มาตรการรัฐกระตุ้นกำลังซื้อ เอกชนยิ้มออก!สินค้าหลายกลุ่มเริ่มขยับ


เพิ่มเพื่อน    


              นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง  ทำให้หลายกิจการต้องดิ้นรน ฝ่าฟัน เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจของตัวเองพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ และแน่นอนว่าผู้ประกอบการบางรายต้องปิดกิจการ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ถดถอย โดยรัฐบาลก็มีนโนบายต่างๆ เพื่อเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ  

              ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อค้าปลีกในช่วงที่เหลือของปี 2564 โดยคาดว่า ยอดขาย ค้าปลีกทั้งปีจะยังหดตัว 2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีจุดที่ต้องจับตา คือ การฉีดวัคซีนในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ (มิ.ย.-ก.ย.) รวมถึงไม่มีการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วงที่เหลือของปีโดยเฉพาะไตรมาส 4 และเมื่อบวกกับมาตรการของภาครัฐ เช่น มาตรการคนละครึ่ง เฟส 3 รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ายอดค้าปลีกในภาพรวมปี 2564 อาจจะมีทิศทางที่ดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอาหารและของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน (FMCG) 

ยูนิลีเวอร์พร้อมซัพพอร์คนไทย 

              นายโรเบิร์ต แคนเดลิโน ประธานกรรมการบริหาร กลุ่ม บริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทยว่า ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาแล้ว 88 ปี โดยบริษัทมีความภูมิใจที่ทุกวันนี้ สินค้าแบรนด์ต่างๆ ของยูนิลีเวอร์อยู่ในทุกครัวเรือน ขณะเดียวกันยังพบอีกว่าคนไทยทุกคนใช้สินค้าของบริษัทอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงรู้สึกผูกพันและมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนมาตรการใดๆก็ตามที่จะช่วยเหลือประชาชนคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางที่บริษัทเชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีความครอบคลุมและแพร่กระจายนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นในยามนี้ และช่วยลดช่องว่างความยากจนในประเทศ  

              ทั้งนี้ บริษัทได้มีส่วนสนับสนุนโครงการต่างๆ ด้วยการการันตีการจ่ายเงินค่าครองชีพอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ  พร้อมกับสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดราคาสินค้าสำหรับสินค้าจำเป็น  เช่น น้ำยาทำความสะอาด สินค้าอาหาร และสบู่ ควบคู่ไปกับการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการลงทุนทางดิจิตัลในร้านค้าขนาดเล็ก และส่งทีมเฉพาะกิจที่จะทำงานโดยตรงกับร้านค้าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างๆ ดูว่าจะเพิ่มรายได้และดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร  

              นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนเกษตรกรด้วยการซื้อข้าวเพื่อใช้ในคนอร์ คัพ โจ๊ก จากแหล่งเพาะปลูกที่ยั่งยืนของชาวนาไทย และนี่เป็นเพียงสิ่งเล็กๆ ที่ยูนิลีเวอร์มีความภูมิใจที่ได้ลงมือทำ และเมื่อเสริมกับมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะเป็นพลังขับเคลื่อนในการช่วยเหลือคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ตลอดจนการทำงานร่วมกับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อสร้างธุรกิจแบบมีส่วนร่วมนั่นเอง 

FMCGเริ่มมีสัญญาณขยับตัว      

              นายธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า ภาพรวมตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคอาจไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มากนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีบางช่วงที่ประชาชนอาจจะตื่นตระหนกจนทำให้ต้องมีการกักสินค้า พอทุกอย่างเริ่มสงบลง ก็ทำให้ยอดขายในบางกลุ่มอาจจะลดลงไปบ้าง เนื่องจากการประชาชนยังใช้สินค้าที่เคยจับจ่ายมาก่อนหน้าไม่หมด แน่นอนว่ามาตรการของรัฐบาลที่ผ่านมาก็สามารถช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้รับหนึ่ง คาดการณ์ว่าในปีนี้ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคน่าจะเติบโตประมาณไม่เกิน 2%  

              ขณะเดียวกันในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการต่างก็ปรับตัวกันอย่างหนัก ไม่ใช่เพียงแค่เพราะสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่หากยังรวมไปถึงการแข่งขันที่รุนแรงและเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ประกอบการและแบรนด์ต่างๆ ต้องมีการปรับตัวท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ส่วนตัวมองว่าจะมีโควิดหรือไม่มี ผู้ประกอบการก็ต้องปรับเพื่อเอาตัวรอดกันอยู่แล้ว  

              ส่วนการปรับตัวของเครือสหพัฒน์ในปี 2564 นี้ ยังคงจัดงาน “สหกรุ๊ปแฟร์” ในรูปแบบออนไลน์เป็นปีที่ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทุกคนควรเว้นระยะห่างทางสังคม อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยยังได้ร่วมมือผ่าน 5 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ของไทย ได้แก่ Shopee, Lazada, JD Central, SahaGroupOnline, Shop Channel ในการสร้างความหลากหลายของช่องทาง สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นทางหนึ่งด้วย  

              นายบุญฤทธิ์ มหามนตรี ประธานกรรมการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ “ไทยโพสต์” ว่า ภาพรวมยอดขายของบริษัทในปี 2564 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ผ่านมา มองว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนเริ่มรู้จักการป้องกันตัวเองได้ดีกว่าในอดีต และสามารถปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สินค้าหลายตัวเริ่มดีขึ้น  

              สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทนับจากนี้ จะมุ่งเน้นพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในเรื่องของสุขภาพ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าที่ต้องการดูแลและปกป้องตัวเองกันมากขึ้น โดยบริษัทจะเลือกสินค้าที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ปัจจุบัน  และที่สำคัญคือการออกสินค้าใหม่ให้มีความถี่มากกว่าเดิม จะเห็นได้ว่าในอดีตการออกสินค้าใหม่ในแต่ละครั้ง เป็นเรื่องตื่นเต้น น่าติดตาม และไม่ต้องออกสินค้าบ่อยๆ ก็ได้ แต่ตอนนี้แตกต่างเพราะผู้บริโภคมองหาสินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอ  

               นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังระบุอีกว่าโมเดิร์นเทรด กลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นจำหน่ายสินค้าอาหาร และของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน คาดว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง โดยบรรยากาศในการจับจ่ายของผู้บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก จากการทำโปรโมชั่นของผู้ประกอบการค้าปลีกที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งหากไม่มีการระบาดของโควิดระลอกใหม่ที่รุนแรงเกิดขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็น่าจะจูงใจหรือกระตุ้นให้ผู้บริโภคบางส่วนออกมาทำกิจกรรมและใช้จ่ายนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญปลายปี  

              อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าผู้ประกอบการค้าปลีกโมเดิร์นเทรด ก็อาจจะเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกดั้งเดิมบางส่วนที่อาจจะได้รับแรงหนุนจากมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 ของภาครัฐที่จะเริ่มในช่วงเดือนก.ค.-ธ.ค. 64 ซึ่งมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อดังกล่าวน่าจะเอื้อกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 

ค้าปลีกภูธรปรับเป้าโตเพิ่ม 

              นางอมร พุฒิพิริยะ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนพิริยะ (TNP) เปิดเผยกับ “ไทยโพสต์” ว่า มาตรการของภาครัฐที่ออกมา นับว่ามีความทั่วถึงทุกครัวเรือนที่เดือดร้อนและมีรายได้น้อย จากการสังเกตจะเห็นได้ว่าลูกค้าจะเข้ามาใช้สิทธิต่างๆ จากนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากไม่มีมาตรการอะไรเลยคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ น่าจะจะแย่กว่านี้  

              ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ยังทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่หลายอย่างหรือนิวนอร์มอล และอาจจะเข้าใช้บริการร้านค้าด้วยความถี่ที่ลดลงกว่าในอดีต โดยจากฐานข้อมูลของบริษัทพบว่าลูกค้ามียอดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เลือกซื้อของที่เป็นบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เพื่อที่จะไม่ต้องออกจากบ้านบ่อยครั้ง ทำให้ความถี่ของการเข้ามาใช้บริการลดน้อยลง เพราะไม่ต้องการออกมายังสถานที่ต้องเจอคนพลุกพล่าน  

              นางอมร กล่าวว่า แม้ว่าสินค้าอุปโภคบริโภคจะไม่ได้ถูกดิสรัปจากดิจิทัลมากนัก เพราะยังคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่ และออนไลน์อาจจะยังไม่ตอบโจทย์มากนักในกลุ่มสินค้าดังกล่าว ไม่สามารถสู้กับความรู้สึกที่ไปซื้อเองได้เลย แต่บริษัทก็ต้องมีการรองรับเรื่องของออนไลน์ เบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะเริ่มภายในปีนี้  

              อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้บริษัทวางงบไว้ราว 100 ล้านบาทเพื่อใช้ขยายสาขา 5 แห่ง ขนาดแห่งละ 1,000 ตารางเมตรในพื้นที่ 3 จังหวัด โดยเมื่อต้นปีบริษัทวางเป้าหมายจะเติบโตที่ 10-15% แต่จากการขยายสาขาใหม่ ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น บวกกับสินค้าบางกลุ่มเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง จึงปรับเป้าหมายการเติบโตเป็น 15-20%  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"