28 มิ.ย. 64 - รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ตอนที่ 6 (ต่อ) ว่า
นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง พลพรรคของทักษิณจึงมีความภูมิอกภูมิใจ ไม่ฟังและกระทั่งดูแคลนผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวอันดับต้นๆของประเทศ นั่นคือ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ที่แสดงความไม่เห็นด้วย และวิพากษ์วิจารณ์ติติงหลายครั้ง
นโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เนื่องเพราะ
1. การรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดถึง 50% ทำให้ชาวนาทุกคนล้วนนำข้าวมาจำนำกับรัฐ ผู้ส่งออกข้าวแทบจะไม่มีข้าวให้ส่งออก นอกจากข้าวที่ปลูกเองแล้วยังมีคนที่ไปซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาจำนำเพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากเพื่อดำเนินนโยบายนี้ โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
2. แม้ประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำในการส่งออกข้าวในตลาดโลก แต่ก็ไม่ได้มีส่วนแบ่งตลาดสูงพอที่จะสร้างผลกระทบต่อราคาข้าวได้ ประเทศที่หายใจรดต้นคอประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลานั้น มีทั้ง เวียดนาม และอินเดีย ทั้งคุณภาพก็ใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อไทยกักตุนข้าวอยู่ในโกดัง เวียดนามจึงแซงหน้าเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 แทนที่ประเทศไทย และการกักตุนข้าวไว้ในโกดังของไทย ก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกลดลงจนทำให้ราคาสูงขึ้นได้ ดังนั้นจึงไม่มีชาวนาคนไหนนำข้าวมาจำนำแล้วมาไถ่ถอนแม่แต่รายเดียว เพราะราคาข้าวในตลาดไม่เคยขยับขึ้นสูงกว่าราคารับจำนำ
3. การรับจำนำข้าวต้องมีค่าเก็บรักษาที่สูง รัฐบาลต้องเช่าโกดังของเอกชนเป็นที่เก็บข้าว ทั้งยังต้องมีค่าดูแลรักษา เมื่อไม่สามารถระบายข้าวได้ เพราะต้องขายขาดทุน ค่าเก็บรักษายังคงต้องจ่ายยิ่งเก็บนานยิ่งต้องจ่ายมาก และยิ่งเก็บนานข้าวก็ยิ่งเสื่อมสภาพ ราคาก็ยิ่งต่ำลง
4. มีการทุจริตกันหลายรูปแบบ ทั้งในระดับโรงสีข้าวที่โกงความชื้นกับชาวนา surveyor ที่รับสินบน การนำข้าวจากต่างประเทศมาจำนำ และที่ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นักการเมือง รวมทั้งยิ่งลักษณ์ และข้าราชการกระทรวงพาณิชย์หลายคน รวมทั้งเอกชน ต้องโทษจำคุก ก็คือการระบายข้าวที่แอบแฝงว่าเป็นการขายแบบรัฐต่อรัฐในราคาต่ำกว่าทุน แต่แท้ที่จริงเป็นการขายให้บริษัทของคนไทยซึ่งเป็นพรรคพวกกันเอง
เมื่อนโยบายรับจำนำข้าวดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง ป.ป.ช. มีหนังสือไปถึงรัฐบาลขอให้พิจารณาทบทวน เนื่องจากเชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ แต่รัฐบาลไม่ฟัง หรือควรจะบอกว่า ทักษิณไม่ฟัง แต่ก็ยังให้มีการตรวจสอบโดยมีข้อสรุปว่า ไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด
ชนวนเหตุที่ทำให้มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับไม่ใช่เรื่องการรับจำนำข้าว แต่เป็นเรื่องมีความพยายามที่จะออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นร่างของนายวรชัย เหมะ แห่งพรรคเพื่อไทย ต้องการช่วยผู้ที่ต้องโทษในคดีเผาศาลากลางจัดหวัดต่างๆในปี 2553
อย่างไรก็ดี เมื่อร่างนี้เสนอเข้าสภาฯ ในชั้นกรรมาธิการ ได้มีการใช้เสียงข้างมากแก้ไขให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยให้รวมทั้งผู้ต้องคดีอาญา ในช่วงปี 2549-2554 ได้พ้นผิดไปด้วย นั่นหมายถึงว่า คดีทุจริตต่างๆ ของทักษิณ ก็จะได้นิรโทษกรรมไปด้วยเช่นกัน
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นคณะแรกที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลภายนอกสภา โดยเลือกบริเวณสถานีรถไฟสามเสนเป็นสถานที่ปราศรัยโจมตีรัฐบาล มีคนมาร่วมฟังการปราศรัยเป็นหลักหมื่น
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถูกนำกลับมาเพื่อลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ในวาระ 3 และผ่านฉลุย เวลา 4.25 น ของวันที่ 1 พฤศจิกายน ด้วยคะแนน 307 ต่อ 0 งดออกเสียง 4 โดยส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดวอล์กเอาท์จากที่ประชุม
หลังจากมีข่าวว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ประชาชนแทบจะทุกกลุ่มต่างออกมาประท้วงกันอย่างมืดฟ้ามัวดิน บนท้องถนนเป็นจำนวนล้าน เพื่อคัดค้าน พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ในที่สุดรัฐบาลต้องยอมถอย พ.ร.บ.ฉบับนี้จึงถูกคว่ำในวุฒิสภาในที่สุด
แม้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยจะตกไปแล้ว แต่การประท้วงยังคงดำเนินต่อไป นำโดยคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งลาออกจาก ส.ส. และจากพรรคประชาธิปัตย์ และมี ส.ส.อีกหลายคนลาออกตามมา เพื่อทำงานการเมืองภาคประชาชนอย่างเต็มที่ และต่อมามีแนวร่วมจากกลุ่มต่างๆมากขึ้น รวมตัวกันเรียกว่า “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือ กปปส.
มีคนหลากหลายกลุ่มออกมาร่วมกับ กปปส. มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเรือนแสน บางครั้งหลายแสน ทั้งนักการวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน นักธุรกิจ ข้าราชการจากเกือบทุกกระทรวง บ้วนมาร่วมชุมนุม และมีตัวแทนมาขึ้นปราศรัยบนเวที
สถานที่ชุมนุมย้ายจาก สถานีรถไฟสามเสน ไปยังอนุเสารีย์ประชาธิปไตย ไปที่ศูนย์ราชการ จากนั้นไปยัง 4 แยกปทุมวัน สุดท้ายไปอยู่สวนลุมพินี และมีกลุ่มคปท. อยู่ที่สะพานชมัยมรุเชฐ มีการประกาศ Shut Down กรุงเทพฯ มีการพยายามนำมวลชนออกไปยึดหน่วยราชการ และยึดทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันให้นายกยิ่งลักษณ์ลาออก
แทนที่จะลาออก ยิ่งลักษณ์ประกาศยุบสภา กลายสภาพเป็นรัฐบาลรักษาการและให้มีการเลือกตั้งใหม่ เพราะเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยต้องได้รับเลือกกลับมาอีก แต่ฝ่าย กปปส. ไม่ยอมด้วยเหตุผลเดียวกัน จึงยืนยันว่าก่อนการเลือกตั้ง จะต้องมีการปฏิรูปประเทศก่อน กกปส.จึงจัดมวลชนเข้าขัดขวางการเลือกตั้งในเขตต่างๆ ทำให้หลายเขตไม่สามารถจัดให้มีการหย่อนบัตรลงตะแนนได้ และยังจัดให้มีการชุมนุมใหญ่คัดค้านการเลือกตั้ง การชุมนุมในวันเลือกตั้ง มีผู้มาร่วมชุมนุมอย่างล้นหลาม หลายแสนคน
เมื่อไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้ครบทุกเขต ทุกจังหวัดใน 1 วัน การเลือกตั้งจึงไม่สมบูรณ์ ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะในที่สุด
โปรดติดตามตอนจบในโพสต์หน้าครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |