Belonging ทวงความเท่าเทียม LGBTQ ในไทยผ่านชัตเตอร์ สตีฟ แมคเคอร์รี


เพิ่มเพื่อน    

 

 

            รับได้แต่ไม่อยากสนิทสนมใกล้ชิด คนในครอบครัวไม่ยอมรับ ถูกเลือกปฏิบัติจากในที่ทำงาน  เป็นความเชื่อและทัศนคติแง่ลบของสังคมไทยที่มีต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถแสดงและพัฒนาศักยภาพของพวกเขาได้อย่างเต็มที่

                ภาพถ่ายเรื่องราวของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศหลากหลายชีวิตหลากวัยในกรุงเทพฯ ของสตีฟ แมคเคอร์รี ช่างภาพระดับโลกที่ปรากฎในหนังสือ  Belonging: Portraits from LGBTQ Thailand  ซึ่งเป็นผลงานเรื่องที่ 15 ในชุดหนังสือภาพที่โด่งดังเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)ทั่วโลก จัดพิมพ์โดยเดอะนิวเพรส เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมูลนิธิอาร์คัส เอ็มเมอร์สัน วาจโดวิคซ์สตูดิโอ (EWS) และเดอะนิว เพรส ออกแบบโดยเอ็มเมอร์สัน วาจโดวิคซ์สตูดิโอ คือ ส่วนหนึ่งของเรื่องจริงในบ้านเราที่บอกถึงการถูกตีตราของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ

     

     สตีฟ แมคเคอร์รี เป็นศิลปินที่อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายร่วมสมัยที่โด่งดังหลายชุด อาทิ ภาพเหมือนของชาร์บัต กูลา เด็กสาวชาวอัฟกัน  ในปี 2527 บนหน้าปกของนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก ซึ่งยังคงเป็นที่รู้จักและจดจำอย่างกว้างขวางมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันสตีฟหันมาให้สนใจประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือภาพที่นำเสนอกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก

      ศิลปินผู้นี้มองว่า ไทยมีชื่อเสียงมายาวนาน เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นมิตรกับชาวเกย์มากที่สุดในเอเชีย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มีสถานบันเทิงยามค่ำคืน มีความเปิดกว้างและปลอดภัย  แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศและคู่รักเพศเดียวกันนั้นเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติก็ตาม แต่สำหรับคนไทยแล้วอาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้นเสมอไป

  ภาพ : สตีฟ แมคเคอร์รี   

     ถึงแม้ว่าไทยมีชุมชนของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียก็ตาม แต่ยังคงมีการกีดกันและการไม่ยอมรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้ง ๆ ที่มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการกำหนดจุดยืนในประเด็นเรื่องการยอมรับกันในสังคม ในขณะเดียวกันการสมรสของคนเพศเดียวกันยังคงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย มีการต่อสู้เรียกร้องให้แก้กฎหมายใหม่

          ภาพสีของสตีฟนำเสนอกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในกรุงเทพฯ เขาเผยให้เห็นถึงผู้คนที่ไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนที่พวกเขาเติบโตมา และพยายามเริ่มชีวิตใหม่ พร้อมกับแสวงหาความหมายใหม่ของครอบครัวในชุมชนเพศทางเลือก ภาพถ่ายของเขาถูกบันทึกไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2563 ก่อนที่ประเทศไทยจะปิด เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด สตีฟหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจและปัญหาความขัดแย้งหรือการโต้เถียงกันเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่พบในสื่อกระแสหลัก  

          สำหรับแบบที่ถูกถ่ายมีอายุระหว่าง 20-80 ปี ซึ่งประกอบด้วยนักมวยหญิงที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แพทย์ที่ให้บริการในชุมชน ช่างภาพ คู่รัก และนักแสดง โดยสิ่งที่พวกเขาสะท้อนออกมาเหมือนกัน คือ ความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและความรักที่มีต่อประเทศและเมืองของตน

        สตีฟ แมคเคอร์รี เป็นช่างภาพชาวอเมริกันที่มีผลงานขึ้นปกนิตยสารและหนังสือ และผลงานจัดแสดงในนิทรรศการมากมายทั่วโลก เขาได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลช่างภาพนิตยสารแห่งปีจากสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนระดับชาติ เหรียญครบรอบ 100 ปีของสมาคมรอยัล โฟโต้กราฟิก และสองรางวัลชนะเลิศในการประกวดภาพถ่ายของนิวเพรส เขาเป็นผู้ประพันธ์ผลงานชุด Belonging: Portraits from LGBTQ Thailand (เดอะนิวเพรส) ชมศิลปะภาพถ่ายของสตีฟ แมคเคอร์รี ได้ที่: https://www.stevemccurry.com.

   ภาพ :  สตีฟ แมคเคอร์รี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"