รอลุ้น ‘แรงงาน’ชงจ่ายชดเชยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 6 เดือน หลังอ่วมพิษโควิด-มาตรการล็อกดาวน์


เพิ่มเพื่อน    

 

27 มิ.ย. 64 - แหล่งข่าวจากกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ได้ทำข้อมูลเกี่ยวแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ล่าสุดของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นผลกระทบระยะสั้น รวมถึงแนวทางช่วยเหลือในระยะยาวจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 เพื่อเสนอให้ที่ประชุมทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน และมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ร่วมด้วย พิจารณา

ทั้งนี้ ข้อเสนอในการช่วยเหลือมีหลายรูปแบบ โดยการช่วยเหลือในระยะสั้นจะช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลประกาศล่าสุด ใน 10 จังหวัด ซึ่งมีแรงงานอยู่ประมาณ 7 แสนคนที่จะได้รับความช่วยเหลือ โดยขณะนี้แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับการช่วยเหลือจากประกันสังคม ในการจ่ายเงินเดือนให้ 50% ของเงินเดือนทั้งหมดอยู่แล้ว และกระทรวงแรงงานจะเสนอให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยไม่ได้เป็นการจ่ายให้กับแรงงาน แต่จะจ่ายให้กับผู้ประกอบการเพื่อไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ประกอบการจะต้องรักษาการจ้างงานต่อไป

“ข้อสรุปว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมระยะสั้นให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลรายละเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณ คงต้องรอฝ่ายนโยบายพิจารณาอีกที” แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า กระทรวงแรงงานยังได้เสนอทางเลือกในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระยะยาว โดยเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกันกับกับมาตรการช่วยเหลือระยะสั้น แต่ในส่วนนี้จะจ่ายให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะดูกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเป็นหลัก เช่น ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจก่อสร้าง และภาคบริการ เป็นต้น

โดยจะมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าข่ายได้รับการช่วยเหลือตามแนวทางระยะยาวดังกล่าว ประมาณ 4.39 แสนราย เป็นแรงงานประมาณ 5 ล้านคน เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการช่วยเหลือส่วนนี้ ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำแนวทางในการจ่ายเงินช่วยเหลือออกเป็นหลายรูปแบบ ได้แก่ จ่ายให้ผู้ประกอบการ โดยคิดจากจำนวนแรงงานที่มีการจ้างงานอยู่ แรงงานละ 1 พันบาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือหากรัฐบาลมีงบประมาณมากเพียงพอ ก็เสนอจ่ายให้แรงงานละ 2 พันบาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือจ่ายให้แรงงานละ 2 พันบาทเป็นเวลา 4 เดือน ส่วนเดือนที่ 5-6 จ่ายเดือนละ 1.5 พันบาทต่อเดือน

“กระทรวงแรงงานได้ทำข้อมูลเสนอขึ้นไป ส่วนรัฐบาลจะพิจารณาอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบาย เพราะเชื่อว่ามาตรการที่เสนอไปจะครอบคลุมความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจริง ๆ ที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และลูกจ้างอยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีสภาพคล่องมากขึ้น เพราะมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เลิกจ้างงาน” แหล่งข่าว กล่าว

อย่างไรก็ดี ในส่วนสาเหตุที่เสนอการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี แทนการจ่ายให้ลูกจ้างโดยตรง เพราะที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างผ่าน ม.33 เรารักกันไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกจ่าย 4 พันบาทต่อคน ใช้งบไป 3.7 หมื่นล้านบาท และครั้งที่ 2 จ่ายเพิ่มอีก 2 พันบาทต่อคน ใช้งบประมาณ 1.85 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมแรงงาน 9.27 ล้านคน จากแรงงานในระบบประกันสังคมทั้งหมด 11 ล้านคน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"