ประธานศาลอุทธรณ์ออกคำวินิจฉัยคดี รองเลขาธิการ ป.ป.ช. "ประหยัด พวงจำปา" เอาคืนไล่ฟ้อง "ประธาน ป.ป.ช.-อัยการสูงสุด-สุภา" ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หลังถูกเอาผิดยื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ชี้ให้คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตฯ นัดไต่สวนมูลฟ้อง 9 ส.ค.
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบภาค 1 มีการอ่านคำวินิจฉัยที่ น.ส.ปิยกุล บุญเพิ่ม ประธานศาลอุทธรณ์ ได้มีคำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ในคดีที่นายประหยัด พวงจำปา รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่อยู่ระหว่างการหยุดปฏิบัติหน้าที่ ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช., น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. และนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561
โดยวันนัดไต่สวนมูลฟ้องจำเลยที่ 2-3 (น.ส.สุภา และนายวงศ์สกุล) ยื่นคำร้องอ้างว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา10 (1) แห่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 ขอให้เสนอปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นไปให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ทำให้ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ส่งคำร้องพร้อมสำนวนมายังประธานศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัย
โดยโจทก์คือนายประหยัด ได้บรรยายฟ้องโดยสรุปว่า จำเลยทั้งสามมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา โดยจำเลยที่ 1-2 และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ออกระเบียบการยื่นบัญชีการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งวางหลักไว้ว่าในการดำเนินคดีกับโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลตามวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 158 ให้นำความในมาตรา 43 มาใช้บังคับด้วย และต่อมาคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่าการยื่นบัญชีทรัพย์สินของโจทก์เข้าข่ายเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน จะต้องส่งเรื่องไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งโจทก์คือนายประหยัด ระบุมูลเหตุในการฟ้องคดีโดยสรุปว่า จำเลยที่1, 2 และคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการเอาผิดกับตนเอง เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จึงเข้าข่ายปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
"คดีนี้ไม่ใช่การดำเนินคดีต่อกรรมการ ป.ป.ช.โดยคณะผู้ไต่สวนอิสระ จึงไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ตามผู้เสียหายยังคงมีอำนาจฟ้องกรรมการ ป.ป.ช.ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 (2) ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200 พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172, 183 อันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นหรือความผิดอื่น อันเนื่องมาจากการประพฤติมิชอบ ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีทุจริตและประพฤติมิชอบอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ วินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ" คำวินิจฉัยประธานศาลอุทธรณ์ระบุ
ทั้งนี้ มีการนัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ 9 ส.ค.64 เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีดังกล่าวยังพบว่าเป็นคดีที่นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1 ถูกร้องเรียนกล่าวหาว่าแทรกแซงการพิจารณาคดีระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีข้างต้น เป็นเหตุให้นายปรเมษฐ์ถูกตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และประธานศาลฎีกามีคำสั่งให้ ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทำให้ต่อมานายปรเมษฐ์ยื่นฟ้องคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นตรวจฟ้อง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |