โอน"รพสต."ไปไห้"อปท."ปั่นป่วน/รองปลัดสธ.ชี้ซับซ้อนไม่ง่าย


เพิ่มเพื่อน    

5มิ.ย.61-โอนรพสต.ให้อปท.ปั่นป่วน โยกไปแค่ 52แห่งยังอลวน บางแห่งอยากกลับไปสังกัดสธ.เหมือนเดิม และบาง อปท.ไม่พร้อมไม่อยากรับไปดูแล "รองปลัดสธ." ชี้การถ่ายโอนไม่ง่าย  เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ต้องศึกษาให้ดี ไม่ให้ รพสต.รู้สึกเสียขวัญว่าถูกผลักไส  แต่หลักการสำคัญต้องยึด ไม่ให้ประชาชนเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์น้อยกว่าเดิม


นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทบทวนบทบาท ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า จากการหารือของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.) ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการถ่ายโอนภารกิจรพ.สต.ให้กับอปท. ต่อ ภายใต้มาตรการเดิม แต่ร่นระยะเวลาให้สั้นลง ซึ่งการถ่ายโอนต้องดูหลายอย่าง 1.ความพร้อมของอปท.สามารถรับรพ.ไปดูแลบริหารจัดการต่อได้หรือไม่ 2. ความพร้อมของรพ.สต. และ 3. ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจากนี้จะมีการปรับปรุงการทำงานของคณะกรรมการชุดเดิม ที่มีรองนายกฯ เป็นผู้ออกคำสั่ง และมี รมว.สาธารณสุขเป็นประธาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย อปท.เป็นกรรมการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมมากขึ้น นอกจากนี้ก็จะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุดเพื่อทำเรื่องนี้ด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือประชาชนต้องได้รับประโยชน์ทางด้านการดูแลสุขภาพทั้งหมดไม่น้อยกว่าเดิม หากมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นการให้วัคซีนทุกอย่างต้องดีขึ้น 


นพ.มรุต กล่าวว่า งานถ่ายโอนรพ.สต.เป็นเรื่องซับซ้อนในที่ประชุมก็มีเสียงแตก อปท.บางแห่งอยากรับ บางแห่งไม่อยากรับ ส่วนรพ.สต.เอง บางแห่งอยากไป บางแห่งก็ไม่อยากไป เช่นที่ถ่ายโอนไปแล้ว 52 แห่ง จาก 9,800 แห่งนั้นบางส่วนไปแล้วก็มีการพัฒนาขึ้น บางส่วนไปแล้วก็อยากกลับเข้ามาอยู่ในการดูแลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ปัญหาคือกลับมาไม่ได้เพราะไม่มีตำแหน่งรองรับให้ ทำให้คนทำงานลาออก ส่วนอปท.เองก็มีปัญหาหาคนมาทำงานไม่ได้ เมื่อเป็นแบบนี้ประชาชนก็เสียประโยชน์ ดังนั้นต้องมีการศึกษาให้ดีต้องมาดูว่าหากเป็นเช่นนี้จะแก้ได้อย่างไร แต่บางทีที่ออกไปก็มีเจริญก้าวหน้าเยอะ เช่นกัน  จึงมอบสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ไปศึกษาและทบทวนการทำงานว่าควรมีอะไรบ้าง ผลที่จะเกิดกับประชาชน ผลกระทบกับรพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป เมื่อถ่ายโอนไปแล้วผลดีคืออะไร ผลเสียคืออะไร ต้องรอบคอบเพราะเรื่องสาธารณสุขไม่ใช่แค่ผลกระทบระยะสั้น แต่มีสืบเนื่องไปในระยะยาวด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการไม่ให้อปท.ซื้อวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าในสัตว์เป็น 2 ปี จนมาเกิดการระบาดขึ้นในปีนี้ เป็นต้น 


“เรื่องนี้ต้องให้กำลังใจกัน ต้องไม่ให้ รพสต.เสียขวัญ ว่าเป็นการผลักไส เพราะแม้จะเป็นกฎหมายให้เราต้องถ่ายโอน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะผลักลูกของเราให้พ้นอกไวๆ หรือต้องมาหวงเอาไว้ก็ไม่ใช่ ซึ่งการถ่ายโอนต้องทำอย่างรอบคอบ มีความพร้อมทั้ง 2 ฝ่าย ประชาชนพร้อมรับ และไม่เสียประโยชน์ ซึ่งมีคนบอกว่าถ้าเข้าเกณฑ์ตามนี้ก็ให้โอนไปเลยไม่ต้องถามความสมัครใจ แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นใครจะรับผิดชอบ” นพ.มรุต กล่าว 


ผู้สื่อข่าวถามว่ากระทรวงสาธารณสุขกำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หมอครอบครัว ซึ่งต้องใช้รพ.สต.ขับเคลื่อนจะกระทบหรือไม่ นพ.มรุต กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.สุขภาพปฐมภูมิ ระบุว่าให้ร่วมมือกันได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นไม่น่าจะมีผลกระทบ รพ.สต.นั้นยังสามารถขึ้นทะเบียนบริการปฐมภูมิของเราได้ แต่ที่เป็นห่วงคือ นโยบายต่างๆ ที่ถ่ายทอดออกไปและต้องการดำเนินการในทุกพื้นที่ จากนี้จะสามารถดำเนินการได้อย่างไร ซึ่งเป็นห่วงตรงนั้นมากกว่า 
เมื่อถามต่อว่าภารกิจถ่ายโอนนี้มีนานแล้ว แต่เหมือนมาเร่งเอาช่วงนี้ ดังนั้นจำเป็นต้องทำให้เสร็จในรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ นพ.มรุต กล่าวว่า เท่าที่คุยกันไม่ได้เร่งว่าต้องทำให้เสร็จในรัฐบาลนี้ แต่มีนักวิชาการบางส่วนบอกว่าให้รีบทำให้เสร็จ ส่วนกระทรวงเองไม่ได้ตั้งเป้าว่าแต่ละปีจะต้องถ่ายโอนเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้ต้องรอบคอบไปแล้วประชาชนได้ประโยชน์ ประเทศชาติไม่เสียประโยชน์.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"