ภาษาไทยอาจใช้คำว่า ความคลั่งไคล้ ความหลงใหลในบุคคล ลัทธิหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา แสดงออกอย่างไร้เหตุผล สุดโต่ง
รากศัพท์ Fanaticism :
Fanaticism มาจากรากศัพท์ภาษาละติน “Fanaticus” มีความหมายแง่บวกเกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นผู้รับใช้ (servant) ผู้อุปถัมภ์วัด (benefactor of a temple)
“Fanaticus” มาจากคำว่า “fanum” คำหลังนี้หมายถึงวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมศาสนาโบราณ เช่น การตีตัวเองด้วยของมีคมเพื่อให้เลือดออก
ในศตวรรษที่ 17 พวกคาทอลิกเริ่มใช้ในความหมายเชิงลบต่อคำสอนบิดเบือนศาสนาซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรงในสมัยนั้น หลายคนรับโทษรุนแรง เป็นความขัดแย้งระหว่างคาทอลิกกับกลุ่มหรือนิกายใหม่
จอห์น ล็อก (John Locke, 1632-1704) ผู้สนับสนุนสิทธิเสรีภาพเห็นว่าใครจะปฏิบัติศาสนาอย่างไรก็ได้ การตีตราว่าใครเป็นพวกคลั่งไคล้พวกบิดเบือนศาสนาเป็นเรื่องการเมืองหรือเป็นปัญหาชาวบ้านมากกว่า (civic issue) กลายเป็นประเด็นถกเถียงว่าควรกล่าวโทษผู้นับถือศาสนาผิดจากตนหรือควรยับยั้งชั่งใจอดทนต่อความเชื่อที่แตกต่าง
Fanaticism ในปัจจุบันใช้ในความหมายแง่ลบ มักเกี่ยวข้องกับศาสนา การเมืองและมีใช้ในกรณีอื่นๆ
ลักษณะพื้นฐาน :
จากการศึกษาพบว่ามีลักษณะดังนี้
ประการแรก เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทัศนคติ มุมมอง
ลักษณะพื้นฐานที่โดดเด่นที่สุดคือเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทัศนคติ มุมมอง หลักการ โดยเฉพาะศาสนา (religious fanaticism) การเมือง การคลั่งชาติ (nationalistic fanaticism) การปฏิวัติปฏิรูปสังคมการเมือง
บางครั้งเป็นความเห็นต่างระหว่างด้าน เช่น ศาสนากับการเมือง เสรีประชาธิปไตยกับ religious fanaticism ความเชื่อแบบคริสต์ถูกฝ่ายเสรีนิยมตีตราว่าเป็นพวกคลั่งไคล้
ประการที่ 2 มักใช้ในความหมายเชิงลบ
เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง (Khmer Rouge) เหตุก่อการร้ายปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับลัทธิสุดโต่ง มาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์สุดโต่งของ Joseph McCarthy จากพรรครีพับลิกันที่ถูกวิพากษ์ว่าทำเกินกว่าเหตุ
ประการที่ 3 มากเกินไป ไร้เหตุผล สุดโต่ง
บางครั้งผู้นำประเทศผู้นำความคิดเห็นว่าการปลุกเร้าเป็นเรื่องจำเป็น ก่อให้เกิดความฮึกเหิม ชัยชนะไม่อยู่ที่จำนวนแต่อยู่ที่พลังใจ เรื่องทำนองนี้อาจถูกฝ่ายตรงข้ามตีความว่าเป็นพวกสุดโต่ง
เช่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิชาการตะวันตกบางคนตีความว่าทหารญี่ปุ่นสู้อย่างบ้าคลั่งเพราะหลงใหลลัทธิทหาร (Japanese military fanaticism) ดังนั้นในขณะที่บางคนตีความว่าทหารญี่ปุ่นรบอย่างห้าวหาญ แต่อีกคนอาจตีความว่าคือความบ้าคลั่ง
บางกรณีเป็นแนวคิดที่รุนแรง นิยมความรุนแรง ใช้คำพูดรุนแรงจงเกลียดจงชัง สัมพันธ์กับลัทธิสุดโต่งหรือความสุดโต่ง (Extremism) บางกรณีสนับสนุนทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) ไร้เหตุผล เช่น ลัทธิฟาสซิสม์ (Fascism) พวกระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarian regimes) และอาจหมายถึงตัวบุคคล เช่น ฮิตเลอร์
ดังนั้น กลุ่มเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจเรียกว่าเป็นฝ่ายก้าวหน้า (progressive) หรือเป็นพวกสุดโต่งก็ได้
ประการที่ 4 ใช้โจมตีให้ร้ายอีกฝ่ายหรือป้องกันตัวเอง
เนื่องจาก Fanaticism มักใช้ในความหมายเชิงลบ ชี้ว่าเป็นพฤติกรรมสุดโต่งไม่ดีงาม คำนี้จึงมักใช้เพื่อโจมตีให้ร้ายอีกฝ่าย สิ่งใดที่ถูกชี้ว่าเป็น Fanaticism เท่ากับได้รับคำพิพากษาว่าทำผิดมีโทษ ไม่เป็นที่ต้องการ
บ่อยครั้งเป็นการกล่าวโทษแบบเหมารวม เช่น มุสลิมทุกคนเป็นพวกศรัทธาศาสนาสุดโต่ง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วมุสลิมไม่ต่างจากคนนับถือศาสนาอื่นที่มีผู้ศรัทธาหลายระดับ
นักวิชาการบางคนคิดว่าหลังสงครามเย็นรัฐบาลสหรัฐหยิบยกประเด็นอิสลามสุดโต่ง (Islamic fanaticism) ขึ้นมาเป็นศัตรูแทนสหภาพโซเวียต สัมพันธ์กับเหตุก่อวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 เพื่อชี้ให้คนอเมริกันคิดว่าประเทศยังเผชิญภัยคุกคาม ตามมาด้วยการทำสงครามต่อต้านก่อการร้ายทั่วโลก
ความจริงแล้วมุสลิมปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพวกสายกลาง แม้หลายคนไม่ชอบรัฐบาลตะวันตก ไม่ชอบค่านิยมตะวันตกที่ขัดอิสลาม แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะต่อต้านด้วยการฆ่าฟันทำลายล้าง หลักคำสอนของคัมภีร์อัลกุรอานเป็นแนวทางสายกลาง ตลอดชีวิตของศาสดามุฮัมมัดเมื่อพบปัญหาความสุดโต่ง 2 ด้านจะเลือกทางสายกลางเสมอ
ในขณะเดียวกันอาจตีความว่าคือการป้องกันตัวเอง การชี้ว่าผู้อื่นเป็น Fanaticism เป็นวิธีป้องกันหลักคิดปรัชญาที่ตนเองยึดถือ เป็นสมรภูมิด้านความคิดหลักปรัชญา
กรณีวิพากษ์ ยึดบัญญัติครบถ้วนคือพวกสุดโต่งหรือปฏิบัติครบถ้วน :
สมมติว่าศาสนาความเชื่อหนึ่งมีบัญญัติ 100 ข้อ คนที่ตั้งใจปฏิบัติครบถ้วนทั้ง 100 ข้อควรเรียกว่าเป็นศาสนิกชนผู้ศรัทธาหรือพวกคลั่งศาสนา
ควรปฏิบัติเพียง 50 ข้อหรือไม่เพื่อเรียกว่าเป็นพวกที่ปฏิบัติพอเหมาะ ไม่สุดโต่ง
ควรเลือกปฏิบัติบางข้อที่ตนหรือสังคมขณะนั้นเห็นชอบ ทิ้งบางข้อที่คิดว่าไม่เหมาะสมหรือไม่ โดยไม่ถือว่าการทำเช่นนี้คือการบิดเบือนศาสนา (หรือตั้งศาสนาใหม่ที่เหลือบัญญัติบางประการ)
การยึดมั่นศาสนาตามบัญญัติตรงไปตรงมาถูกอีกฝ่ายตีตราว่าเป็นพวกคลั่งศาสนา แต่การเป็นสายกลาง (moderate) หมายถึงไม่ดีที่สุด-ไม่ชั่วเต็มที่หรืออย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
กรณีวิพากษ์ “พลีชีพเพื่อชาติ” กับ “ระเบิดพลีชีพ” :
ทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าสู้แบบถวายหัว หลายคนยอมตายไม่ยอมแพ้ มีกลุ่มหนึ่งที่พูดถึงบ่อยคือ “คะมิกะเซะ” (Kamikaze) นักบินเครื่องบินรบที่เตรียมพุ่งชนข้าศึก เป็นกลุ่มทหารหลักพันรับภารกิจพลีชีพและสัมพันธ์กับความเชื่อศาสนาด้วย
อันที่จริงแล้ว “คะมิกะเซะ” เป็นเพียงทหารกลุ่มหนึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ความจริงแล้วตลอดประวัติศาสตร์มีทหารประเภทนี้อีกมากทั่วโลก
เมื่อพูดถึงทหารหาญผู้รับภารกิจพลีชีพชวนให้นึกถึงภารกิจ “ระเบิดพลีชีพ” ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยตรง เป็นผู้ที่ยินดีรับภารกิจระเบิดพลีชีพด้วยเหตุผลศาสนา
ในหลายกรณีระเบิดพลีชีพถูกฝ่ายตรงข้ามตีตราว่าเป็นพวกหัวรุนแรงสุดโต่ง ผู้สั่งการเป็นคนโหดร้าย ในขณะที่พวกยึดแนวทางระเบิดพลีชีพบอกว่าเป็นหนทางถูกต้องยอดเยี่ยมตามหลักศาสนา เรื่องนี้ชวนให้คิดเปรียบเทียบกับคะมิกะเซะ อย่างไรที่เรียกว่าวีรกรรมหรือบ้าคลั่งสุดโต่ง
วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
แนวคิดหรือลัทธิที่ครั้งหนึ่งถูกตีตราว่าเป็น Fanaticism อาจกลายเป็นหลักพื้นฐานที่สังคมยอมรับในเวลาต่อมา และจากนั้นเกิดแนวคิดหรือลัทธิใหม่กว่า อันหลังนี้ถูกตีตราว่าเป็น Fanaticism
การตีความว่าใครหรือสิ่งใดเป็น Fanaticism จึงไม่มีมาตรฐานที่ยอมรับทั่วไป ขึ้นกับว่าใครจะยึดถืออย่างไร เช่น ในสงครามระหว่าง 2 ศาสนา ฝ่ายหนึ่งชี้ว่าอีกฝ่ายเป็นพวกคลั่งไคล้ ในขณะที่ฝ่ายที่ 3 บอกว่านี่คือสงครามระหว่างผู้คลั่งไคล้ศาสนาด้วยกันเอง
อันที่จริงแล้วการต่อสู้เชิงความคิดปรัชญาเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ต่างกันที่ประเด็นถกเถียงที่เกิดขึ้นและดับไปตามยุคสมัย เราไม่อาจห้ามการปะทะทางความคิดเหล่านี้ แต่สามารถให้ข้อมูลความคิดเห็นของเรา คำว่า Fanaticism จึงดำรงอยู่ต่อไป.
-----------------------
ภาพ : การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง
ที่มา : https://www.danchurchaid.org/articles/cambodia-40th-anniversary-of-the-khmer-rouge
-----------------------
คำโปรย :
Oxford Advanced Learner's Dictionary ให้ความหมาย Fanaticism คือความเชื่อหรือพฤติกรรมสุดโต่ง มักเกี่ยวข้องกับศาสนา การเมือง มีความหมายคล้าย Extremism
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |