กยท. เปิดเกมรุกดันมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายาง หวังรับมือสถานการณ์ผันผวน พุ่งเป้าดึงผลผลิตส่วนเกินออกจากระบบ 2 แสนตัน


เพิ่มเพื่อน    

กยท.ทำงานเชิงรุกเพื่อวงการยางไทย ดันมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาทั้งระบบ รับมือสถานการณ์ผันผวนของตลาด ทั้งจับมือเอกชนขายยางในตลาดล่วงหน้า หวังรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ชี้ช่วย ดึงผลผลิตส่วนเกินระบบกว่า 2 แสนตัน

 

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมอื่นทั่วโลก เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กยท. จึงได้ออกมาตรการเชิงรุกใน  4 มาตรการ  เพื่อชี้นำราคายางในตลาดให้เกิดเสถียรภาพ ลดูความผันผวนของราคา อันจะนำมาซึ่งการสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ และที่สำคัญเป็นมาตรการที่ กยท. ดำเนินงานเอง และร่วมกับผู้ประกอบการ

 

ผู้ว่า กยท. กล่าวต่อไปว่า  โดยทั้ง 4 มาตรการที่ดำเนินการนี้ ถือว่าเป็นการต่อยอดและจัดรูปแบบการทำงานเชิงรุก เพิ่มจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล และมาตรการคู่ขนานที่ กยท. ได้ดำเนินการมาแต่เดิม โดยมาตรการที่จะดำเนินการ ประกอบด้วย

หนึ่ง  " มาตรการเพิ่มปริมาณการรับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรฯ เข้าสู่โรงงานของ กยท."เพื่อนำมาแปรรูป โดยมีเป้าหมายรับซื้อและดูดชับน้ำยางในปี 2564 ไม่ต่ำกว่า 20,000 ตัน

สอง "โครงการชะลอการขายยาง" โดยสนับสนุนเงินทุนเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีเป้าหมายปริมาณยางที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50,000 ตัน

สาม มาตรการ “ตลาดนำการผลิต ผ่านการซื้อขายล่วงหน้า" เป็นมาตรการที่ทาง กยท. ร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนที่มีความเข้มแข็งด้านการผลิตและการตลาดซื้อขายล่วงหน้าเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการชี้นำราคา กำหนดเป้าหมาย จำนวน 35,000 ตัน

และสี่ มาตรการ กยท. ดีลตรงผู้ใช้ยางขั้นปลายเพื่อลดช่องว่างราคา" โดยตั้งเป้าสามารถขายยางได้กว่า 20,000 ตัน

 

 

นายณกรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ทั้ง 4 มาตรการนี้ กยท. จะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในระบบไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัน/ปี และโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ โดยส่งเสริมความรู้และสนับสนุนเงินทุนให้กับกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพ โดยนำผลผลิตยางมาแปรรูปในกิจกรรมต่างๆ ของหน่วย เป็นการเพิ่มมูลค่ายางพารา เช่น อุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน กระทรวงคมนาคม อุปกรณ์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงบ่อยางเก็บน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”

 

“ จากมาตรการทั้งหมดจะสามารถดึงปริมาณผลผลิตยางส่วนเกินออกจากระบบในปี 2564 ได้ถึง 200,000 ตันต่อปี เป็นอีกหนึ่งปัจจัยให้ราคายางอยู่ในระดับที่เหมาะสม”

 

ทั้งนี้ ผู้ว่า กยท.ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ราคาและตลาดยางพาราในครึ่งปีหลังว่า สำหรับในส่วนปริมาณการส่งออกในภาพรวม คาดว่าปริมาณความต้องการของตลาดต่างประเทศจะไม่เพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบัน แต่ปริมาณผลผลิตภายในประเทศจะเป็นตัวช่วยทำให้ราคามีเสถียรภาพ สาเหตุหลักๆ มาจากผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้รัฐบาลได้กำหนดมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงงานต่างด้าว ส่งผลให้มีแรงงานในการกรีดยางลดลง ปริมาณยางที่เกษตรกรกรีดได้ขณะนี้จึงลดลง อีกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือ  ตัวเลขในสต๊อกผู้ประกอบการหลายแห่งมีแนวโน้มว่ามีปริมาณที่ลดลง เป็นต้น จากปัจจัยที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้คาดว่าในช่วงไตรมาส3 และไตรมาส 4 นี้ ราคายางจะค่อยข้างมีเสถียรภาพในระดับที่น่าพอใจ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"