3 ก.ค.64 - ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมแถลงประเด็นสำคัญด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยนพ.โสภณ กล่าวว่า สถานการณ์โควิดในปัจจุบันถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะการระบาดระลอกล่าสุดเดือนเม.ย. พบสายพันธุ์เดลตา ที่แพร่ระบาดได้เร็ว แม้ช่วงแรกจะอยู่ในกทม.และปริมณฑล แต่ระยะหลังเข้าไปยังสถานประกอบการ ขณะนี้มีเข้าไปในชุมชนและครัวเรือนมากขึ้น ผู้ติดเชื้อแตะหลัก 6,000 รายวันที่สอง อีกทั้งคนกลับจากกทม.ไปต่างจังหวัดมากขึ้น เมื่อมีผู้ติดเชื้อไปในพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็เร่งสอบสวนและควบคุมโรคเพื่อจำกัดไม่ให้แพร่เชื้อต่อ ยอมรับว่าน่าเป็นห่วง แต่ถ้าประเมินสถานการณ์ 1-2 เดือนข้างหน้าคงต้องดูต่อไป
นพ.โสภณ กล่าวว่าด้วยความตื่นตัวของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราคงจำนวนผู้ติดเชื้อไว้ในระดับที่เพิ่มไม่มากนัก แต่สิ่งสำคัญต้องดูแลผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง เพราะหากรักษาช้าอาการจะรุนแรงและเสียชีวิตได้ เราจึงต้องร่วมมือกันลดการแพร่เชื้อ และข้อกำหนดฉบับที่ 25 ที่เพิ่งออกมามุ่งเน้นไปที่ลดการเคลื่อนย้าย และลดการแพร่เชื้อ เห็นได้จากการปิดแคมป์คนงานและไม่ให้รับประทานอาหารในร้าน สิ่งที่ยังเหลืออยู่คือการแพร่เชื้อในชุมชนและครัวเรือน ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็ติดเชื้อจากที่บ้าน ดังนั้นการป้องกันผู้สูงอายุติดเชื้อจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนที่ออกไปทำงานก็ต้องป้องกันตัว หากทุกคนป้องกันการติดเชื้อในครัวเรือนและมีการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุมากขึ้นเร็วขึ้น หากทำได้จะลดการเสียชีวิตในกลุ่มนี้ได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือมาตรการป้องกันส่วนตัว และเรื่องวัคซีนที่ต้องเร่งดำเนินการ
นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับการจัดหาวัคซีนนั้นกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดหาวัคซีน โดยตัวแรกที่เราดำเนินการคือ ซิโนแวค ตั้งแต่ปลายปี 2563 และได้เข้ามาช่วงเดือน ก.พ. ช่วงเดียวกับที่แอสตราเซเนกาเข้ามา หลังจากนั้นเราก็มีวัคซีนเข้ามาเรื่อยๆ จนขณะนี้ฉีดไปแล้วกว่า 10 ล้านโดส ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทย 6 ชนิด ที่อยู่ระหว่างดำเนินการคือวัคซีนไฟเซอร์ ขณะนี้ลงนามในเอกสารไปแล้ว 2 ฉบับ คือเอกสารสัญญาไม่เผยแพร่ข้อมูลของวัคซีน และเอกสารจองวัคซีน เหลือเพียงการเซ็นสัญญาจัดซื้อ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจของสำนักงานอัยการสูงสุด รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวเพื่อจัดเตรียมงบประมาณ
แต่เนื่องจากในสัญญาการซื้อวัคซีน 20 ล้านโดสต้องรอบคอบ เงื่อนไขในสัญญาก็เหมือนกับบริษัทวัคซีนต่างๆที่ตั้งเงื่อนไข อาทิ ต้องมีเงินจอง ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า กรณีวัคซีนไม่สามารถส่งมอบได้ตามกำหนดต้องไม่เสียค่าปรับ ซึ่งกรณีของไฟเซอร์ตามกำหนดคือไตรมาส 4 ต้องไม่มีค่าปรับ หากนำมาใช้มีผลข้างเคียงรัฐบาลต้องดูแล และคาดว่าสำนักงานอัยการสูงสุด จะสามารถตรวจสัญญาให้เสร็จได้ภายในวันที่ 5 ก.ค. หลายเรื่องเป็นข้อผูกพันต้องให้รัฐบาลเห็นชอบ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีแผนให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันอังคารที่ 6 ก.ค. หากทุกฝ่ายเห็นชอบก็จะลงนามสั่งซื้อได้ หลังจากนั้นจะเจรจาส่งมอบให้เร็วขึ้น แต่หากมีความคืบหน้าเป็นข่าวดีอย่างไรจะรีบสื่อสารให้ทราบ
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม เดือนก.ค.ถือว่ามีความสำคัญ จะเป็นจุดเปลี่ยนกับการจัดการโควิด จึงขอความร่วมมือร่วมใจกับทุกภาคส่วน ในการปกป้องไม่ให้เกิดการสูญเสียและแพร่เชื้อเกิดขึ้น การดูแลผู้สูงอายุที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงต้องได้รับความสำคัญในการดูแลสูงสุด ลูกหลานต้องช่วยกันดูแล มาตรการเฝ้าระวังในครัวเรือนต้องเข้มงวด ต้องจูงใจให้ผู้สูงอายุได้รับวัคซีนเร็วในเดือนก.ค.หรือส.ค. หากเรายังหยุดการระบาดทันทีไม่ได้ แต่เริ่มลดการเสียชีวิตได้ด้วยการป้องกันผู้สูงอายุ หวังว่าเดือนนี้หากร่วมมือกันเต็มที่จะยันสถานการณ์ไว้ได้ และน่าจะควบคุมได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |