกเลี้ยงเอาไว้ที่วัดในจังหวัดสมุทรสาคร มีเรื่องเล่าว่าพระยาวินิจวนันดรได้เห็นและอยากนำกลับมาเลี้ยงที่เขาดินเพื่อเพาะพันธุ์ แต่ก็สายไปเพราะมีคนขี้เมา ได้เอาไม้ตีตายไปซึ่งอยู่ในช่วงปี 2480  จึงเป็นเหตุให้สมันตัวสุดท้ายที่เลี้ยงไว้สูญพันธุ์  ดังนั้นสัตว์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบนิเวศหากถูกทำลาย ก็จะทำให้เกิดปัญหาที่พบเจอได้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นฝุ่น น้ำเสีย สิ่งสำคัญคือการบูรณาการและสื่อสารให้เกิดความตระหนักทั้งกับประชาชน และหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการร่วมดูแลอนุรักษ์” ดร.ชวลิต เล่าถึงสมันตัวสุดท้าย  

ศิลปินเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล

ด้านศิลปินเรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล ที่ได้นำเสนอผลงานศิลปะ สมัน เล่าว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นเหมือนการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ของทุ่งหญ้ารังสิตที่มีสมันอาศัยอยู่ แต่เหลือเพียงเขาซากความทรงจำที่ให้เห็นเท่านั้น ซึ่งตนได้เคยเห็นสมันตัวจริงแล้วที่ประเทศฝรั่งเศส ทำให้เราได้ตระหนักและคิดว่าน่าเสียดายที่มันไม่ได้อยู่ที่ไทย ดังนั้นการสร้างผลงานจากวัสดุในพื้นที่จากเศษวัสดุการก่อสร้างต่างๆ ที่นำมาจากทุ่งรังสิต เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงส่วนหนึ่งของการทำให้สมันสูญพันธุ์ ฉนวนที่สำคัญของผลลัพธ์ส่งต่อให้คนในพื้นที่ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่แถบนั้นหรือคนรุ่นใหม่ได้ต่อยอดความคิดอนุรักษ์ แน่นอนว่าการสูญพันธุ์ของสิ่งต่างๆก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา  แล้วเราในฐานะคนที่อยู่ในยุคที่พัฒนาแล้วได้เห็นอะไรจากการพัฒนานี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ หรือการถ่ายถอดความรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

บริพัตร ศิริอรุณรัตน์



บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ ประธานกรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว  หนึ่งในทีมโครงการนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยกว่า 50 ปี กลับมามีชีวิตได้อีกครั้งที่ จ. บุรีรัมย์ กล่าวว่า กรมป่าไม้ได้มีการพยายามนำนกกระเรียนกลับมาประเทศไทย โดยได้ไข่หรือลูกเจี๊ยบมาจากแถบชายแดนเขมร เพื่อเพาะพันธุ์พ่อแม่นกกระเรียน จนสามารถขยายพันธุ์ได้ ซึ่งเป็นสัตว์ชนิดแรกที่เลี้ยงในพื้นที่สวนสัตว์โคราช และเป็นสวนสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในการะเพาะเลี้ยงนกกระเรียนพันธุ์ไทย ดังนั้นเมื่อทีมในการดูแลเพาะพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยจนกระทั่งเชี่ยวชาญในการเลี้ยง และมีแนวทางในการปล่อยนกกระเรียนคืนสู่ธรรมชาติ ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ดังนั้นเมื่ออยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์ สิ่งสำคัญคือชุมชนที่เข้มแข็งและตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ต่างๆ

นกระเรียนในธรรมชาติ

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"