ยันระบบสาธารณสุขไม่ล่มสลาย


เพิ่มเพื่อน    

อธิบดีกรมแพทย์ยันสถานการณ์เตียงทั่วประเทศยังพอรองรับผู้ป่วยโควิด แต่ กทม.และปริมณฑลค่อนข้างหนักขยายแล้ว 300% ผู้ป่วยรอเตียงอยู่ที่บ้านหลักพันคน เผยการจะบอกว่าเตียงไม่พอแล้วระบบสาธารณสุขล่มสลายนั้นไม่ใช่ เพราะยังสามารถปรับระบบการดูแลผู้ป่วยมาเป็น Home Isolation และ Community 
    เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงยืนยันว่าสถานการณ์เตียงทั่วประเทศยังพอรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ ส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่สถานการณ์ค่อนข้างหนัก ได้ขยายเตียงไปแล้วกว่า 200-300 เปอร์เซ็นต์ในโรงเรียนแพทย์ อาทิ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ รังสิต โรงพยาบาลรามาฯ โรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลวชิระ พร้อมขอแพทย์จบใหม่อย่าเพิ่งเดินทางไปใช้ทุน เนื่องจากขณะนี้ภาครัฐมีอุปกรณ์แต่ไม่มีบุคลากรปฏิบัติงาน และยังได้ขยายเตียง ICU รวมถึงยังระดมแพทย์พยาบาลจากห้อง ICU จากต่างจังหวัดมาช่วยเพิ่มเติมด้วย โดยยอมรับว่ามีคนป่วยโทร.มารอเตียงอยู่ที่บ้านจำนวนหลักพัน
    ดังนั้นหากไม่จำเป็นจะไม่ใช้มาตรการ Home Isolation แต่ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลราชวิถีได้ทดลอง 2 เดือน ในผู้ป่วยประมาณ 20-30 คน พบว่าได้ผลดี แต่ยังสามารถใช้ได้เพียงบางบ้านเท่านั้น และมีข้อบกพร่องคืออาจมีการแพร่เชื้อได้ 10% จึงทำ Community Isolation มารองรับ โดยมีหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมด้วย พร้อมทั้งกำลังขยายเรื่องคนป่วยกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากที่ผ่านมาตรวจพบว่าประสบอุบัติเหตุปกติ แต่เมื่อตรวจหาเชื้อกลับติดโควิด-19
    นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Hospitel ของโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับความร่วมมือที่ดี จึงขอความร่วมมือให้ขยายเกณฑ์การรับผู้ป่วยออกไป เพราะบางโรงพยาบาลไม่รับคนท้อง เด็ก และผู้มีน้ำหนักเกิน หากเป็นไปได้ให้นึกถึงคนไข้มากกว่าผลประกอบการ เพราะถ้าช่วยกันจะเดินไปได้
    นพ.สมศักดิ์เน้นย้ำเรื่อง 5 มาตรการที่สำคัญที่แพทย์และพยาบาลต้องการคือ นโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจน มาตรการเข้มข้น ประชาชนต้องร่วมมือ ระบบควบคุมโรคต้องเข้มแข็ง และเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุม หลังจากนั้นคือการฉีดวัคซีนเพื่อลดผู้ป่วยลงไป เพราะบุคลากรหน้างานอยู่ในภาวะตรึงกำลัง หากดำเนินการไปด้วยกันจะช่วยได้มาก ส่วนปัญหาเรื่องเตียงที่ผ่านมาไม่ได้บอกว่าหากที่ใดตรวจเจอแล้วต้องรับผู้ป่วย เพียงแต่ให้ช่วยประสานเพื่อนำผู้ป่วยเข้าระบบ ขณะที่หลายจังหวัดมีมาตรการลำเลียงผู้ป่วยกลับบ้าน หากดำเนินการพร้อมกันจะทำให้เดินไปได้เช่นกัน
    "ขอเรียนว่าสถานการณ์ค่อนข้างตึง ได้รับแจ้งจาก ผอ.โรงพยาบาลราชวิถีว่ามีการทำห้องฉุกเฉินเพิ่มออกมาจากห้อง ER และเนื่องจากมีหญิงท้องติดโควิดเป็นจำนวนมาก แต่โรงพยาบาลต่างๆ ไม่ค่อยรับ ต้องขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลต่างๆ ช่วยกันรับ เพราะเมื่อเด็กคลอดและต้องแยกไปที่โรงพยาบาลเด็กเกิดปัญหาเตียงไม่พอ หากทุกภาคส่วนช่วยกัน คิดว่าจะเป็นเรื่องที่ดี"
    ทั้งนี้ยอมรับว่า 5 มาตรการดังกล่าวมีหย่อนลงไปบ้าง ทั้งในส่วนประชาชนและเจ้าหน้าที่ จึงต้องไปทบทวนว่าประชาชนดูแลตัวเองได้ดีจริงหรือไม่ หรืออาจต้องถึงขั้นใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่บ้าน ขณะที่เรื่องวัคซีนก็ต้องทบทวนให้ดี ต้องดูเรื่องกันหนักและกันตายว่าใครจำเป็นก่อน ซึ่งเรื่องนี้เห็นต่างได้ แต่ต้องมาพูดคุยกันแบบมีสติ และทุกอย่างต้องเอาความจริงมาพูด และต้องโปร่งใส แล้วทุกอย่างรวมถึงประเทศจะไปได้รอด เพราะโควิด-19 เป็นเชื้อแปลกที่ทำลายล้างทุกทฤษฎี ที่มองว่าการฉีดวัคซีนจะหาย แต่กลับพบเชื้อกลายพันธุ์
    ดังนั้นการร่วมมือกันสำคัญที่สุด การจะบอกว่าเตียงไม่พอแล้วกล่าวว่าระบบสาธารณสุขล่มสลาย ยืนยันว่าไม่ใช่ เพราะการรักษาโรคด้านอื่นยังสามารถทำได้ และยังสามารถปรับระบบการดูแลผู้ป่วยมาเป็น Home Isolation และ Community Isolation จึงมั่นใจว่าถ้าร่วมมือใน 5 มาตรการดังกล่าวไปด้วยกัน ไม่มีวันที่ระบบสาธารณสุขจะล่มสลาย
สปสช.แจงแนวทางเบิกจ่าย
    นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนถึงโรงพยาบาลทุกแห่ง ว่าโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาลหรือพาหนะรับ-ส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้ โดยค่าพาหนะรับ-ส่งต่อผู้ป่วย อัตราจ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสำนักงาน โดยกรณีใช้รถยนต์จ่ายชดเชยตามระยะทางกรมทางหลวงไป-กลับ โดยจ่ายชดเชยที่คำนวณได้แต่ไม่เกินที่เรียกเก็บ คือระยะทางไป-กลับไม่เกิน 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยตามจริงไม่เกิน 500 บาท ระยะทางไป-กลับมากกว่า 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยเริ่มต้น 500 บาท และจ่ายชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย
    ในส่วนของผู้ป่วยนั้นสามารถติดต่อโรงพยาบาลตามภูมิลำเนาของท่านได้เลย เพื่อประสานการรับ-ส่งต่อกลับมารักษาที่โรงพยาบาลแห่งนั้น ย้ำไม่ควรเดินทางโดยพลการ ผู้ป่วยที่ต้องการกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาสามารถประสานได้ที่สายด่วน สปสช.1330 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
    นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในการบริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั้งกลุ่มผู้ป่วยโควิดสีแดงและสีเหลืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้อำนวยการ ศบค. ซึ่งมีความห่วงใยต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ว่าขณะนี้รัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุขและทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการจัดเตรียมเตียงไว้สำหรับรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อย่างเต็มที่
    โดยในส่วนของโรงพยาบาลบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุขได้หารือกับผู้บริหารเมืองทองธานีเพื่อต่อสัญญาใช้สถานที่สำหรับทำโรงพยาบาลบุษราคัมต่อไปอีกจนถึงสิ้นเดือน ต.ค.64 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อรับผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล รวมถึงผู้ป่วยจากจังหวัดใกล้เคียง และแบ่งเบาภาระและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเตียงในพื้นที่ กทม. ทำให้โรงพยาบาลบุษราคัมขยายเตียงเพิ่มได้อีก 1,500-2,000 เตียง รวมมีเตียงรองรับผู้ป่วยอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง (สีเหลือง) ได้ประมาณ 3,700-4,000 เตียง โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ในการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์เข้ามาช่วยดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงใน กทม.
    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้รับรายงานถึงความร่วมมือจากกระทรวงกลาโหม โดยได้หารือและพิจารณาร่วมกันในแต่ละส่วนของกองทัพ ถึงขีดความสามารถทางการแพทย์ทหารในการร่วมระดมปรับเกลี่ยบุคลากรทางการแพทย์ทหาร เสริมโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เร่งขยายห้องผู้ป่วย ICU ในโรงพยาบาลทหารต่างๆ ในพื้นที่ กทม. และขยายขีดความสามารถพื้นที่ มทบ.11 สนับสนุนอาคารและสถานที่จัดทำโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม โดยร่วมกับโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมืองจัดตั้งโรงพยาบาลสนามดูแลผู้ป่วยสีแดงและเหลือง จำนวน 178 เตียง และร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ จัดตั้งโรงพยาบาลสนามดูแลผู้ป่วยสีเขียวเพิ่มเติมอีก 176 เตียง 
รองรับได้เพิ่มอีก 5,436 เตียง 
    นอกจากนี้ โรงพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล จะเปิดเตียงสีแดงเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้า ซึ่งได้มีการขอสนับสนุนกำลังบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในส่วนของแพทย์เฉพาะทาง แพทย์จบใหม่ และพยาบาล มาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย
    ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมสถานพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตามอาการต่างๆ และมีการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยสถานะสถานพยาบาล (ณ 30 มิ.ย.64) สถานการณ์เตียงของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจาก 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน มีเตียงทั้งหมดรวมจำนวน 31,505 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 26,069 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติมจำนวน 5,436 เตียง 
    ทั้งนี้ จำแนกตามระดับเตียง ได้แก่ เตียงระดับ 3 (สีแดง) จำนวน 1,317 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 1,203 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 114 เตียง เตียงระดับ 2 (สีเหลือง) จำนวน 12,782 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 11,090 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 1,692 เตียง และเตียงระดับ 1 (สีเขียว) จำนวน 17,404 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 13,776 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม 3,628 เตียง
    ส่วนโรงพยาบาลสนาม (ณ 30 มิ.ย.2564) ได้แก่ (1) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปัจจุบันมีทั้งหมด 53 แห่ง พร้อมรับ จำนวน 11,104 เตียง ขยายได้เป็น 12,822 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 3,840 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 7,264 เตียง (2) สถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกระทรวงกลาโหม สนับสนุนอาคารสถานที่ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ จำนวน 31 แห่ง พร้อมใช้งาน จำนวน 4,770 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 1,394 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 3,376 เตียง (3)     สถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของ กทม. ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 แห่ง พร้อมรับ จำนวน 2,502 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 2,101 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 401 เตียง รวมสถานะการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามจาก 3 หน่วยงานดังกล่าว ปัจจุบันมีทั้งหมด 94 แห่ง พร้อมรับ จำนวน 18,376 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 7,335 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 11,041เตียง
    โฆษกรัฐบาลยังกล่าวว่า โรงพยาบาลสนามแบบโรงแรม (Hospitel) รวมทั้งสิ้น จำนวน 77 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว จำนวน 59 แห่ง พร้อมใช้งาน จำนวน 14,559 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 13,061 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 1,498 เตียง ขณะเดียวกันก็มีการบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยต่างด้าวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย Hospitel ปัจจุบันมีจำนวน 10 แห่ง พร้อมใช้งาน 2,755 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 2,252 เตียง รองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 503 เตียง โรงพยาบาลสนาม จำนวน 9 แห่ง พร้อมใช้งาน จำนวน 4,542 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 3,589 เตียง และรองรับได้เพิ่มเติม จำนวน 953 เตียง.


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"