3 ก.ค.64 - ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) และประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อบูรณาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีทางแพทย์ระบุว่าในเดือนก.ค.นี้จะวิกฤตถึงกับใช้คำว่าหนักแน่ ในส่วนของภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนมาตรการตามสถานการณ์อย่างไร ว่า มาตรการหลักๆคงต้องถือมาตรการเดิมไปก่อน เพราะในห้วงเวลาที่ผ่านมามีประชาชนที่ทำมาหากินอยู่มีความเดือดร้อนเนื่องจากศบค. ใช้มาตรการเหล่านี้มา 3 เดือนแล้ว ประชาชนเป็นจำนวนมากได้มาขอความกรุณาจากทางศบค. ว่าอยากให้ผ่อนคลายบ้าง ซึ่งก็ได้ชี้แจงกลับไปว่ามาตรการต่างๆเหล่านี้ยังจำเป็นอยู่ เพราะฉะนั้นต้องดูทั้งสองฝ่าย คือคนที่เดือดร้อนจากมาตรการของศบค.ด้วย และต้องดูมาตรการป้องกันโรคด้วย
ดังนั้นสิ่งที่ศบค. ต้องเตรียมการคือจะต้องลงรายละเอียดให้มากขึ้น เพิ่มความปราณีตให้มากขึ้น และอาจจะต้องเพิ่มมาตรการเล็กๆน้อยๆที่ไม่ทำให้ประชาชนที่จะต้องทำมาหากินเดือดร้อนมากไปกว่านี้โดยเมื่อครบ 15 วันในประมาณวันที่ 12 ก.ค.นี้ ก็จะหารือกับทางกระทรวงสาธารณสุขในการประเมินสถานการณ์ว่าจากมาตรการต่างๆที่เราทำมาแล้วนั้นมีประสิทธิผลเพียงใด จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเพิ่มมาตรการหลักให้มากขึ้น หรือยังสามารถคงมาตรการนี้ได้ต่อไป ตรงนี้จะต้องฟังจากทางกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่หรือไม่เพื่อรับมือสถานการณ์ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ก็มีความจำเป็น ซึ่งขณะนี้ทางคณะที่ปรึกษาของศูนย์บูรณาการแก้ไขปัญหา โควิด-19 ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กำลังแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวอยู่ ว่าจำเป็นที่จะต้องมีการปรับ ถ้าเราใช้มาตรการเดิมๆอยู่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย ซึ่งขณะนี้ทีมคณาจารย์ทางด้านการแพทย์กำลังมองเรื่องนี้อยู่ อาทิ ลักษณะของการเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ขอไม่ลงในรายละเอียดเนื่องจากกำลังอยู่ในขั้นตอนหารือ หากพูดอะไรไปก่อนจะเป็นการไปก้าวล่วงในเรื่องของการแพทย์และการสาธารณสุข บอกได้เพียงว่าทางคณาจารย์ทางการแพทย์กำลังติดตามและกำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าว
เมื่อถามถึงในส่วนของเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ยังเพียงพอหรือไม่หากเกิดวิกฤติ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า คงเหมือนกับที่อธิบดีกรมการแพทย์ และรองอธิบดีกรมควบคุมโรคได้กล่าวไปว่า เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังมีเพียงพอถ้าสถานการณ์ยังคงระดับนี้อยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ศบค.อยากขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน ซึ่งก็ต้องย้ำว่าเวลาขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนก็มักจะถูกต่อว่า ว่าเป็นการโทษประชาชน แต่มิใช่เช่นนั้น แต่เนื่องจากความสำเร็จในเรื่องของมาตรการป้องกันและควบคุมโรคส่วนตัว ตนถืออยู่ 3 ส่วน คือภาครัฐจะต้องจริงจัง ภาคผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือ ภาคประชาชนต้องดำรงในส่วนของการป้องกันส่วนบุคคล หากทั้งสามส่วนนี้ยังดำรงอยู่ก็สามารถที่จะผ่านไปได้ โดยที่ศบค.ดูแลในเรื่องมาตรการส่วนรวม
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้วัคซีนซิโนแวคซึ่งเป็นวัคซีนหลักของบ้านเรา แต่ประชาชนไม่ไว้วางใจ จะทำความเข้าใจกับประชาชนอย่างไร พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขหรือบุคลากรทางการแพทย์อาวุโสได้พยายามให้ความรู้ และจากที่ทางรองอธิบดีกรมควบคุมโรค และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ได้กล่าวไว้ ทุกคนก็จะได้เห็นว่าเราไม่สามารถที่จะเลือกชนิดได้ เราไม่สามารถจะเร่งกำหนดการส่งได้ เพราะฉะนั้นก็มีความจำเป็นอยู่ดีที่จะต้องใช้วัคซีนที่เราสามารถหามาได้ วัคซีนที่มีอยู่ ซึ่งตนคิดว่าทุกคนก็คิดเหมือนๆกันหมด ทางศบค.เองก็คิดเหมือนกันว่า ถ้าเลือกได้เราก็อยากเลือกวัคซีนที่ประชาชนต้องการ อยากได้มาเร็ว แต่ในเมื่อบริบทออกมาอย่างนี้ทำให้ลักษณะของการได้วัคซีนมาเป็นแบบนี้ ตรงนี้ก็ต้องกราบขออภัยพี่น้องประชาชน ที่ว่าอาจจะไม่ได้วัคซีนตามที่ต้องการ แต่เราก็พยายามอยู่ จากที่ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมชี้แจงวัคซีนโมเดิร์นนาที่ประชาชนอยากได้ หน่วยงานก็พยายามเร่งรัด และวัคซีนไฟเซอร์ที่ประชาชนอยากได้ทางกรมควบคุมโรคก็พยายามเร่งรัดอยู่ ฉะนั้นในเมื่อทั้งสองอย่างนั้นยังไม่มา วัคซีนที่เรามีอยู่คือซิโนแวค ก็น่าจะเป็นวัคซีนที่เหมาะสมกับสภาพเวลานี้
เมื่อถามย้ำว่าแสดงว่ายังจะให้ฉีดซิโนแวคต่อไปใช่หรือไม่ พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า "ยังฉีดครับในเมื่อประเทศผู้ผลิตเขาก็ยังใช้อยู่ในประเทศของเขา จึงไม่ได้มีเรื่องอะไรที่เป็นผลกระทบร้ายแรงอันนี้คือสิ่งที่อยากบอกในลักษณะพูดกันง่ายๆ โดยที่ผมไม่ได้พูดในเรื่องเชิงของการแพทย์ ผมพูดกับคนที่รู้จักกันเสมอว่า ในเมื่อประเทศผู้ผลิตเขาใช้อยู่ มันก็ต้องมีความมั่นใจได้ว่าเป็นวัคซีนที่ดี"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |