นครราชสีมา / สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ‘พอช.’ สำนักงานภาคอีสาน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 21 หน่วยงาน ‘แก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนจังหวัดนครราชสีมา’ ระยะเวลา 5 ปี เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวมเพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางและให้ครอบครัวมั่นคงมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
วันนี้ ( 25 มิถุนายน) ระหว่างเวลา 9.00-12.00 น. ที่ห้องประชุมสุวัจน์ลิปตพัลลภ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการ จ.นครราชสีมา เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding / MoU) ‘โครงการบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน จังหวัดนครราชสีมา’ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและหน่วยงานภาคีเครือข่าย 21 หน่วยงาน ประกอบด้วย
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ปกครองจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กองทัพภาคที่ 2 สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 5 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีเจตนารมณ์เพื่อความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นและเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในประเทศ รวมถึงการพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ส่วนวัตถุประสงค์มี 4 ด้าน คือ 1.เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนระดับจังหวัดนครราชสีมาที่เกิดจากการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
2.เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
3. เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกมิติแบบ
องค์รวม เพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางและให้ครอบครัวมั่นคงมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
และ 4. เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ สถาบันวิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนจนเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และหาแนวทางในการปรับปรุงเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เอื้อต่อการสร้างหรือเพิ่มรายได้ เพื่อให้คนจนเป้าหมายสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง
การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ‘โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ’
ทั้งนี้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2564-2568) นอกจากนี้ยังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ‘โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างบูรณาการ’ ระหว่างขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครราชสีมา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอันเป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมแตกต่างหลากหลายตามภูมินิเวศ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในทุก ๆ มิติ
นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้แง่คิดเรื่อง ‘กุญแจ 9 ดอกสู่ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดนครราชสีมา’ มีสาระสำคัญคือ 1. ควรเป็นวาระร่วมของจังหวัดที่ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงนโยบาย และปรับเปลี่ยนไปตามวาระทางการเมือง 2. ให้ความสำคัญกับฐานข้อมูลคนจนจริงๆ ที่แม่นยำ 3. ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกมิติในรายครอบครัว โดยบูรณาการทุกหน่วยงานเข้าร่วม 4. วิเคราะห์ถึงสาเหตุของความยากจนที่แท้จริง ถูกต้อง "เกาให้ถูกที่คัน" เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด
5. มีการบันทึกข้อมูล และเชื่อมโยงได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปดูความช่วยเหลือคนจนได้ 6. บูรณาการการแก้ไขปัญหา โดยเตรียมเมนูที่เหมาะสม หลากหลายกับกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสนับสนุนเครื่องมือและสอนวิธีการจับปลา ไม่ควรแจกอย่างเดียว แต่ควรมีเงื่อนไขว่าคนจนต้องมีส่วนร่วม ต้องมีการพัฒนา 7. มีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง 8. มีการบันทึกผลการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนจนร่วมผ่านระบบ Electronic เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลสูญหาย และ 9. สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การจัดการปัญหาความยากจนเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จ
นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ ‘พอช.’ ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ ‘การบูรณาการความร่วมมือและการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนจังหวัดนครราชสีมา’ โดยนำเสนอบทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานของ พอช.ในการสนับสนุนกลไกชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง
โดย ผอ.พอช. เน้นย้ำความสำคัญประเด็นการพัฒนาร่วมกัน 6 ร่วม คือ 1. พื้นที่การพัฒนาร่วม 2.ชุมชน/ประชาชนมีส่วนร่วม 3.ความร่วมมือร่วมหลายฝ่ายเพื่อสนับสนุนชุมชนในการแก้ไขความยากจนในพื้นที่ 4.ข้อมูลร่วม ทุกคนสามารถใช้ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้ 5.แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นร่วม ทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด และ 6.กลไกการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาร่วม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |