ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเสมอมา เนื่องจากจะสามารถต่อยอดให้ธุรกิจนั้นๆ เติบโตก้าวไปเป็นระดับสากลได้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมในด้านต่างๆ อาทิ การขยายตลาดให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลก หรือการส่งเสริมธุรกิจแบบห่วงโซ่อุปทาน ที่ผลักดันให้มากกว่าหนึ่งธุรกิจเติบโตไปพร้อมกัน
เหมือนกับการส่งตัวแทนจากสาขาต่างๆ ไปในระดับโลกอย่างเช่นนางงาม หรือกีฬาก็ว่าได้ หากมีศักยภาพที่ดีพอก็จะสามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการอื่นๆ ในประเทศให้เป็นที่น่าเชื่อถือได้อีก ซึ่งการที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจให้ไปถึงจุดนั้นได้ คงต้องอาศัยหลายปัจจัยมาประกอบกัน รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐอีกด้วย
เพราะหน่วยงานของภาครัฐมีทั้งงบประมาณ ช่องทาง และเครือข่ายในการที่จะพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะที่เป็นเอสเอ็มอีให้เกิดการส่งเสริมแบบบูรณาการได้ และจากเป้าหมายดังกล่าวนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงเดินหน้าที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ผ่านการส่งเสริมทักษะการประกอบการในด้านต่างๆ การพัฒนาเทคโนโลยีให้กับกระบวนการผลิตและการแปรรูป การตลาด การบริหารจัดการ รวมทั้งการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
โดยมีการใช้เครื่องมืออยู่ 2 ชนิด ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในระดับพื้นที่ในการรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุกสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลการดำเนินธุรกิจ การช่วยเหลือกันของผู้ประกอบการในระดับจังหวัดและภูมิภาค ทำให้เครือข่ายผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบัน ดำเนินการไปแล้ว 367 รุ่น ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 11,879 กิจการ
ซึ่งผลพลอยได้จากการเข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดการผนึกเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งยังสามารถให้ความช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ระหว่างเกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดการช่วยเหลือระหว่างกันจนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ
และ 2.โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือคลัสเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในระดับธุรกิจที่รวบรวมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพภายในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กสอ.ได้ขยายผลการขับเคลื่อนการผนึกกลุ่มผู้ประกอบการบนแนวคิดคลัสเตอร์ฮับ คือ เชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน สามารถพัฒนาคลัสเตอร์จำนวน 103 กลุ่ม โดยในปี 2564 มีแผนในการดำเนินการพัฒนาคลัสเตอร์รวมทั้งสิ้น 29 กลุ่ม แบ่งเป็น คลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม จำนวน 25 กลุ่ม และคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพ (เอส-เคิร์ฟ) จำนวน 4 กลุ่ม คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
เห็นได้ว่าที่ผ่านมาหากพูดถึงการช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศให้มีความเข้มแข็งขึ้น ชื่อของ กสอ.จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ และต่อไปก็จะยังเชื่อว่าภายใต้การทำงานที่จริงจังและตรงจุดแบบนี้ ก็ยังจะสามารถเร่งพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการในประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงอีก และตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
หากผู้ประกอบการกลุ่มไหนต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือหรือชี้แนะแนวทางเป็นพิเศษ เชื่อว่าการเข้าไปของการส่งเสริมจาก กสอ.จะเป็นความคิดที่ดีแน่นอน เพื่อต่อยอดธุรกิจให้สามารถตอบโจทย์ทั้งด้านสินค้าและบริการ จนก้าวขึ้นไปเป็นระดับโลกได้อย่างมีคุณภาพ.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |