25 มิ.ย. 64 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษา (สบ9) ตร. กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการสำรวจความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจ ผ่านพีเพิลโพล ประจำเดือนมิถุนายน 2564 ว่า ที่ผ่านมาสำนักงานยุทธ์ศาสตร์ ตร. มีการเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี วิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมสถิติต่างๆ เพื่อเป็นตัวชี้วัดของ ตร. ซึ่งจะสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ต่อมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มีแนวคิดในการที่จะดูสถิติ ดูการทำงานของตำรวจแบบเรียลไทม์ จึงได้ริเริ่มทำพีเพิลโพล มีเปลี่ยนแปลงรูปแบบจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบกูเกิ้ลฟอร์ม เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นเดือนแรก และประเมินผลทุกสิ้นเดือน พบว่าในเดือนนี้มีประชาชนช่วงอายุ 20-40 ปี กรอกข้อมูลเข้ามากว่า 2 แสนกว่าราย จากสถานีตำรวจ 1,484 แห่ง ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ เพราะที่ผ่านมาในหนึ่งปีมีการจัดเก็บตัวอย่างเพียง 1-2 พันราย แต่ตอนนี้เมื่อเราใช้ข้อมูลที่ทันสมัย ใช้เครื่องมือกูเกิ้ลฟอร์ม ประชาชนก็จะกรอกง่าย อยู่บ้านก็กรอกได้
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า สำหรับข้อมูลผลสำรวจที่ในหัวข้อความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมต่อชีวิต ร่างกาย และเพศ พบว่าประชาชนหวาดกลัวภัยในเรื่องการทำร้ายร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือการถูกฆ่า และอันดับที่สาม คือภัยยาเสพติด ต่อมาเป็นผลสำรวจหัวข้อความหวาดกลัวภัยต่อทรัพย์สิน ประชาชนหวาดกลัวเรื่องการลักทรัพย์มากที่สุด รองลงมาคือชิงทรัพย์ และอันดับที่สามการวิ่งราวทรัพย์ และผลสำรวจหัวข้อความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมสมัยใหม่ ประชาชนหวาดกลัวเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์มากที่สุด รองลงมาคือการหลอกลวงซื้อของออนไลน์ และอันดับที่สาม การพนันออนไลน์ โดยจะเห็นได้ว่าแบบฟอร์มนี้วัดความรู้สึกและความต้องการของประชาชนได้จริงๆ ทำให้ ผบ.ตร. สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการสั่งการตำรวจทุกโรงพัก บริหารข้อมูลเหล่านี้ตามสถานการณ์จริงได้ ทิศทางการทำงานจะชัดเจนและตรงเป้ามากขึ้น วันนี้ฟันเฟืองทุกตัวต้องขยับ ข้อมูลพีเพิลโพล จะบอก ผกก.ทุกโรงพัก ว่าพื้นที่ตนเองมีปัญหาอะไรมากที่สุด
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่ขึ้นมาใช้บริการภายในสถานีตำรวจ เราใช้เกณฑ์ 70 % โดยทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศผ่านเกณฑ์หมด แต่ผ่านเกณฑ์แบบปริ่มๆ 74-76 % เหล่านี้ทำให้เราต้องพัฒนาต่อไป ทั้งนี้การสำรวจของพีเพิลโพล เป็นระบบที่จำกัด 1 หมายเลขโทรศัพท์ ต่อ 1 การให้ข้อมูล และทำได้เพียง 1 ครั้งต่อเดือน เพราะฉะนั้นจะไม่มีหน้าม้ามาให้ข้อมูล และ ผบ.ตร. ย้ำว่าขอให้กรอกข้อมูลแบบตรงไปตรงมา จะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงการทำงานของสายตรวจ ฝ่ายสืบสวน และจราจร ได้
ทั้งนี้การจัดทำผลสำรวจยังพบว่าสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศมีความต้องการมากที่สุดคือกล้องซีซีทีวี เพราะประชาชนมีความมั่นใจต่อการบันทึกภาพจากกล้อง ทำให้ ผบ.ตร. จึงได้ริเริ่มนำร่องโครงการสมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3 โซน คือ ห้วยขวาง ลุมพินี และภาษีเจริญ ส่วนในต่างหวัดจะมีภาคละ 1 โซน คือ พัทยา ภูเก็ต อุดรธานี ปากเกร็ด สมุทรปราการ เชียงใหม่ หาดใหญ่ เป็นต้น
ซึ่งโครงการดังกล่าวมีการนำกล้อง AI มาใช้จดจำใบหน้า ติดตามบุคคลได้ จะเห็นได้ว่าแนวคิดสมาร์ทเซฟตี้โซน ของ ผบ.ตร. จะนำร่องในเมืองเศรษฐกิจที่เป็นแลนด์มาร์คของประเทศ เพื่อรองรับการเปิดประเทศในอีก 120 วัน ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยจะมีการเปิดโครงการที่แยกราชประสงค์ ในต้นเดือนหน้า และจะคิกออฟพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ให้หวาดกลัวภัยน้อยที่สุด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |